top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ชมลูกอย่างไรให้เป็นเด็กที่มี high self-esteem

การเลี้ยงลูก เป็นหัวข้อที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ วิธีการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่มี high self-esteem แต่อย่างไรนักจิตวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่า self-esteem ที่มากจนเกินไปก็จะทำให้เด็กเป็น narcissist ได้


A mother and her child.

คำชื่นชมจากพ่อแม่ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการเพิ่ม self-esteem พ่อแม่แสดงความชื่นชม เพื่อให้ลูกมีกำลังใจ และเป็นการแสดงความรักในรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่ลูกก็จะพยายามมากขึ้นเพื่อให้ได้รับคำชม การยอมรับจากพ่อกับแม่


Eddie Brammelman นักวิจัยจาก University of Amsterdam ได้ทำการศึกษา ความซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างการชื่นชม และ ผลที่จะทำให้เด็กเป็น narcisist และวิธีการเลี้ยงดูที่จะช่วยให้เด็กมี self-esteem ในระดับที่เหมาะสม



self-esteem คือ ความรู้สึกในการชื่นชอบตัวเอง ซึ่งจะภูมิต้านทานอย่างดี ต่อสุขภาพจิต ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน Narcissism ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคนๆ นั้น ทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย เพราะตั้งความคาดหวังต่อสิ่งต่างๆ ไว้สูง คิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่นๆ ไม่ยอมรับคำวิพากวิจารณ์ ส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว เพราะ คนที่เป็น narcissist ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่ตนเองต้องการเท่านั้น ชอบการแข่งขัน และผู้ชนะจะต้องมีคนเดียว นั่นก็คือ ฉัน


Narcissism ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่วนหนึ่ง และส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู เช่น เด็กที่ได้รับคำชื่นชมจากพ่อกับแม่มากจนเกินไป บอกกับลูกว่า ลูกดีกว่าเด็กคนอื่นๆ ปฏิบัติต่อเขาแตกต่างจากคนอื่น และบอกกับเขาว่า เขาควรที่จะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าคนอื่นและแตกต่างจากคนอื่นเป็นต้น


เด็กคนนี้เมื่ออยู่กับกลุ่มเพื่อที่โรงเรียน พวกเขาจะตั้งใจทำในทุกสิ่งทุกอย่าง และ ต้องการเป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจ พวกเขามักมีอารมณ์ที่ไม่มั่นคง รู้สึกโกรธได้ง่าย เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ


เมื่อพวกเขาโตขึ้น พวกเขาเหล่านี้ก็มักจะเป็นคนที่ชอบการแข่งขัน ทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และมีคนชื่นชมเขาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอันที่จริงแล้วควรที่จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ข้อเสียก็คือ พวกเขามักจะคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าเขา โกรธเมื่อโดนวิพากวิจารณ์ ทำให้ยากต่อการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น และ คิดว่าตัวเองคู่ควรกับสิ่งที่ดีกว่า ควรที่จะได้มากกว่าคนอื่นอยู่เสมอ


พ่อกับแม่ มักจะชื่นชม เด็กบางคนที่มี low self-esteem เพื่อให้กำลังใจให้พวกเขากล้าที่จะลงมือทำ เช่น ลูกเป็นคนเก่ง ลูกทำได้แน่นอน ซึ่งหากเด็กคนนั้นได้รับคำชมแบบนี้มากจนเกินไป แทนที่พวกเขาจะมี self-esteem ที่สูงขึ้น กลับกลายเป็นต่ำลง และ กลายเป็น คนประเภท narcissism กล่าวคือ บ่อยครั้งพวกเขาจะมีความกังวล ถ้าพวกเขาไม่สามารถทำได้อย่างที่คนอื่นขาดหวัง ไม่ได้เป็นคนเก่ง เหมือนที่พ่อกับแม่พูด ทำให้ในใจลึกๆ ก็ไม่ได้ชอบในความสามารถของตัวเอง



A mother and her daughter in a park.

วิธีการชื่นชมที่ถูกต้องก็คือ ให้พยายามชื่นชมลูก ในส่วนของพฤติกรรม มากกว่ามุ่งเน้นไปที่ตัวเขา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกได้คะแนนสอบดี แทนที่เราจะแค่ชมว่า ลูกเก่งจังเลย ให้ชมว่า ดีจังเลยที่ลูกได้คะแนนเยอะ แม่ชื่นชมที่ลูกตั้งใจเรียน ตั้งใจทำการบ้าน และทบทวนบทเรียนนะคะ เป็นต้น ซึ่งด้วยวิธีการนี้ จะทำให้ลูกรู้ว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจาก ความตั้งใจของเขา และในการที่จะประสบความสำเร็จ เขาจะต้องตั้งใจ เป็นต้น


อย่างไรก็ตามหากคุณรู้สึกว่า ที่ผ่านมาคุณอาจจะกำลังชมลูกผิดวิธี ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะ self-esteem ก็สามารถที่จะลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลาเช่นกัน


เราสามารถที่จะแสดงความรักกับลูกได้ ด้วยการใช้เวลากับลูก เล่นกัยลูก แสดงความรักโดยการสัมผัส การกอด และทำให้เขารู้ว่า เรารักเขาแบบไม่มีเงื่อนไข สอนให้ลูกชอบตัวเองในแบบที่เขาเป็น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก คุยกับลูกเกี่ยวกับ สิ่งที่เราให้คุณค่า เช่น ความซื่อสัตย์​ ความพยายาม และสอนว่า มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน


หวังว่าบทความจิตวิทยาบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครองไม่มากก็น้อยนะคะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page