top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

15 สัญญาณของวิกฤตวัยกลางคน Midlife Crisis


พออายุเริ่มเข้าสู่วัยกลางคน หลายคนอาจเริ่มเกิดภาวะที่เรียกว่า วิกฤตวัยกลางคน หรือ Midlife Crisis จริง ๆ แล้วภาวะนี้คืออะไรกันแน่ พออายุเริ่มเข้าเลข 4 หลายคนอาจเริ่มสัมผัสถึงความเสื่อมของร่างกาย เริ่มเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ มากขึ้น ในขณะที่พละกำลังทั้งทางกายและทางใจก็เริ่มไม่เหมือนสมัยหนุ่ม ๆ สาว ๆ แต่ความรับผิดชอบกลับมากขึ้น


บางคนกลายเป็นเดอะแบกคนอีกหลายคน ทั้งลูก ทั้งพ่อแม่ ทั้งลูกน้อง มีเรื่องให้ต้องคิดมากมาย รวมทั้งเรื่องฐานะความมั่นคงทางการเงิน บางคนหนักกว่านั้นคือพบเจอการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชีวิต เช่น เปลี่ยนงาน ตกงาน ย้ายที่อยู่ หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก


สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้คนวัย 40 - 60 ปีเสี่ยงกับภาวะที่เรียกว่า “วิกฤตวัยกลางคน” หรือ Midlife Crisis ซึ่งเป็นภาวะทางด้านสุขภาพจิต ที่หลายครั้งคนมักเข้าใจว่าเป็นโรคซึมเศร้า แต่วิกฤตวัยกลางคนไม่ใช่อาการป่วย มักเกิดขึ้นในระยะเวลาที่สั้นกว่าโรคซึมเศร้า และอาจหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป


อะไรที่เป็นสาเหตุของ Midlife Crisis


ในแต่ละคนล้วนถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยที่แตกต่างกัน แต่มีการรวบรวมสาเหตุต่าง ๆ สำหรับคนในช่วงวัย 40-60 ปี ได้ดังนี้


1) การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย


ความแข็งแรงและพละกำลังในการทำสิ่งต่าง ๆ ลดลง อาการของโรคต่าง ๆ ก็ปรากฏมากขึ้น เข้าสู่ช่วงวัยทองที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หลายคนเริ่มคิดถึงอดีตของตัวเองในวัยที่ร่างกายแข็งแรงมีพลังในการทำสิ่งต่าง ๆ


2) การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์


บางคู่มีการหย่าร้าง แยกทาง บางครอบครัวลูกเริ่มโต แยกออกไปใช้ชีวิตของตนเอง ซึ่งอาจเริ่มรู้สึกโดดเดี่ยวอีกครั้ง


3) ความกังวลในเรื่องต่าง ๆ


เช่น พ่อแม่เริ่มอายุมาก เริ่มมีโรคภัยไข้เจ็บตามมา ในขณะที่ต้องดูแลลูกของตนเองด้วย ภาระทางการเงินมากขึ้น บางคนเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการงาน ได้รับการเลื่อนตำแหน่งที่ความรับผิดชอบสูงขึ้น ในขณะที่หากใครถูกให้ออกจากงานในวัยกลางคนก็มักจะยิ่งเกิดความกังวลมากขึ้น


4) การสูญเสียบุคคลที่รักในชีวิต


วัยนี้จะเริ่มถึงช่วงที่เริ่มมีคนรอบตัวจากไปมากขึ้น เช่น บุคคลในครอบครัว เพื่อนฝูง ญาติผู้ใหญ่


5) การตั้งคำถามต่อความสำเร็จในชีวิต


บางคนเห็นเพื่อนรุ่นเดียวกันประสบความสำเร็จอย่างมาก หรือเห็นรุ่นน้องหรือคนรุ่นใหม่ประสบความสำเร็จ หลายคนก็อาจกลับมาตั้งคำถามกับตนเองว่า แล้วตัวเองอยู่ตรงจุดไหนแล้ว ทำไมไม่ประสบความสำเร็จเท่าคนอื่น ๆ หรือชีวิตไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่เคยวางไว้


อย่างไรก็ตาม แม้บางคนจะเผชิญกับปัจจัยข้างต้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตวัยกลางคน เพราะภาวะนี้เป็นภาวะทางสุขภาพจิตใจ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากนิสัย การตีความ ความเข้มข้นของสถานการณ์ที่เจอ กำลังใจจากคนรอบข้าง ฯลฯ


สัญญาณของวิกฤตวัยกลางคน


ลองมาเช็กกันให้ละเอียดกันอีกนิดว่า 15 สัญญาณของ Midlife Crisis มีอะไรบ้าง


1. รู้สึกวิตกกังวลกับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นกว่าปกติ

2. รู้สึกซึม เศร้า บางคนอาจอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ โมโหง่ายขึ้น

3. เบื่อหน่ายต่อสิ่งต่าง ๆ หมดความกระตือรือร้น หรือความมั่นใจในตัวเองหายไป

4. เริ่มตั้งคำถามที่ลึกซึ้งกับตัวเอง เกี่ยวกับเป้าหมายชีวิต ปลายทางของชีวิต คุณค่าของชีวิต หรือความสำเร็จของตัวเอง

5. คิดถึงชีวิตในอดีตของตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะตอนที่รุ่งเรือง หรือแข็งแรง

6. ตัดสินใจบางเรื่องแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง หรือลังเลไปทุกเรื่อง

7. ฟุ่มเฟือย หรือใช้จ่ายเงินไปกับเรื่องที่อาจไม่จำเป็น

8. น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างผิดปกติ

9. กังวลกับภาพลักษณ์ รูปร่างหน้าตาของตัวเองมาก หรือในทางตรงกันข้ามคือไม่สนใจดูแลตัวเองเลย

10. เปรียบเทียบความสำเร็จของตนเองกับคนอื่น ๆ

11. นอนไม่หลับ หรือมีปัญหาเรื่องการนอน

12. คิดว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิตได้ผ่านพ้นไปแล้ว เริ่มหมดหวังกับอนาคต

13. กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลงไป หมดความสนใจกับบางเรื่อง

14. บางคนอาจเริ่มเบื่อหน่ายความสัมพันธ์กับคู่รักของตนเอง

15. เริ่มปวดเมื่อยหรือเจ็บปวดในบางส่วนของร่างกาย


เหล่านี้คือสัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจอยู่ในภาวะวิกฤตวัยกลางคน


โดยปกติแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป หลายคนจะรู้สึกดีขึ้น ผ่อนคลายขึ้น หรือหายจากภาวะนี้ แต่หากใครที่รู้สึกว่าตนเองรับมือไม่ไหว หรือเริ่มไม่แน่ใจว่าเกิด midlife crisis หรือซึมเศร้ากันแน่ แนะนำว่าคุณควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ผู้เขียน

พิชาวีร์ เมฆขยาย

M.Sc. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

B.Sc. จิตวิทยา

ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตในองค์กร / นักออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ / Youtuber / Blogger


ที่มา:



facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page