top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

8 เหตุผลที่พ่อแม่ไม่รู้สึกรักลูกของเขาเอง


มีคนเคยพูดให้แพรได้ยินอยู่เสมอว่า เมื่อเรามีลูก ความรักที่เรามีให้กับลูกจะเป็นความรักแบบที่ไม่มีเงื่อนไข การเลี้ยงลูกด้วยความรัก มีผลอย่างมากกับการที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตเป็นคนที่มีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ แข็งแรง


แพรได้คำตอบเรื่องความรักแบบไม่มีเงื่อนไขเมื่อกลายเป็นแม่ และ ทำทุกอย่างได้เพื่อลูก แบบที่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะทำได้มาก่อน แต่อย่างไรก็ตาม แพรก็เห็นข่าวในโทรทัศน์ ที่พ่อแม่ ทิ้งลูก ทำร้ายลูก จำนวนไม่น้อย ทำให้แพรเกิดคำถามว่า พวกเขาทำได้อย่างไร


วันนี้แพรมีคำตอบจากนักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อว่า Robert W. Firestone ที่ได้อธิบายถึงสาเหตุทั้ง 8 ข้อที่ทำให้คนเป็นพ่อแม่ ไม่สามารถรักลูกของตัวเองได้ มาฝากกันค่ะ



1. พ่อแม่จำนวนมาก มีความคิดลบกับตัวเอง และส่งต่อความคิดลบนั้นมาถึงลูกด้วย


การรักตัวเองได้เป็นสิ่งที่สำคัญมากนะคะ เราต้องรักตัวเอง และยอมรับตัวเองให้ได้อย่างเต็มใจ ก่อนที่เราจะไปรักคนอื่นได้ มีคนจำนวนมากที่ไม่ชอบตัวเอง เช่น คิดว่าตัวเองไม่ฉลาด คิดว่าตัวเองหน้าตาไม่ดี คิดว่าตัวเองอ้วนเกินไป เป็นต้น ซึ่งความรู้สึกไม่รัก ไม่ชอบตัวเองนี้ ก็จะส่งต่อมาที่ลูกเช่นกัน และแน่นอนค่ะ คนกลุ่มนี้ ไม่สามารถที่จะสอนให้ลูกรัก และยอมรับตัวเองได้ เพราะตัวเองเองก็ยังไม่สามารถทำได้นั่นเอง


2. พ่อแม่ที่ไม่พร้อมจะมีลูก ไม่พร้อมจะดูแลลูก


คนกลุ่มนี้ อาจจะเป็นคนที่มีปัญหาเรื่องการเงิน ความมั่นคงในชีวิต มีลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อมีแล้วไม่รู้จะจัดการยังไง ไม่สามารถที่จะรับผิดชอบชีวิตได้ แม้แต่ชีวิตตัวเอง แน่นอนค่ะ การมีลูกต้องใช้ความรัก ความรับผิดชอบต่อชีวิตคน ๆ หนึ่งอย่างมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่พร้อม และรู้สึกว่าลูกคือภาระ


3. พ่อแม่ที่ไม่สามารถยอมรับความรักได้


คนกลุ่มนี้ มีความเจ็บปวดในชีวิตช่วงวัยเด็ก ทำให้พวกเขาหลีกหนี ความรัก ความใกล้ชิด เมื่อใดก็ตามที่เริ่มจะมีความรักที่ใกล้ชิด พวกเขาจะรู้สึกกลัวและหลีกหนี รวมไปถึงความรักที่ได้รับจากลูกเช่นกัน


4. พ่อแม่ที่มีบาดแผลทางจิตใจที่ไม่ได้รับการเยียวยา


คนเหล่านี้ยังคงจมอยู่กับความทุกข์​ความเจ็บปวด ไม่สามารถที่จะอยู่ในปัจจุบันกับลูก และให้ความรักความอบอุ่นกับลูกได้ พวกเขาจะทำการหลีกหนี หรือ แม้แต่รักลูกมากเกินไปในแบบที่ไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น แม่ที่โดนคนรักนอกใจและถูกทอดทิ้ง เมื่อใดก็ตามที่เธอนึกถึงเรื่องราวที่ไปสะกิดแผลของเธอ เธอก็จะระบายความเจ็บปวด โดยการทำร้ายลูก เช่น ลูกหน้าเหมือนคนที่ทิ้งเธอไป ลูกก็มักที่จะถูกหาเรื่องโดนทำโทษอยู่เสมอ หรือ ในทางตรงกันข้าม เธอก็จะปกป้องลูกของเธอมากจนเกินไป เพราะไม่อยากให้ลูกรู้สึกเจ็บปวดแบบเธอเป็นต้น



5. คนที่มีความกลัวความตาย


มีคนกลุ่มหนึ่งที่มีความกลัวความตาย (death anxiety) การมีลูกทำให้พวกเขารู้สึกว่า พวกเขากำลังแก่ และจะต้องตายในที่สุด ทำให้พวกเขารู้สึกไม่รักลูก เพราะคิดว่า ลูกเป็นส่วนที่ทำให้พวกเขาต้องตาย เป็นต้น


6. พ่อแม่ที่ใช้ลูกสร้างความฝันของตัวเอง


พ่อแม่บางคนไม่สามารถทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริงได้ เมื่อมีลูก ก็เลี้ยงดูลูกในแบบที่ตัวเองอย่างมี อย่างเป็นในชีวิต ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่เคร่งศาสนา ก็จะใส่ความเชื่อนี้ให้กับลูกด้วย ตัวเองอยากทำงานราชการ แต่ไม่สามารถทำได้ ก็ใส่ความคิดนี้ให้กับลูก และกดดันให้ลูกเป็นในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยลืมไปว่า ลูกเป็นอีกหนึ่งคนที่มีชีวิตของเขา


7. พ่อแม่ที่โหยหาความรักในวัยเด็ก


คนกลุ่มนี้ ไม่ได้รับความรักในวัยเด็ก และโหยหาความรัก เมื่อพวกเขาเป็นพ่อแม่ พวกเขาให้ความรักกับลูกและหวงลูกมาก เหมือนลูกเป็นสิ่งของที่ตัวเขาเป็นเจ้าของ ซึ่งความรักในรูปแบบนี้ เป็นความรักที่ทำให้เด็กเหล่านี้ รู้สึกอึดอัด และไม่รู้จักการแสดงความรักที่ถูกต้อง เมื่อพวกเขาโตขึ้น


8. พ่อแม่ที่มีลูกดื้อ ก้าวร้าว มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อันเนื่องมาจากวิธีการเลี้ยงดู


บ่อยครั้งที่ พฤติกรรมของลูก ทำให้พ่อแม่ต้องส่ายหัว แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของลูก เกิดมาจากวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง


ตามหลักการของ Satir การเลี้ยงลูก มีผลจากรุ่นสู่รุ่น ครอบครัวเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการพัฒนามนุษย์คนหนึ่งให้เติบโตเป็นคนที่มีสภาพจิตใจแข็งแรง สมบูรณ์ ที่จะดำเนินชีวิตของเขาได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในแบบของเขาเองนะคะ



สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ประวัติผู้เขียน : อังคณา เกิดทองมี ศึกษาด้านศิลปศาศตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (B.Eng.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, และ Diploma of International E-Business, Hove College, Brighton, UK มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งวิศวกรในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขั้นนำของโลกมากกว่า 5 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทด้าน Data Science และเขียนบทความด้านจิตวิทยาให้กับบริษัท iStrong

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page