top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

สุขภาพดีขึ้นได้เมื่อรู้ทันความเครียด

จากภาวะฝุ่นควันที่รุนแรงขึ้นทุกวันทำให้ชาวเราที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล รวมไปถึงเชียงใหม่ มีคุณภาพชีวิตที่ลดลงเพราะมีความเครียดที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกวันนี้เราก็เครียดมากพอแล้วกับหลายๆเรื่อง พอมาเจอเรื่องอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เขาไปอีก จบข่าวเลยค่ะ และผู้เขียนบอกได้เลยว่าเรา ๆ จะโดนพิษจากความเครียดเล่นงานก่อนพิษฝุ่นจะทันออกฤทธิ์แน่นอนค่ะ เพราะความเครียดจะพามาทั้งโรควิตกกังวล โรคกะเพราะอาหาร โรคความดัน การขับถ่ายไม่ปกติ ไมเกรน ปวดศีรษะ และอีกมากมาย



ความเครียด

จากการศึกษาของ Kelly McGonigal นักจิตวิทยาสายสุขภาพ และอาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ได้ตามติดชีวิตชาวสหรัฐอเมริกา จำนวน 30,000 คน ในระยะเวลา 8 ปี พบว่า ในจำนวนนี้เสียชีวิตเพราะโรคเครียด ถึง 12,000 คน แต่นัยสำคัญของการศึกษาอยู่ที่ คนที่เสียชีวิตนั้นไม่ได้เสียชีวิตเพราะความเครียดจริงๆ แต่เสียชีวิตเพราะ “ความเชื่อที่ว่า ความเครียดไม่ดีต่อสุขภาพ”



ดังนั้น McGonigal จึงได้ทำการศึกษาต่อในกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ชาวสหรัฐอเมริกา 182,000 คน ตายก่อนวัยอันควร แต่สาเหตุไม่ได้มาจากความเครียด แต่มาจากความเชื่อที่ว่า ความเครียดนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ นั่นคือ คนตายเพราะความเชื่อนี้มากกว่า 20,000 คนต่อปี ทำให้ความเชื่อที่ว่าความเครียดไม่ดีต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุหลักอันดับที่ 15 ของการตายในสหรัฐอเมริการ ในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งฆ่าคนไปมากกว่ามะเร็งผิวหนัง เอดส์ และการฆาตกรรมเสียอีก



จากผลการศึกษาข้างต้นก็ได้นำไปสู่การศึกษาที่ให้ผลที่แตกต่างไปจากความเชื่อเดิมๆ ที่เราเคยเชื่อมา คือ เพราะความเครียดจึงนำไปสู่อาการทางกายมากมาย กลายเป็น “หากเราสามารถเปลี่ยนความคิดที่มีต่อความเครียดจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้” เพราะเมื่อเราสามารถเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับความเครียด เราก็จะสามารถเปลี่ยนการตอบสนองของร่างกายที่มีความเครียดได้



ในงานวิจัยที่ทำโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ก่อนที่ผู้เข้าร่วมวิจัย จะเข้าทำการทดสอบความเครียดทางสังคม พวกเขาจะถูกสอนให้เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดเสียใหม่ว่ามีประโยชน์ ว่าหัวใจที่เต้นแรงช่วยให้เราเตรียมพร้อมสำหรับการกระทำ ถ้าเราหายใจเร็วขึ้นมันจะทำให้ออกซิเจนไปที่สมองคุณมากขึ้น และผู้เข้าร่วมที่ได้เรียนรู้ว่าปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดเป็นประโยชน์ต่อความสามารถของพวกเขา



ความเครียดมีผลต่อโรคหัวใจ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยเครียดน้อยลง กังวลน้อยลง มีความมั่นใจมากขึ้น และข้อค้นพบที่สำคัญที่สุดก็คือ ความเปลี่ยน แปลงที่เกิดกับปฏิกิริยาทางร่างกายที่ตอบสนองต่อความเครียดโดยทั่วไป คือ อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้น ทำให้เส้นเลือดหดตัวลง นั้นเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนที่มีความเครียดเรื้อรังถึงเป็นโรคหัวใจ แต่ในงานวิจัยนี้พบว่า แม้หัวใจของผู้เข้าร่วมวิจัยยังเต้นแรง แต่เส้นเลือดของพวกเขากลับผ่อนคลาย ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพกาย



นอกจากความเครียดจะสัมพันธ์กับโรคทางกายแล้ว ความเครียดยังสัมพันธ์กับฮอร์โมนในสมองตัวหนึ่งที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยๆ คือ “ออกซิโทซิน” เมื่อเราเครียดออกซิโทซินจะถูกปล่อยออกมา เพื่อตอบสนองความเครียด มันจะกระตุ้นให้เรามองหากำลังใจ กระตุ้นให้เราบอกใครสักคนว่าเรารู้สึกยังไง



นอกจากนั้นแล้วหนึ่งในบทบาทหลักของออกซิโทซิน คือ การป้องกันระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยจะออกฤทธิ์เป็นยาแก้อักเสบแบบธรรมชาติ ช่วยให้หลอดเลือดผ่อนคลายระหว่างเครียด และยังมีผลต่อหัวใจ กล่าวคือ ออกซิโทซินจะช่วยผลิตเซลล์ใหม่และรักษาเซลล์หัวใจที่เสียหายจากความเครียด ซึ่งผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราได้มีการพบปะทางสังคมและการเกื้อหนุนทางสังคม เช่น การได้รับกำลังใจ การให้กำลังใจกัน การกอด การสัมผัสกันด้วยความห่วงใย ต่างเป็นผลให้ออกซิโทซินหลั่งออกมามากขึ้น ส่งผลให้ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อความเครียดดีต่อสุขภาพมากขึ้น และสามารถฟื้นจากความเครียดได้เร็วขึ้น


เปลี่ยนวิธีคิดต่อความเครียด

ดังนั้นแล้ว จะเห็นได้ชัดเลยใช่ไหมคะว่า อันตรายของความเครียดที่มีต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ เพียงเราเปลี่ยนวิธีคิดที่มีต่อความเครียด เราก็สามารถเปลี่ยนปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดให้มีผลดีต่อสุขภาพได้แล้ว และที่สำคัญที่สุด เมื่อคุณผู้อ่านเจอกับความเครียด ขอให้มองหาใครสักคนที่คุณผู้อ่านไว้วางใจและเล่าเรื่องราวให้เขาฟัง ความเครียดที่มีก็จะลดน้อยลงได้ค่ะ หรือในทางกลับกันหากคุณผู้อ่านเป็นฝ่ายให้กำลังใจ สุขภาพใจเราก็จะดีขึ้นเช่นกันค่ะ แต่หากคุณผู้อ่านมองไม่เห็นใคร ขอให้คิดถึงพวกเราชาว istrong นะคะ

 

เพราะทุกก้าวของชีวิตคือจิตวิทยา


iStrong บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาที่มีใบรับรอง สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือคุยแบบพบหน้า


 

อ้างอิง : https://www.ted.com/talks/kelly_mcgonigal_how_to_make_stress_your_friend/transcript?referrer=playlist-the_most_popular_talks_of_all&language=th

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page