top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 soft skills ที่ควรพัฒนารับปีใหม่ ในยุคที่ AI เริ่มฉลาดกว่ามนุษย์


จากปรากฏการณ์ที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านเทคโนโลยีซึ่งมีชื่อว่า “ChatGPT” เกิดขึ้น ทำให้หลายคนกังวลว่าปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะเข้ามาแทนที่หรือแย่งตำแหน่งงานบางประเภทไปจากมนุษย์ได้หรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้นจริง มนุษย์จะสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อพัฒนาศักยภาพตัวเองให้สามารถสู้กับ AI รูปแบบต่าง ๆ ได้โดยไม่ถูก Disrupt จากการที่ AI เริ่มฉลาดกว่ามนุษย์บางคน


รู้จักกับ ChatGPT

ChatGPT ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท OpenAI โดยเป็นเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์แบบ chatbot ที่มีความสามารถในการโต้ตอบกับมนุษย์ตามคำสั่งในแชท ChatGPT จะถูกฝึกให้สามารถจดจำข้อมูลขนาดใหญ่ได้ ทำให้มันมีข้อมูลในการตอบสนองต่อคำสั่งของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีความสามารถในการแปลภาษาและสรุปประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว ซึ่งคำว่า GPT มาจากคำว่า “Generative Pre-trAIned Transformer”


จากปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของ ChatGPT ทำให้มี 5 สายงานที่น่ากังวลในยุคที่ AI เริ่มฉลาดกว่ามนุษย์ ได้แก่

1. พนักงานคีย์ข้อมูลและประมวลผล เนื่องจาก AI มีความสามารถในการป้อนและประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำมากกว่ามนุษย์ ซึ่งต่างจากมนุษย์ที่อาจมี human error อันเกิดจากจากสภาวะบางประการ เช่น เหนื่อยล้าหรือเจ็บป่วย

2. พนักงานฝ่ายผลิตและประกอบชิ้นส่วน AI ในปัจจุบันเริ่มมีศักยภาพที่มาทดแทนแรงงานมนุษย์ได้แล้ว เช่น การเชื่อมโลหะ การทาสี การประกอบชิ้นส่วน หรืองานอื่น ๆ ในฝ่ายผลิต

3. พนักงานบริการลูกค้า จะเห็นได้ว่าหลายองค์กรเริ่มมีการนำ chatbot มาใช้ในการตอบแชทลูกค้าหรือผู้รับบริการกันมากขึ้น AI ที่ถูกเทรนให้จดจำถ้อยคำจะสามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้เสมือนเป็นบุคคลจริง ๆ รวมไปถึง chatbot สามารถถูกตั้งค่าให้ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

4. พนักงานขนส่งและโลจิสติกส์ AI ที่ถูกเทรนให้ฉลาดจะเข้ามามีบทบาทในการประมวลผลและการคำนวณข้อมูลมากขึ้น ซึ่ง AI มักจะมีความรวดเร็วมากกว่าแต่ผิดพลาดน้อยกว่าในการประมวผลและการคำนวณที่ทำโดยมนุษย์ รวมไปถึง AI ในรูปแบบของพาหนะที่ขับเคลื่อนได้แบบไร้มนุษย์ เช่น รถยนต์หรือเครื่องบิน

5. การค้าปลีกหรือผู้จัดการร้าน AI tools เช่น เครื่องชำระเงินสินค้าด้วยตนเอง หรือเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในธุรกิจค้าปีกสามารถเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ในบางตำแหน่งงานได้ เช่น แคชเชียร์


อย่างไรก็ตาม AI ไม่ได้จะเข้ามาแทนมนุษย์ได้ในทุกตำแหน่งงาน เพียงแต่บางตำแหน่งงานอาจจะหายไปและมี AI เข้ามาทำงานแทน ในขณะที่บางตำแหน่งซึ่งไม่เคยมีมาก่อนก็จะเกิดขึ้นมาทดแทนตำแหน่งที่หายไป ดังนั้น เราจึงควรพัฒนาทักษะในหมวด soft skills ติดตัวเอาไว้ เพราะมันคือทักษะของมนุษย์ที่เทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถพัฒนาคุณลักษณะดังกล่าวขึ้นมาได้ ดังต่อไปนี้


1. ทักษะการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ (Adaptability) คือ ความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ว่าสถานการณ์ที่ต้องเผชิญจะเป็นอย่างไรก็สามารถปรับตัวให้เข้าสถานการณ์นั้น ๆ ได้ แม้จะเป็นสิ่งใหม่ที่เกินความคาดเดา

วิธีการพัฒนา:

  • เปิดใจกับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

  • มองหาช่องทางให้ตัวเองได้เรียนรู้และเติบโต ออกจาก comfort zone

  • ฝึกเป็นคนที่ยืดหยุ่นได้ ไม่ยึดติดอยู่กับความคิดของตัวเอง

2. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem-solving skills) คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยครอบคลุมไปถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางรับมือกับปัญหาดังกล่าว

วิธีการพัฒนา:

  • ฝึกให้ตัวเองได้มีโอกาสใช้ความคิดสร้างสรรค์บ่อย ๆ

  • พยายามคิดวิธีในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง

  • ระดมความคิดกับคนอื่น ๆ เช่น เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ได้แนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหา

3. ทักษะในการสื่อสาร (Communication skills) คือ ความสามารถที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องการจะสื่อสาร ในขณะเดียวกันก็สามารถเข้าใจความต้องการของผู้อื่นด้วยเช่นกัน

วิธีการพัฒนา:

  • ฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังเวลาที่คนอื่นกำลังสื่อสารทั้งในส่วนที่เป็นคำพูดและส่วนที่เป็นภาษากาย

  • ฝึกพูดในที่สาธารณะ เช่น พรีเซ้นท์งานต่อหน้าผู้คน เข้าร่วมการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น

  • อ่านหนังสือและเขียนความคิดของตัวเองออกมาบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถทางภาษา

4. ทักษะการบริหารเวลา (Time management skills) คือ ความสามารถในการแบ่งเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายหรือระยะเวลาที่ตั้งเอาไว้

วิธีการพัฒนา:

  • ตั้งเป้าหมายและจัดลำดับสิ่งที่ควรทำก่อนหลัง

  • ทำตามตารางที่วางแผนไว้ ไม่ใช่ทำตามอารมณ์

  • ฝึกปฏิเสธให้เป็น โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่สำคัญจำเป็นและสิ้นเปลืองเวลาโดยเปล่าประโยชน์

5. ทักษะการฟื้นฟูสภาพจิตใจหลังเจอวิกฤต (Resilience) คือ ความสามารถในการข้ามผ่านวิกฤตไปได้ แม้จะเจออุปสรรคความยากลำบากในชีวิตก็สามารถฟันฝ่าไปได้ เปรียบดังลูกบอลยางที่เวลาถูกบีบก็จะเสียรูปทรงไป แต่เมื่อแรงบีบนั้นคลายลงก็สามารถเด้งกลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้โดยไม่บุบบี้เสียหายไป

วิธีการพัฒนา:

  • ทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดบ่อย ๆ เช่น เล่นโยคะ ออกกำลังกาย หรือใช้เทคนิคการผ่อนคลายแบบต่าง ๆ ที่ตัวเองชอบ

  • แบ่งเวลาไว้ให้กับการพักผ่อนและการดูแลตัวเองบ้าง

  • โฟกัสกับสิ่งที่ควบคุมได้แทนที่จะไปกังวลในสิ่งที่ควบคุมคาดเดาไม่ได้ อยู่กับสิ่งที่มีไม่ใช่สิ่งที่ขาด

  • มองหาความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นกำลังใจจากคนใกล้ชิด ลองระบายพูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ รวมถึงการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาซึ่งก็ถือเป็นทักษะในการขอความช่วยเหลือแบบหนึ่งที่มีความจำเป็นในยุคปัจจุบัน


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่



 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง: https://chat.openAI.com/


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

ประวัติผู้เขียน

นางสาวนิลุบล สุขวณิช (เฟิร์น) จบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาตรีสาขาจิตวิทยา(คลินิก) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และเป็นนักเขียนของ iSTRONG


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page