top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 ปัญหาของคนเป็นโรควิตกกังวล ที่คนใกล้ชิดควรรู้

ความกังวล มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือ ทำให้เราหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเรา หรือทำในสิ่งที่สำคัญให้เกิดขึ้นได้ แต่หากเรากังวลมากจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดโรควิตกกังวลได้ (Anxiery Disorder) ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากการสะสมของความวิตกกังวลเป็นระยะเวลานานๆ นั่นเอง



โรควิตกกังวลสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พันธุกรรม การเลี้ยงดู หรือ แม้แต่ความเครียดที่สะสมเป็นเวลานาน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย เช่น คนที่เป็นโรควิตกกังวลมักมีอาการเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งใดได้ ปวดศรีษะ อ่อนล้า ปวดเมื้อกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรก หัวใจเต้นแรง คลื่นไส้อาเจียน หรือ ท้องเสีย เป็นต้น





โรควิตกกังวล

นอกจากอาการเหล่านี้ คนที่เป็นโรควิตกกังวล ยังประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขเหมือนคนทั่วไป วันนี้แพรมีบทความจิตวิทยาว่าด้วยปัญหาที่คนที่เป็นโรควิตกกังวลประสบ รวมถึงวิธีการจัดการมากฝากทุกคนกันค่ะ



1. ยากที่จะแยกแยะว่า อาการที่เกิดขึ้น มาจากโรค หรือผลข้างเคียงจากการกินยา

เมื่อเรามีความวิตกกังวลเราจะรู้สึกแน่นหน้าอก ปวดศรีษะ หรือ ท้องเสีย เป็นต้น อาการที่กล่าวไป คืออาการของโรควิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตาม อาจเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทานยาเพื่อรักษาอาการของโรค เนื่องจากผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล มักจะรู้สึกถึงอาการของร่างกายได้มากกว่าคนทั่วไป เมื่อเริ่มต้นทานยา เพราะพวกเขากังวล และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการอยู่ตลอดเวลา


2. คำพูดให้กำลังใจจากคนรอบตัว ต่อสถานการณ์ที่ไม่สามารถทราบถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจน จะทำให้พวกเขารู้สึกแย่กว่าเดิม

คนที่เป็นโรควิตกกังวล มีวิธีการจัดการกับสิ่งที่พวกเขากังวล โดยพยายามคิดว่าผลลัพธ์จะต้องออกมาในทางที่ไม่ดี พวกเขามักจะมีความคิดในแง่ลบกับเหตุการณ์ต่างๆ พวกเขาไม่อยากสร้างความหวัง แต่อยากที่จะรู้สึกประหลาดใจมากกว่า ถ้าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งด้วยวิธีการนี้ เมื่อมีคนพยายามมาพูดให้กำลังใจ หรือโน้มน้าวให้พวกเขามองโลกในแง่ดี พวกเขาจะรู้สึกแย่กว่าเดิม


3. การรอคอยให้มีคนมาแก้ไขปัญหาให้อาจทำให้ทุกข์ร้อนใจ

คนที่มีอาการวิตกกังวลหรือเป็นโรควิตกกังวล จะพยายามจัดการกับสิ่งที่พวกเขากังวลทันที เช่น กังวลว่าจะจ่ายค่าไฟช้า ก็จะรีบจ่ายให้เสร็จสิ้น เพื่อที่พวกเขาจะได้เอาเรื่องที่ติดอยู่ในหัวเรื่องนี้ออกไปซะ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นปัญหาที่พวกเขาไม่สามารถแก้ไขได้ทันที หรือต้องรอความช่วยเหลือจากคนอื่น พวกเขาจะรู้สึกเครียด และเป็นทุกข์อย่างมาก


4. ความวิตกกังวลของเขาอาจทำให้คนรอบข้างรำคาญได้

คนกลุ่มนี้ มีความเครียดเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย หากมีเรื่องใดมากระทบจิตใจ พวกเขามักเลือกที่จะจัดการปัญหาทันที และด้วยวิธีของพวกเขาเอง ตัวอย่างเข่น การมีแผนสำรองสำหรับเรื่องต่างๆ ไปถึงก่อนเวลานัดนานๆ หรือ มีสำเนาของเอกสารทุกอย่าง แต่สำหรับบางคน พวกเขาสามารถรอได้ หรือ รู้สึกว่า การมีแผนสำรองกับทุกเรื่องเป็นเรื่องที่น่ารำคาญ เป็นต้น


5. ต้องการจัดการกับจิตใจตัวเองก่อนที่จะเริ่มทำงานได้

บางครั้งคนที่เป็นโรควิตกกังวล ต้องรอให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย หรือจิตใจสงบก่อนที่จะสามารถลงมือทำงานบางอย่างได้ ซึ่งทำให้เหมือนกับเราเป็นคนผลัดงวันประกันพรุ่ง และไม่สามารถทำงานบางอย่างได้เสร็จตามเวลาที่กำหนดได้



ปัญหา 5 ข้อข้างต้นที่กล่าวไป เป็นปัญหาที่คนที่เป็นโรควิตกกังวลเผชิญอยู่เสมอๆ ซึ่งสามารถจัดการได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้



1. พยายามทำความเข้าใจของอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้น

ยิ่งเราเข้าใจอาการของตัวเองดีมากเท่าไร เราก็จะสามารถจัดการมันได้ดีเท่านั้น พยายามเข้าใจว่า เรื่องอะไรบ้างที่จะเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เราเกิดอาการวิตกกังวล เกิดความเครียด และแสดงอาการวิตกกังวลออกมา


2. ให้คนใกล้ตัวเป็นคนคอยช่วยเตือนเรา หากเราเริ่มที่จะทำอะไรเกินความจำเป็นเนื่องจากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น

แต่คนเหล่านั้นต้องเข้าใจเรา และยอมให้เราจัดการปัญหาด้วยวิธีของเราเอง เพราะด้วยวิธีนี้จะทำให้คนที่เป็นโรควิตกกังวลรู้สึก ผ่อนคลาย และรู้สึกจัดการกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น


3. เราสามารถที่จะมองโลกในแง่ร้าย หรือ คิดถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในแบบของเราได้

แต่อย่างไรก็ตาม พยายามที่จะอธิบายวิธีคิดของเราให้คนรอบข้างฟัง ว่าการที่เรามองโลกในแง่ร้าย ช่วยทำให้เรารู้สึกดีขึ้น หากผลลัพธ์ที่ออกมาดี พวกเขาจะได้ไม่พยายามที่จะให้กำลังใจ หรือโน้มน้าวให้เรามองโลกในแง่ดี ในขณะเดียวกัน ก็พยายามเข้าใจทั้งตัวเอง และคนอื่น ว่ามีวิธีในการมองโลกที่แตกต่างกันด้วย


4. ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และทำให้เรารู้สึกวิตกกังวล

ตัวอย่างเช่น เริ่มต้นใช้ยาใหม่ๆ หรือต้องรอให้มีคนมาช่วยแก้ปัญหาให้ ให้พยายามคิดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่มันผ่านมาได้แล้ว เพื่อเตือนตัวเองว่า เดี๋ยวเรื่องนี้ก็จะผ่านไปได้ด้วยเช่นกัน





แพรหวังว่า ปัญหาทั้ง 5 ที่คนที่เป็นโรควิตกกังวลประสบ และวิธีการจัดการ จะเป็นประโยชน์ให้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้เพื่อบรรเทาอาการ แต่อย่างไรก็ดี การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้เรากลับมาดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้อีกครั้งนะคะ

 

iStrong.co ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว


บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)


และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page