top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

จิตวิทยาความเกลียดชัง


ความเกลียด เป็นอีกหนึ่งความรู้สึกที่ถือเป็นความรู้สึกในด้านลบ เราถูกสั่งสอนว่า ความเกลียดชัง เป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงชีวิตหนึ่งของทุกๆ คนคงจะต้องเคยเผชิญหน้ากับความรู้สึกนี้มาบ้าง บทความนี้ ขอนำเสนอ 7 ข้อมูลที่มาจากงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาเพื่อจะทำให้คุณเข้าใจความเกลียดมากขึ้นค่ะ

1. หลายคนพูดว่าเกลียด โดย ที่ไม่ได้เกลียด อย่างแท้จริง

ความเกลียดชัง คือ ความคิดที่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นปีศาจ สิ่งชั่วร้าย เมื่อเราเกลียด เรามักมีอารมณ์ด้านลบอื่นๆ เกิดขึ้นด้วย และความต้องการที่จะกำจัด สิ่งที่เราเกลียดนั้น การล้างแค้น เป็นส่วนหนึ่งของความเกลียดชัง การที่เราต้องการล้างแค้น เป็นเพราะ เราต้องการทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเจ็บปวด ให้มากเท่ากับ ที่เรารู้สึกเจ็บปวดโดยการดูทำร้ายจากฝ่ายตรงข้าม

บ่อยครั้งที่เราได้ยินคนพูดว่า เกลียด เช่น เกลียด อากาศร้อน เกลียด วิชาคณิตศาสตร์ จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ได้หมายถึงความเกลียดชังจริงๆ จากงานวิจัยพบว่า เมื่อทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ว่า พวกเขารู้สึกเกลียดครั้งสุดท้ายเมื่อไร จะพบว่า ส่วนใหญ่แล้วไม่สามารถจำได้ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่า อันที่จริงแล้วพวกเขาไม่ได้รู้สึกเกลียดอย่างแท้จริง

2. เราจะเกลียดกลุ่มคนได้ง่ายกว่า และ มากกว่า การเกลียดตัวบุคคล

มีงานวิจัยค้นพบว่า ความเกลียดจะขยายได้รวดเร็วเมื่อเราเกลียดกลุ่มคน มากกว่าบุคคล เช่น เราเกลียดคนพม่า ความรู้สึกเกลียดชังนี้ จะทวีความรุนแรงมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น มากกว่าเกลียด Mr.A เป็นต้น

เราเริ่มมองคนกลุ่มนั้น เป็นเหมือนๆ กัน เช่น พวกเขามีความคิดแบบเดียวกัน มีพฤติกรรมเหมือนๆ กัน แทนที่จะแยกแยะว่า แต่ละบุคคลมีความแตกต่าง จากงานวิจัยพบว่า เมื่อเราเกลียด บุคคล เราจะมีความรู้สีกเห็นอกเห็นใจเขา เมื่อเรามองข้อดีในตัวเขา ทำให้ความเกลียดชังไม่รุนแรงเท่ากับการเกลียดกลุ่มคน

ความแตกต่างระหว่าง ความเกลียดชัง ความโกรธ และ ความรู้สึกดูถูก

3. ความแตกต่างระหว่าง ความเกลียดชัง และ ความโกรธ

ตามหลักทฤษฎี ความแตกต่างระหว่าง ความเกลียดชัง และ ความโกรธ คือ ความเกลียดชัง เกี่ยวข้องกับ บุคคล หรือ กลุ่มคน โดยไม่เฉพาะเจาะจงเรื่อง เราเกลียดคนคนหนึ่ง เพราะ การที่เขาเป็นเขา แต่ถ้าเราโกรธคนคนหนึ่ง เป็นเพราะ สิ่งที่เขาทำ

เมื่อเราโกรธ มักจะมาจากการกระทำของเขาที่ทำให้เราไม่พอใจ และเราต้องการที่จะควบคุมจัดการให้เขาเป็นแบบที่เราอยากให้เห็น เราโกรธ เราต้องการให้อีกฝ่ายขอโทษ และเปลี่ยนพฤติกรรม และ การกระทำ

