top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 เทคนิคดูแลใจในยามเหงา


เมื่อพูดถึง ‘ความเหงา’ หลายคนอาจจะนึกเป็นภาพของคนที่นั่งอยู่คนเดียวในห้องสี่เหลี่ยมที่ดูโดดเดี่ยว แต่จริง ๆ แล้วความรู้สึกเหงานั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการต้องอยู่คนเดียวเสมอไปหรอกนะคะ ไม่เช่นนั้น ก็คงจะไม่มีปรากฏการณ์ของคนเหงาที่เกิดความรู้สึกเหงาทั้ง ๆ ที่ก็นั่งอยู่ในห้องที่มีผู้คนอยู่รายล้อมเยอะแยะมากมาย หรือบางคนไปไกลกว่านั้นคือ รู้สึกเหงาทั้ง ๆ ที่ก็มีคนคุยด้วยเพราะภายในใจมันรู้สึกว่างเปล่าไปหมด ซึ่งคนที่รู้สึกเหงาจนรู้สึกเหมือนข้างในตัวเองมันว่างเปล่าไปหมดอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิตแล้วนะคะ


หากคุณเริ่มเหงาจนภายในใจมันว่างเปล่า สิ่งที่ควรทำมีดังต่อไปนี้


1. สแกนปัญหาสุขภาพจิตของตัวเอง


คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานนาน ๆ แม้ว่าตอนซื้อมาใหม่ ๆ มันยังใช้งานได้ดี แต่พอเวลาผ่านไป เราดาวน์โหลดหรือดูข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ไปเยอะ ๆ คอมพิวเตอร์ก็อาจจะมีโอกาสติดไวรัสได้ สุขภาพใจของคนเราก็อาจเป็นเช่นนั้นได้เหมือนกันค่ะ ในแต่ละวัน เราต้องรับข้อมูลข่าวสารและพบเจอกับผู้คนเหตุการณ์จำนวนมากมายทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ทำให้สุขภาพใจเรามีโอกาสได้รับความหม่นหมองได้ เมื่อจิตใจมันเริ่มหม่นหมองเกินไปแล้ว ก็คงต้องสแกนปัญหาสุขภาพจิตบ้างได้แล้วค่ะ ว่าเรากำลังเผชิญอยู่กับภาวะทางสุขภาพจิตอยู่หรือไม่ ด้วยการหาแบบคัดกรองสุขภาพจิตมาทำ เช่น แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า ฯลฯ


2. ลองจัดการกับความเหงาด้วยตัวเอง


วิธีการรับมือกับความเหงามีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่ละรูปแบบก็จะให้ผลที่ต่างกันไป เช่น การดูหนังฟังเพลง หรือการ hang out กับเพื่อน ๆ ก็จะมีลักษณะเป็น “quick fix” คือ ทำง่ายได้ผลไว แต่มีข้อจำกัดคือมันไม่ยั่งยืน เพราะมีโอกาสที่จะกลับมาเหงาได้อีกหากหนัง เพลง หรือเพื่อน ไม่ได้อยู่กับเราแล้ว การรับมือกับความเหงาที่ยั่งยืนกว่าก็คือ การฝึกให้ตัวเองอยู่กับปัจจุบันให้เป็น


ซึ่งการอยู่กับปัจจุบันเป็นจะช่วยให้เราสามารถอยู่กับตัวเองได้ ไม่เอาใจไปจมปรักหมกมุ่นอยู่กับอดีต และไม่ปล่อยใจให้ลอยฟุ้งซ่านไปอยู่กับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เมื่อเราอยู่กับปัจจุบัน เราจะอยู่กับสิ่งตรงหน้าได้มากขึ้น โฟกัสได้มากขึ้น มีสติมากขึ้น และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เมื่อสุขภาพจิตของเราดีขึ้น เราก็จะทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ได้ดีขึ้น รู้สึกเป็นสุขได้มากขึ้น เช่น ถ้าเรากำลังปลูกต้นไม้แล้วเราสนุกกับการสัมผัสดิน มองสีของใบไม้ สังเกตว่าส่วนไหนของต้นไม้ที่กำลังงอกขึ้นใหม่ แสดงว่าเรากำลังอยู่กับปัจจุบัน แต่ถ้าเราปลูกต้นไม้แต่ใจเราคิดแต่เรื่องอื่นในหัว เราก็จะไม่ได้อยู่กับต้นไม้ที่กำลังปลูก ซึ่งการที่เราไม่ได้โฟกัสกับสิ่งที่กำลังทำหรืออยู่ตรงหน้า มันก็เหมือนกับใจเรามันวิ่งหาอะไรก็ไม่รู้อยู่ตลอดเวลา และมันก็จะทำให้เรารู้สึกเหงา


