top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ความรู้สึกพึงพอใจในเพลงเศร้า


ฟังเพลงเศร้า

ปกติแล้วเราคิดกันว่าถ้าฟังเพลงเศร้าต้องรู้สึกความเศร้า ซึ่งก็ทำให้เศร้าจริง แต่การฟังเพลงเศร้าอาจทำให้รู้สึกดีได้ด้วย ซึ่งนำมาสู่การวิจัยนี้ การวิจัยมีผู้เข้าร่วมทดสอบ 44 คน เป็นผู้หญิง 25 คน ผู้ชาย 19 คน อายุประมาณ 25.3 ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี หรือเป็นนักศึกษาวิทยาลัยที่เรียนเอกด้านดนตรี 17 คน มาฟังดนตรีแล้วให้คะแนนด้วยคำแทนอารมณ์ 62 คำ ตั้งแต่ไม่รู้สึกอะไรเลยจนถึงรู้สึกมาก (0-4 คะแนน) คำทั้งหมดนี้แยกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 อารมณ์เศร้า 16 คำ กลุ่มที่ 2 ความรู้สึกที่ดีขึ้น 20 คำ กลุ่มที่ 3 อารมณ์โรแมนติก 15 คำ และกลุ่มที่ 4 อารมณ์รื่นรมย์ 11 คำ


โดยทั่วไปแล้วอารมณ์ทางดนตรี หมายถึง ทั้งอารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับผ่านเครื่องดนตรีและความรู้สึกที่เกิดในใจผู้ฟังเอง ในการศึกษาอารมณ์ผ่านดนตรีนั้น เราต้องแยกแยะระหว่างการรับรู้อารมณ์ของดนตรีและอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งดูเหมือนว่าเรารับรู้ความเศร้าของเพลงเศร้า แต่ขณะฟังจะรู้สึกทั้งเศร้าและสุข ทั้งนี้พบว่าผู้ที่มีประสบการณ์ด้านดนตรีมากๆ ตอบสนองความรู้สึกต่อโทนเสียงต่ำที่ไม่ประสานกัน เราจึงเน้นไปที่โทนเสียงต่ำของเพลงเศร้าซึ่งคิดว่าจะมีผลต่อความแตกต่างระหว่างการรับรู้อารมณ์ของดนตรีและอารมณ์ที่เกิดขึ้นจริง


เราตั้งสมมติฐานว่าอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับการรับรู้อารมณ์ดนตรี ขั้นตอนต่างๆ ได้รับการอนุมัติโดยกรรมการของ JST (Japan Science and Technology Agency) การทดสอบใช้สามท่อนเพลงที่มีความสมดุลของโทนเสียงต่ำและและโทนเสียงสูง ท่อนละประมาณ 30 วินาที และหลีกเลี่ยงท่อนเพลงที่เป็นที่รู้จักดี เพราะผู้ร่วมทดสอบบางรายอาจมีความรู้สึกเกิดขึ้นจากความทรงจำเหล่านั้น แม้ว่าจะบอกได้ยากว่าอารมณ์ที่มีต่อเพลงเชื่อมโยงกับความทรงจำส่วนตัวหรือไม่


เมื่อผู้เข้าทดสอบถูกถามให้อธิบายความรู้สึกของตัวเอง โดยให้จินตนาการว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรในการรับรู้อารมณ์ต่อสิ่งเร้าทางดนตรี ในเบื้องต้นผู้ที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ทางดนตรีมีปัญหาในการอธิบายการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าความรู้สึกของตัวเองสอดคล้องกับอารมณ์ที่รับรู้ในเพลง พวกเขายังคิดว่าคนปกติจะรับรู้อารมณ์ของเพลงและมีอารมณ์ความรู้สึกแบบเดียวกับที่ตนเองรับรู้ นอกจากนี้ประโยคที่ว่า "คนทั่วไปรู้สึกอย่างไรเมื่อฟังดนตรีนี้?" อาจขึ้นอยู่กับความสามารถในการนึกถึงจิตใจของผู้อื่น


จากสมมติฐานว่าการรับรู้อารมณ์ของเพลงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะในการตอบสนองต่อโทนเสียงต่ำ ผลวิจัยแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างทำนองดนตรีและความรู้สึกของดนตรีพวกโศกนาฏกรรม ดนตรีโรแมนติกและดนตรีที่รื่นรมย์ แม้ว่าเพลงเศร้าจะถูกมองว่าทำให้รู้สึกโศกเศร้ามากยิ่งขึ้น แต่ผู้ฟังก็ไม่ได้รับอารมณ์เท่ากับการมีประสบการณ์โศกเศร้าเองโดยตรง นอกจากนี้ถึงจะมีความรู้สึกเศร้า แต่ระดับความรู้สึกเศร้าจริงๆ กลับต่ำกว่าที่พวกเขาคิดว่าจะได้รับ