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออีกฝ่ายไม่เปลี่ยนพฤติกรรม และไม่ขอโทษ ความโกรธที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จะแปรเปลี่ยนการเป็นความรู้สึกดูถูก เหยียดหยาม

ความรู้สึกดูถูก เหยียดหยาม เกิดขึ้นเมื่อ เรารู้สึกว่า บุคคลนี้ไม่คู่ควรกับความรู้สึกโกรธของเราอีกต่อไป คุณยังคงโกรธอยู่ แต่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนั้น เป็นการดูถูกพวกเขา และ ตีตัวออกห่าง

4. ความแตกต่างระหว่าง ความรู้สึกดูถูกเหยียดหยาม และ ความเกลียด

ความรู้สึกดูถูกเหยียดหยาม คือ ความเกลียดในรูปแบบเย็นชา ความรู้สึกนี้ มีความเหมือนกับความเกลียดนั่นคือ เราดูถูกเหยียดหยาม ในความเป็นเขา

เมื่อเรารู้สึกแบบนี้ เราจะมีความคิดว่า คนๆ นี้ หรือ กลุ่มนี้ ไม่คู่ควรกับความรู้สึก หรือ เวลาที่เราจะให้

5. ความเกลียดชังส่งต่อและแพร่กระจายได้ง่ายกว่าความโกรธ

ความเกลียดชัง สามารถส่งต่อ หรือแพร่กระจาย ได้ง่ายกว่าความรู้สึกโกรธ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามคนที่เคยผ่านช่วงสงครามมาก่อน กับ คนที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสงคราม จากงานวิจัยพบว่า ความเกลียดขังของคนองกลุ่มนี้ไม่แตกต่างกัน

6. ความเกลียด กับ สรีรวิทยา

ไม่มีการศึกษาพบว่า มีแบบแผนของเรื่องสรีรวิทยา กับความเกลียด เพราะ ความเกลียด เป็นประสบการณ์ที่ใช้เวลานาน และอยู่กับคนที่เกลียดชังเป็นเวลานาน ในขณะที่ความโกรธ สามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็ว เช่น มีคนทำให้เรารู้สึกไม่พอใจ แต่ความเกลียด เราจะต้องมีข้อมูลมากขึ้น เพียงเพื่อจะเกลียดใครสักคน

เมื่อเราโกรธ จะมีผลกับร่างกายของเรา แต่ในขณะที่ความเกลียดอาจไม่เห็นได้อย่างชัดเจน

7. การจัดการกับความเกลียด

มีคนสับสนจำนวนมากว่า อันที่จริงแล้วความเกลียดคืออะไร ซึ่ง ถ้าพวกเขาสามารถทำความเข้าใจว่า ความรู้สึกเกลียด คือ ความรู้สึกที่รุนแรง ที่เราอยากจะทำลาย และกำจัดสิ่งที่เราเกลียด บางทีพวกเขาอาจจะเลิกใช้คำว่า เกลียด ก็ได้

ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นทักษะที่สำคัญ ที่จะทำให้เราหันกลับมาสังเกตความรู้สึกของตัวเอง และพยายามทำความเข้าใจกับความรู้สีกนั้น ซึ่งสามารถฝึกฝนได้

อย่างไรก็ตามเราควรจัดการอารมณ์ของเราไม่ให้ถลำลึกไปสู่ความรู้สึกเกลียด ซึ่งสามารถได้โดยทำความเข้าใจความคิด และ ความรู้สึกของตัวเองที่เกิดขึ้น ปรับความคิด และมุมมองเขาเราต่อเรื่องนั้นๆ ตามหลักการ Cognitive Behavioral Theory (CBT)


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ประวัติผู้เขียน : อังคณา เกิดทองมี

ศึกษาด้านศิลปศาศตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (B.Eng.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, และ Diploma of International E-Business, Hove College, Brighton, UK

มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งวิศวกรในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขั้นนำของโลกมากกว่า 5 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทด้าน Data Science และเขียนบทความด้านจิตวิทยาให้กับบริษัท iStrong

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page