top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

Psychology for leader 6 ทักษะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้นำยุคใหม่



ในยุคสมัยที่ Trend หรือกระแสทางสังคมเปลี่ยนแปลงไวมาก ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวเร็ว ด้วยเหตุนี้ผู้นำขององค์กรเองก็ต้องมีการปรับตัวที่รวดเร็ว และจำเป็นที่จะต้องมี Psychology for leader หรือเทคนิคจิตวิทยาที่จำเป็นสำหรับผู้นำยุคใหม่ เพราะถ้าองค์กรไหนมีผู้นำที่มีทักษะผู้นำในการสร้าง Trend หรือพาองค์กรไปอยู่ใน Trend ได้ องค์กรก็สามารถเจริญเติบโตได้เร็ว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งก็ตาม


จากงานวิจัยทางจิตวิทยาองค์กร ของ The Adecco Group ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม 2565 เรื่อง The Chief People Officer of the Future: How is the Top People Management Role Changing as the World of Work Evolves? ซึ่งสามารถแปลเป็นไทยได้ว่า “ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลแห่งอนาคต: บทบาทผู้บริหารระดับสูงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อโลกแห่งการทำงานเปลี่ยนแปลงไป” ซึ่งเป็นการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารระดับสูง 122 คน ในบริษัทชั้นนำจากทุกทวีปทั่วโลกเกี่ยวกับทักษะผู้นำยุคใหม่ พบว่า ผู้นำโดยส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่า ผู้นำแห่งอนาคตจะต้องมีความยืดหยุ่นสูง ลดเวลาในการบริหารทีมงานลง ลดความสนใจในภาพลักษณ์ขององค์กร ลดการทำงานให้ CEO หรือผู้บริหารองค์กร และควรเพิ่มสิ่งที่ควรทำ ดังต่อไปนี้


1. การวิเคราะห์ข้อมูลบุคลากร (People Analytics)

โดยการนำข้อมูลต่าง ๆ ของบุคลากรในองค์กรมาวิเคราะห์ เช่น อายุ เพศ ความถนัด ความเชี่ยวชาญ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรขององค์กร และใช้คนให้ถูกกับงาน (Put the right man on the right job)


2. การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation)

โดยการกำหนดทิศทางขององค์กร เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่เป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ที่วางเอาไว้ ผ่านการวิเคราะห์องค์กร การระดมสมองจากบุคลากรภายในองค์กร เพื่อให้ได้มาซึ่งกลยุทธองค์กร ที่จะพาองค์กรไปสู่อนาคตได้อย่างสวยงาม


3. ปรับกลยุทธ์องค์กร (Strategic Transformation)

โดยการศึกษารูปแบบกลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับองค์กร และบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก และกลุ่มเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลง และมีความทันสมัยอยู่เสมอ


4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก (Positive Organizational Culture)

โดยการทำตัวให้เป็นต้นแบบที่ดีสำหรับบุคลากรในองค์กร เช่น มาตรงเวลา เคารพซึ่งกันและกัน ให้เกียรติทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน รับผิดชอบในงาน เป็นต้น


5. บริหารบุคลากรด้วยวิธีการใหม่ ๆ

จากการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนงานของคนไทย พบว่า ในปี 2565 คนไทยมีการเปลี่ยนงานเฉลี่ยมากถึง 17% ของผู้ที่มีงานทำ และมีการเลือกงานมากขึ้นดังนั้นเพื่อรักษาบุคลากรให้คงอยู่กับองค์กร ผู้นำจำเป็นที่จะต้องมีทักษะผู้นำด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลด้วย


ทั้งนี้ จากงานวิจัยของ The Adecco Group ยังแสดงให้เห็นว่า การที่ผู้นำยุคใหม่จะสามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้นั้น จำเป็นจะต้องมีทักษะผู้นำ 6 ทักษะ ดังนี้


1. เสริมสมรรถนะเชิงเทคนิค (Technical competency)

เป็นทักษะในการทำงานของผู้นำ ที่มีความเชี่ยวชาญสูงกว่าบุคลกรระดับปฏิบัติงาน โดยสามารถแบ่งทักษะผู้นำด้านนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ สมรรถนะเชิงเทคนิคหลัก (Core technical competency) คือ ทักษะในการบริหารงานในภาพรวม เช่น การจัดสรรเวลา การบริหารงานแข่งกับเวลา เป็นต้น และ สมรรถนะเชิงเทคนิคเฉพาะ (Specific technical competency) หมายถึง ทักษะการทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉาะด้าน เช่น ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล ด้านการตลาด เป็นต้น


