top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ควรหย่าดีไหม? และเมื่อไหร่ที่ควรไปพบนักจิตวิทยาด้านคู่สมรส



ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบเหมือนอย่างในภาพวาดของเด็ก ที่มีพ่อแม่ลูกอยู่กันครบ สามีภรรยาอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า น่าจะเป็นภาพที่หลายคนปรารถนามัน แต่การรักษาความสัมพันธ์นั้นไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างที่เห็นในภาพวาด ในการ์ตูน Disney หรือในซีรีส์เกาหลีอบอุ่นหัวใจ โดยเฉพาะการมีชีวิตคู่นั้น ความรักเพียงอย่างเดียวไม่พอเพราะต้องอาศัยปัจจัยมากมายเพื่อประคับประคองกันไป ทำให้หลายคนที่เริ่มรู้สึกตัวว่าชีวิตคู่ของตัวเองเริ่มมีปัญหามากขึ้นทุกวัน เริ่มเกิดความคำถามขึ้นมาว่า “ควรหย่าดีไหม?” และต้องเผชิญกับความรู้สึกสับสน กระอักกระอ่วนใจ กลับตัวไม่ได้ ไปต่อก็ไม่รู้ว่าจะมีความสุขหรือเปล่า บทความนี้จึงอยากจะมาชวนคนที่มีคู่มาทบทวนสำรวจตัวเองไปด้วยกัน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังคิดถึงการหย่าหรือเลิกรากับคู่ชีวิต สิ่งที่คุณควรทบทวนดูให้ดีก่อนตัดสินใจก็คือ


1. การเงิน


การหย่าร้างหรือเลิกกันมีราคาที่ต้องจ่ายซึ่งนอกจากจะต้องเจ็บปวดแล้ว ราคาที่เป็นทรัพย์สินเงินทองจริง ๆ ก็อาจเกิดขึ้นตามมาด้วย หากการหย่าร้างเกิดขึ้นแบบสมัครใจก็อาจจะไม่มีปัญหาเรื่องการฟ้องร้อง แต่หากต้องมีการฟ้องหย่าก็อาจจะต้องเตรียมใจรับว่าคุณจะต้องเสียเงินอย่างแน่นอนและอาจเป็นจำนวนมากด้วย นอกจากนั้น สำหรับบางคนที่คู่ชีวิตเคยดูแลจัดการค่าใช้จ่ายภายในบ้านหรือแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ก็อาจจะต้องประเมินว่าหลังจากหย่าร้างแล้วตัวเองจะต้องมีภาระอะไรเพิ่มขึ้นมาบ้างเพื่อเตรียมรับมันเอาไว้ล่วงหน้า


2. ลูก


ตามอุดมคติทางสังคมนั้น ลูกเปรียบเสมือนโซ่ทองคล้องใจ หลายคู่พยายามประคับประคองครอบครัวเอาไว้ให้สมบูรณ์เพราะเห็นแก่ลูก แต่สิ่งที่หลายคนมักจะพลาดไปก็คือการพยายามรักษาครอบครัวที่มันแตกสลายไปแล้วให้คงอยู่เพราะอาจจะกังวลว่าลูกจะกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาหรือเปล่า ซึ่งผลที่ตามมาอาจเลวร้ายไปถึงขั้นเกิดความรุนแรงในครอบครัว เช่น ทะเลาะกันเสียงดัง ทำร้ายร่างกายจิตใจกัน อยู่ด้วยกันแต่ไม่พูดคุยกันเลยทำให้บรรยากาศในครอบครัวเกิดความอึดอัด หรือมีพฤติกรรมการดื่มสุรามากขึ้นเพราะต้องการลดความเครียดให้กับตัวเอง ดังนั้น หากคู่ชีวิตมีลูกด้วยกันแล้ว อาจจะต้องคาดการณ์ไปถึงวันข้างหน้าให้มากขึ้นอีกสักหน่อย เช่น หากบรรยากาศในครอบครัวมันเลวร้ายแบบนี้ทุกวัน สภาพจิตใจของลูกจะเป็นอย่างไร หรือหากตัดสินใจว่าจะหย่าร้างจริง ๆ ควรจะบริหารจัดการกับหน้าที่ความเป็นพ่อแม่อย่างไรให้ดีต่อลูกมากที่สุด ในขณะที่ตัวพ่อและแม่เองก็ไม่ต้องแบกรับความเครียดมากเกินไป เพราะหากพ่อแม่


3. ตัวคุณเอง


แม้ว่าจะมีเรื่องให้ต้องคิดมากมาย แต่คุณไม่ควรที่จะละเลยตัวเอง เพราะไม่ว่าการหย่าร้างจะเกิดขึ้นหรือไม่ คุณก็ต้องเผชิญกับความเครียดมากมายโดยเฉพาะในช่วงที่ต้องตัดสินใจว่าคุณจะไปต่อหรือพอแค่นี้ การดูแลตัวเองจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยคุณอาจจะใช้วิธีการอยู่กับตัวเองและคุยกับตัวเองสักพักเพื่อถามใจตัวเองว่าคุณต้องการหย่าร้างจริงไหม และหากมันเกิดขึ้นคุณพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เนื่องจากหลังจากมีการหย่าร้างเกิดขึ้นคุณอาจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของคุณเป็นอย่างมาก และคุณอาจมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้น หากไม่ได้เตรียมใจรับมือกับผลกระทบต่าง ๆ ที่จะติดตามมาหลังตัดสินใจหย่าร้าง คุณอาจจะผ่านช่วงเวลาอันโหดร้ายไปได้อย่างยากลำบาก เพราะคุณไม่เคยซักซ้อมวางแผนรับมือมาก่อนเลย

เมื่อไหร่ที่ควรลองไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านคู่สมรส?