3. พบผู้เชี่ยวชาญ


หากคุณเป็นคนที่เหงาและมักใจลอยจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน ตั้งสมาธิไม่ได้เลย คิดงานไม่ออก หรืออยู่คนเดียวแล้วมักคิดฟุ้งซ่านไปในทางลบ เช่น คิดอยากทำร้ายตัวเอง อยากจะหนีความเหงาด้วยการจบชีวิตของตัวเองลง เหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณคงไม่สามารถรับมือกับความรู้สึกของตัวเองด้วยตัวคุณเองแล้วค่ะ ถึงเวลาที่ต้องมองหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการเยียวยาหัวใจของตัวเองอย่างจริงจังแล้ว คล้ายกับเวลาที่เรารู้สึกปวดเมื่อยร่างกาย การแก้ไขแบบรวดเร็วก็คือไปพบแพทย์เพื่อรับยารักษา ไปพบนักกายภาพบำบัดหรือหมอนวดแผนไทยเพื่อบรรเทาอาการ ถ้าหากคุณเหงาจนปวดใจไปหมดก็ต้องไปพบจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักให้คำปรึกษา เพื่อรับ treatment มาเยียวยาอาการทางใจค่ะ


4. ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย


บางครั้งความเหงาก็มาคู่กับความรู้สึกไม่สดชื่น กิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นข้ามาได้ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เช่น มีสารความสุขหลั่งออกมามากขึ้นขณะออกกำลังกาย


นอกจากนั้น การออกกำลังกายยังช่วยให้คุณจำเป็นต้องโฟกัสมากขึ้น เช่น ถ้าคุณวิ่งอยู่ หากคุณใจลอยก็อาจจะเผลอเหยียบหรือสะดุดสิ่งของล้มลงได้ หรือหากคุณตีสวอชแล้วคุณใจลอยไม่มองลูก คุณก็จะตีไม่โดน ทั้งนี้ ก็ไม่ได้มีแค่การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเท่านั้นนะคะ แต่ยังรวมไปถึงการขยับเคลื่อนไหวร่างกายในทุก ๆ รูปแบบ เช่น ปลูกต้นไม้ หรือบางคนที่ชอบไปทางศาสนา การเดินจงกรมก็ช่วยให้หายเหงาได้เหมือนกันค่ะ


5. อนุญาตให้ตัวเองเหงา


หลายคนจะไม่ชอบใจเลยที่ตัวเองมีอารมณ์ทางลบเกิดขึ้น ไม่เฉพาะแค่เหงาแต่อาจจะความรู้สึกอื่น ๆ ด้วย เช่น โกรธ หงุดหงิด เบื่อหน่าย ฯลฯ และก็จะมีหลายคนที่พอตัวเองมีอารมณ์ทางลบเกิดขึ้นแล้วอยากให้มันหายไป ณ บัดนาว(เดี๋ยวนี้เลย) ซึ่งยิ่งไปบอกให้ตัวเองหยุดเหงา พอทำไม่ได้ก็เกิดความรู้สึกเครียดตามมา และอาจจะรู้สึกไม่ชอบตัวเองไปได้


ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนก็คือ ชีวิตที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีแต่ความสุข ยิ้ม ร่าเริง อยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่มีใครสักคนบนโลกใบนี้สามารถเป็นแบบนั้นได้แม้แต่จิตแพทย์ระดับโลกก็ยังต้องเคยผ่านความรู้สึกเหงากันมาบ้าง การอนุญาตให้ตัวเองเป็นมนุษย์ธรรมดาที่มีทั้งอารมณ์ทางบวกและทางลบ ไม่คาดคั้นตัวเองให้ต้องสดใสร่าเริงตลอดเวลา ก็จะช่วยให้เรามีความรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น เป็นมิตรกับตัวเองมากขึ้น และถ้าเราชอบตัวเองมากขึ้น เราก็จะไม่รู้สึกอยากวิ่งหนีตัวเอง เราจะอยู่กับตัวเองได้โดยที่เหงาน้อยลง


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความที่เกี่ยวข้อง


 

ประวัติผู้เขียน : นิลุบล สุขวณิช (เฟิร์น)

ปริญญาโทสาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาตรีสาขาจิตวิทยา (คลินิก) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจจุบันเป็น นักจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ประสบการณ์การทำงาน 8 ปี)

และเป็นนักเขียนของ iSTRONG




facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page