2. เสริมสมรรถนะเชิงระบบ (Systems competencies)

เป็นความสามารถในการรับรู้และทำความเข้าใจระบบขององค์กรโดยการนำเทคนิคจิตวิทยาเข้ามาใช้ในการบริหารงาน เช่น ระบบบุคลากร ระบบบริหารงาน ระบบการตลาด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนนารสร้างกลยุทธ์องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง


3. เสริมสมรรถนะทางอารมณ์และสังคม (Socioemotional competencies)

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม ประกอบด้วย

(1) การตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง (Emotional Self – awareness)

(2) การควบคุมอารมณ์ตนเอง (Emotional Self - control)

(3) การปรับตัว (Adaptability)

(4) การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (Achievement Orientation)

(5) มองเชิงบวก (Positive Outlook)

(6) มีความเห็นอกเห็นใจ  (Empathy)

(7) การตระหนักรู้ในองค์กร (Organizational Awareness)

(8) การสร้างอิทธิพลต่อผู้อื่น (Influence)

(9) การเป็นโค้ช และ พี่เลี้ยง (Coach and Mentor)

(10) ความสามารถในการบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)

(11) เป็นผู้นำแรงบันดาลใจ (Inspirational Leadership) และ(12) การทำงานเป็นทีม (Teamwork)


4. เสริมสมรรถนะในการบริหารทรัพยากรบุคคล (Resource management competencies)

เป็นทักษะผู้นำในการวิเคราะห์ค่างาน Job Analysis เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาส่งเสริมให้บุคลากรรับรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ตระหนักในความรับผิดชอบของตนเอง รวมถึงพัฒนากระบวนการตรวจสอบหรือประเมินค่างานที่เป็นธรรมและเหมาสม และพัฒนาศักยภาพบุคคลากรอย่างเหมาะสม


5. เสริมสมรรถนะในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน (Complex problem solving competencies)

เป็นทักษะขั้นสูงของผู้นำ เนื่องจากเป็นปกติที่องค์กรจะต้องเผชิญกับปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ดันั้นผู้นำยุคใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ ในองค์กรเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และออกแบบแนวทางการป้องกันการเกิดปัญหานั้น ๆ ซ้ำอีก


6. เสริมความถ่อมตน (Leader humility)

จากการศึกษาขงคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ความถ่อมตนมีความสำคัญมากในสถานการณ์ทีมีความผันผวนสูง เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เอาแน่เอานอนไม่ได้ เนื่องจากมีแนวโน้มสูงว่าผู้นำที่มีความถ่อมตนจะสามารถพัฒนาตนเองและนำพาองค์กรให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ดีกว่าผู้นำที่มีความมั่นใจในตนเองสูง โดยผู้นำที่มีความถ่อมตนจะมีลักษณะสำคัญ คือ

(1) ยอมรับข้อบกพร่องและข้อจำกัดของตนเอง

(2) ชื่นชมผู้อื่น

(3) เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุคลากรคนอื่น ๆ


เนื่องจากในโลกยุคใหม่เป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยเฉพาะ Trend ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ด้วยเหตุนี้การที่จะเป็นผู้นำยุคใหม่ที่จะประสบความสำเร็จจึงมีความท้าทายสูง และ 6 ทักษะผู้นำที่ได้แนะนำไปจะสามารถเป็นตัวช่วยที่ดีในการพัฒนาคุณให้เป็นผู้นำที่ทรงคุณค่าค่ะ


หากคุณต้องการพัฒนาทักษะด้านจิตวิทยา เพื่อปรับใช้ในการทำงาน ครอบครัว ความสัมพันธ์และในชีวิตประจำวัน สามารถดูคอร์สเรียนจาก iSTRONG ได้ที่นี่

 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ : 

 

อ้างอิง :

1. Adecco. (29 มีนาคม 2565). สรุปเทรนด์และทักษะที่ผู้นำ HR ต้องมี ภายในปี 2027. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2567 จาก https://adecco.co.th/th/knowledge-center/detail/hr-insight/wp-trend-and-skill-for-hr-leaders-in-2027

2. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2023, 29 กันยายน). Leader humility – ความถ่อมตนของผู้นำ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2567 จาก https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/leader-humility/


 

จันทมา  ช่างสลัก บัณฑิตจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้ 


Comments


Commenting has been turned off.
facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page