ผู้เชี่ยวชาญด้านคู่สมรส อาจจะหมายถึงจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่มีความสามารถในการทำจิตบำบัดโดยเฉพาะจิตบำบัดครอบครัว (Family Therapy) หรือนักบำบัด (Therapist) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านความรักความสัมพันธ์รวมถึงการบำบัดคู่สมรส เพื่อหาตัวช่วยในการลองประคับประคองครอบครัวหรือช่วยเตรียมใจหากมีการหย่าร้างเกิดขึ้นจริง ๆ ซึ่งคุณอาจพิจารณาด้วยตัวเองก่อนก็ได้ว่า เมื่อไหร่ที่คุณควรลองไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านคู่สมรสผ่านการสำรวจตัวเอง ดังนี้


1. เมื่อเกิดสถานการณ์แบบ “ยิ่งคบนานยิ่งห่างเหิน”


เป็นธรรมดาของคนเราที่ยิ่งเมื่อเติบโตขึ้นก็ยิ่งจะมีภารกิจในชีวิตมากมายให้ต้องทำ ส่งผลให้อาจจะมีเวลาใกล้ชิดหรือหวานชื่นกันน้อยลง โดยคุณเองก็สับสนว่าคุณควรจะเลือกเส้นทางตามเป้าหมายของตัวเองหรือควรจะประคับประคองชีวิตคู่เอาไว้ เพราะลึก ๆ คุณก็ไม่มั่นใจว่าคุณกับคู่ชีวิตยังรักกันอยู่หรือไม่


2. เมื่อพบว่าคุณมักกระทบกระทั่งกันเพราะเรื่องการเงิน


ปฏิเสธไม่ได้ว่าคู่รักหลายคู่กระทบกระทั่งกันด้วยเรื่องเงินอันเกิดมาจากความเครียดเกี่ยวกับรายจ่ายที่มากกว่ารายรับ หรือเริ่มมีหนี้สินและชีวิตลำบากมากขึ้น ทำให้คุณเกิดความลังเลว่าคุณควรจะจบความสัมพันธ์ดีหรือไม่ เพราะอาจจะแบกรับภาระที่เกิดจากปัญหาการเงินไม่ไหวแล้ว แต่หากคุณตัดสินใจตามลำพังก็อาจจะมีอารมณ์โกรธ ขุ่นเคือง ฯลฯ ซึ่งบางครั้งมันอาจเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบที่คุณอาจจะต้องเสียใจภายหลังหากด่วนตัดสินใจหย่าร้างไปเพียงเพราะใช้อารมณ์นำทาง


3. เมื่อมีการนอกใจเกิดขึ้น


การนอกใจเป็นสาเหตุให้ความรู้สึกเชื่อใจอีกฝ่ายถูกทำลายลง เพราะการซ่อนใครอีกคนเอาไว้มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองถูกทรยศหักหลัง หลายคนเกิดความสับสนเพราะมีอารมณ์ความรู้สึกหลายอย่างปนกันไป เช่น โกรธ ผิดหวัง เสียใจ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะไม่อยากเสียความสัมพันธ์ไปเพราะเหตุผลส่วนตัวของแต่ละบุคคล เช่น “เชื่อว่าคน ๆ นี้คือ rare item หากเลิกกันไปก็ไม่รู้ว่าจะเจอคนแบบนี้อีกหรือเปล่า” “ต้องพึ่งพาด้านการเงินจากอีกฝ่าย” เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าในท้ายที่สุดแล้วคุณจะตัดสินใจหย่าร้างหรือไม่ มันก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวว่าการตัดสินใจแบบไหนคือการตัดสินใจที่ดีที่สุด เพราะบริบทและรายละเอียดชีวิตคู่ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป และ How to ต่าง ๆ ก็อาจจะไม่สามารถช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายหรือสามารถก้าวข้ามความรู้สึกลบ ๆ ที่คุณต้องเผชิญได้ ซึ่งหากความรู้สึกที่เกิดขึ้นมันเริ่มแย่จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ เช่น การกินการนอนหลับผิดปกติไป ความขัดแย้งขยายไปถึงบุคคลอื่นอย่างเพื่อนร่วมงานหรือลูก เริ่มมีความคิดเกี่ยวกับการตายเกิดขึ้นในหัว ซึ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตและถึงเวลาแล้วที่คุณควรไปพบผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง

[1] https://www.aarp.org/home-family/friends-family/info-2020/marriage-counseling.html

[2] https://themarriagefoundation.org/should-i-get-a-divorce-checklist/


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

ประวัติผู้เขียน

นางสาวนิลุบล สุขวณิช (เฟิร์น) การศึกษา: ปริญญาโทสาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปริญญาตรีสาขาจิตวิทยา (คลินิก) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การทำงาน: พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน นักจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

และเป็นนักเขียนของ istrong


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page