top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

4 วิธีคลายความเหงาสำหรับชาวสังคมก้มหน้า

ในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีและอินเทอร์เนต เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์เรา ผู้คนสามารถเชื่อมต่อและติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คนในสังคมปัจจุบัน มีปฎิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวหรือมีความใกล้ชิดกันน้อยลง อย่างที่เราเคยได้ยินคำว่า สังคมก้มหน้า นั่นเอง



สังคมก้มหน้า

ความรู้สึกเหงา แม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนจำนวนมาก มีเพื่อนนับร้อยคนในโซเชียลมีเดีย แต่ผู้คนกลับรู้สึกเหงา และรู้สึกเหมือนกับว่าอยู่คนเดียวมากขึ้นทุกวัน



โรคซึมเศร้า กลายเป็นโรคยอดฮิตของคนเมืองในยุคปัจจุบัน ความรู้สึกเหงาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต คนที่ประสบปัญหาความเหงาอย่างรุนแรง มีอาการนอนไม่หลับ ไม่อยากรับประทานอาหาร รวมไปถึงผลกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น


นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของความเหงา และนำมาซึ่งวิธีการที่จะช่วยรักษา บรรเทาอาการของโรคนี้ 4 วิธี ด้วยกัน ดังต่อไปนี้



1.พัฒนาทักษะในการเข้าสังคม มีงานวิจัยจำนวนหนึ่ง ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ประสบปัญหาความเหงาและพบว่า คนกลุ่มหนึ่งมีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพและทักษะในการเข้าสังคม จึงมีผลให้คนกลุ่มนี้มีเพื่อน หรือความสัมพันธ์ที่ดีน้อย วิธีการแก้ปัญหาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ นักจิตวิทยาช่วยเหลือ โดยการพัฒนาบุคลิกภาพและทักษะในการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการสร้างบทสนทนากับผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยต่อหน้าหรือทางโทรศัพท์ พัฒนาทักษะในการสร้างคำชมและรับคำชม ไม่เพียงแต่ทักษะการพูดเท่านั้น นักจิตวิทยายังช่วยพัฒนาการใช้ ภาษากายอย่างเหมาะสมอีกด้วย



2. ช่วยเหลือในด้านการสนับสนุนทางสังคม คนจำนวนหนึ่งรู้สึกเหงาและต้องอยู่คนเดียว อันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการหย่าร้าง การเปลี่ยนงาน การเปลี่ยนที่อยู่ หรือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นต้น ซึ่งจากแก้ปัญหาผู้ป่วยด้วยสาเหตุนี้ คือการให้คำปรึกษาและพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับฟังปัญหา แนะนำ และให้คำปรึกษาในการจัดการปัญหาของแต่ละบุคคลได้อย่างถูกต้อง



3. เพิ่มโอกาสในการเข้าสังคม วิธีการนี้ เป็นการแก้ปัญหาอันเนื่องจากสาเหตุก็คือ ผู้คนในยุคปัจจุบันซึ่งอาจจะทำงานอย่างหนัก และมีโอกาสที่จะมีปฎิสัมพันธ์หรือรู้จักกับคนใหม่ๆ น้อย วิธีการนี้ทำได้โดย จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อนัดพบผู้คนในการทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม การแลกเปลี่ยนความรู้และภาษา หรือกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสนใจแบบเดียวกันมาพบและรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมด้วยกัน เป็นต้น



4. การปรับเปลี่ยนความคิด มีงานวิจัยจำนวนหนึ่งค้นพบว่า คนที่รู้สึกเหงาเกิดจากทัศนคติด้านลบ และไม่ถูกต้องต่อสถานการณ์ต่างๆ พวกเขามักจะมีความคิดที่ไวต่อความรู้สึก คิดมาก และคิดในแง่ร้าย ตัวอย่างเช่น ถ้าเพื่อนร่วมงานเงียบและไม่ค่อยมีเวลาให้ เขามักจะคิดว่าเขาทำอะไรสักอย่างที่ทำให้เพื่อนร่วมงานคนนั้นไม่พอใจ หรือเพื่อนร่วมงานคนนั้นไม่ชอบเขา ซึ่งในความเป็นจริง เพื่อนร่วมงานคนดังกล่าวอาจมีปัญหาส่วนตัวหรือยุ่งกับงานก็เป็นได้ วิธีการนี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้คนที่ประสบปัญหา สามารถปรับทัศนคติและมุมมองของพวกเขาต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง


ผู้ที่ประสบปัญหา ความเหงา อย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน ทัศนคติ และวิธีการมองโลกของพวกเขามักจะเป็นไปในแง่ร้าย พวกเขามักมองว่า ผลลัพธ์ต่อการกระทำต่างๆ มักจะออกมาในแง่ร้าย ซึ่งความคิดนี้มีผลอย่างยิ่งต่อการกระทำของพวกเขา และความสัมพันธ์ของพวกเขาต่อคนรอบข้าง ผลที่เกิดขึ้นก็คือพวกเขามักเก็บตัวอยู่คนเดียว และรักษาระยะห่างจากบุคคลรอบตัว ทำให้พวกเขารู้สึกเหงา และหดหู่ในชีวิต



สังคมก้มหน้า

วิธีการทั้ง 4 วิธีการข้างต้น เป็นวิธีการที่นักจิตวิทยาได้คิดค้นขึ้น เพื่อเป็นประโยขน์ในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา ให้สามารถเข้าใจสาเหตุของปัญหาของพวกเขา และใช้วิธีการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง จัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ และสามารถเข้าสังคม มีความคิดที่ถูกต้อง และพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบตัวได้


นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองและพบว่า ความเหงา มีอันตรายเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่เลยทีเดียว และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเมื่ออายุยังน้อยถึง 14% และความเหงานี้ก็สามารถเกิดกับใครก็ได้ แม้แต่คนที่แต่งงานและมีคู่ชีวิต โดยมีการศึกษาเก็บข้อมูลค้นพบว่า 60% ของคนที่ประสบความเหงาคือคนที่แต่งงานแล้วอีกด้วย ดังนั้น เราควรที่จะสำรวจความรู้สึกของเรา และจัดการมันอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันความรุนแรงของความรู้สึกที่ส่งผลลบกับสุขภาพของเรานะคะ

 

เพราะทุกก้าวของชีวิตคือจิตวิทยา iStrong


บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาที่มีใบรับรอง สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือคุยแบบพบหน้า


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page