ส่วนการรับรู้ความสุขทางดนตรี มีการรับรู้อารมณ์รื่นรมย์ในระดับที่สูงกว่า ทั้งนี้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของดนตรี และอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงของอารมณ์เศร้า อารมณ์ที่ดีขึ้น และอารมณ์โรแมนติก การศึกษานี้ไม่แสดงความแตกต่างของประสบการณ์ด้านดนตรีต่อการรับรู้อารมณ์ของดนตรี กับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงอีกด้วย เหตุผลอาจอยู่ในสิ่งที่กระตุ้นทางดนตรีที่เราใช้ แต่การศึกษาที่ใช้ท่อนดนตรีน้อยกว่าการทดลองนี้พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการรับรู้อารมณ์ของดนตรี และอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง สำหรับผู้ทดสอบที่มีประสบการณ์ด้านดนตรีมากๆ จะรู้สึกทั้งชอบ และไม่ชอบเมื่อฟังโทนเสียงต่ำของท่อนดนตรีสั้นๆ ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านดนตรีมากๆ อาจประเมิน "สุนทรียศาสตร์" ด้านดนตรีเมื่อต้องให้คะแนนอารมณ์ความรู้สึกของตน


ในสาขาจิตวิทยาด้านอารมณ์นั้นความเศร้าถูกจัดอยู่ในอารมณ์ที่ไม่สบายใจ ถ้าผู้ฟังมีอารมณ์เศร้าอยู่ พวกเขาจะเศร้ามากขึ้นเมื่อฟังเพลงเศร้า แม้โทนเสียงต่ำจะเศร้ากว่าโทนเสียงสูง แต่กลับได้รับความพึงพอใจในการฟังเพลงเศร้า ซึ่งเกิดจากการที่เราอยากรู้ว่าจะมีอะไรต่อจากท่อนเพลงนี้ ถ้าได้ยินในสิ่งที่ผู้ฟังคาดหวังไว้ ผู้ฟังจะมีอารมณ์ด้านบวก แม้ว่าผู้ฟังจะมีอารมณ์เชิงลบเมื่อเริ่มฟังเพลงเศร้าก็ตาม ความมุ่งหวังนี้อาจทำให้รู้สึกดีขึ้นในภายหลัง ความโศกเศร้าในมุมมองเชิงศิลปะนั้นต่างออกไป เช่น การแสดงละคร ได้รับความนิยมทั้งสุขนาฏกรรม และโศกนาฏกกรม ความเศร้าเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสุนทรียะ จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความเศร้าเป็นอารมณ์ที่ดูเหมือนจะให้ความเพลิดเพลินในแบบของตัวเอง ดังนั้นการฟังเพลงเศร้าอาจทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้


สุดท้ายนี้ความเศร้าขณะฟังเพลงเศร้าแตกต่างจากความเศร้าที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของเรา เมื่อเราฟังเพลง ผู้ฟังจะปลอดภัยจากความน่ากังวลใดๆ ที่เพลงสื่อถึง ผู้ฟังจึงเพลิดเพลินกับการฟังเพลงได้อย่างสบายใจ อารมณ์ความรู้สึกของดนตรีถือได้ว่าเป็นอารมณ์ที่ยืดหยุ่นด้านอารมณ์ความรู้สึก ตรงกันข้ามกับอารมณ์ความรู้สึกในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เมื่อดนตรีเชื่อมกับความทรงจำส่วนตัว เช่น การสูญเสียความรัก หรือความตายของผู้คน ผู้ฟังอาจรู้สึกเศร้าสร้อยทุกข์ทรมานคล้ายกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ในกรณีนี้ดนตรีกระตุ้นความทรงจำถือเป็นการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกโดยตรง ส่วนการทดสอบปัจจัยอื่นๆ เช่น การตอบสนองทางสรีรวิทยาและเครือข่ายเส้นใยประสาท จะเป็นสิ่งสำคัญในการวัดความรู้สึกพึงพอใจต่อเพลงเศร้าในอนาคตด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Front. Psychol., 13 June 2013

Original Research Article : Sad music induces pleasant emotion

Ai Kawakami1,2,3, Kiyoshi Furukawa1,3, Kentaro Katahira2,3,4 and Kazuo Okanoya2,3,5*

1School of Fine Arts, Tokyo University of the Arts, Tokyo, Japan

2Emotional Information Joint Research Laboratory, RIKEN BSI, Wako-shi, Saitama, Japan

3OKANOYA Emotional Information Project, ERATO, JST, Tokyo, Japan

4Center for Evolutionary Cognitive Sciences, The University of Tokyo, Tokyo, Japan

5Cognitive and Behavioral Sciences, Graduate School of Arts and Sciences, The University of Tokyo, Tokyo, Japan

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page