top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ทำไมดูเป็นคนดีจัง? เป็นคนดีแบบไหนถึงจะดีต่อใจตัวเองและคนอื่น

คุณเคยรู้จักกับคนที่ดูเป็นคนดีแต่พอใกล้ชิดกันไปนาน ๆ แล้วกลับรู้สึกอึดอัดหรือรู้สึกแปลก ๆ บ้างไหมคะ? หรือในทางกลับกัน คุณรู้สึกว่าตัวเองก็เป็นคนดีคนหนึ่งแต่ทำไมถึงมีปัญหาความสัมพันธ์บ่อยจังจนท้อใจ คำว่า “คนดี” ถ้าหากใช้คำภาษาไทยมาอธิบายก็อาจจะทำให้แยกรายละเอียดได้ไม่ชัดเท่าไหร่เพราะมีคำศัพท์น้อยกว่าในภาษาอังกฤษ


ซึ่งคำว่า “ดี” นั้นมีคำศัพท์อยู่หลายคำ เช่น good หรือ nice ซึ่งแปลว่า “ดี” เหมือนกันแต่รายละเอียดไม่เหมือนกัน โดยจากบทความที่ผู้เขียนได้ไปค้นคว้ามาพบว่าการเป็นคนดีแบบ “good” จะมีอะไรที่มากกว่าเป็นคนดีแบบ “nice” และจะช่วยให้ความสัมพันธ์ยั่งยืนมากกว่าด้วย โดยเหตุผลที่เป็นเช่นนั้นมีดังนี้


1. คนดีแบบ Good จะให้ความสำคัญกับความถูกต้องจริงแท้ ขณะที่แบบ Nice จะให้ความสำคัญกับการทำให้คนอื่นพึงพอใจ

หัวใจสำคัญของ Good คือการเน้นในเรื่องของความซื่อสัตย์และจริงแท้แม้ว่ามันอาจจะทำให้มีความไม่สบายใจเกิดขึ้นบ้าง ขณะเดียวกันก็จะแคร์ด้วยกว่าคนอื่นจะรู้สึกยังไงหรือต้องการอะไร ไม่ใช่เพียงแค่สื่อสารในสิ่งที่คนอื่นอยากจะได้ยิน แต่จะสื่อสารด้วยความจริงใจและมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเองด้วย ตรงข้ามกัน Nice จะเป็นการทำดีโดยปฏิเสธความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง เช่น กลัวความขัดแย้งจึงหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้าไปแบบตรง ๆ 


2. คนดีแบบ Good จะให้ความสำคัญกับระยะยาว ส่วนแบบ Nice จะมุ้งเน้นที่ระยะสั้น

การทำดีแบบ Nice จะมีลักษณะเป็นเหมือน “quick fixes” เพื่อไม่ให้มีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นหรือเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายใจ แต่แบบ Good จะให้ความสำคัญกับการรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาวมากกว่าจึงเลือกที่จะคุยกันหรือให้ข้อเสนอแนะในทางที่สร้างสรรค์ รวมไปถึงกำหนดขอบเขต (boundaries) ส่วนการเลี่ยงที่จะไม่สื่อสารกันนั้นมันอาจจะช่วยให้ไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ณ ตอนนั้น แต่ในระยะยาวมันจะทำให้เกิดความตึงเครียดสะสม


3. คนดีแบบ Good จะทำให้เกิดความเคารพ (respect) ส่วนแบบ Nice จะนำไปสู่ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์

คนดีแบบ Good ไม่ได้หมายถึงเป็นคนดีอย่างไร้ที่ติแต่จะเป็นคนที่ซื่อสัตย์ต่อข้อบกพร่องของตัวเอง ขอโทษอย่างจริงใจ และทำอะไรที่แสดงถึงความใส่ใจและรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเคารพและความไว้วางใจกัน ตรงข้ามกับ Nice ที่มักจะพยายามมากไปเพื่อให้อีกฝ่ายพึงพอใจจนในที่สุดตัวเองก็รู้สึกเหนื่อยล้า


4. คนดีแบบ Good จะส่งเสริมให้เกิดการเติบโตงอกงามในขณะแบบ Nice ไม่ทำให้เกิด คนดีแบบ Good จะให้ความช่วยเหลือ ให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ ช่วย “empower” อีกฝ่าย ส่วนแบบ Nice จะพยายามทำให้อีกฝ่ายได้รับความสะดวกสบายเพราะไม่ได้มองว่าอุปสรรคมันคือความท้าทายที่มันช่วยให้อีกฝ่ายเติบโตได้


อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็เชื่อว่าลึก ๆ แล้วทุกคนก็อยากจะเป็นคนดีในสายตาของคนอื่นด้วย หลายคนจึงพยายามที่จะทำตัวให้ “Nice” ด้วยการทำให้คนอื่นพึงพอใจซึ่งอาจจะมีสาเหตุปัจจัยอยู่ในรายละเอียดเส้นทางของการเติบโตส่วนบุคคล แต่หากคุณพบว่าการพยายามที่จะ Nice มันเริ่มบั่นทอนจิตใจตัวเองและไม่ได้ช่วยให้ความสัมพันธ์มันยั่งยืนขึ้นมาได้เลย คุณอาจจะต้องลดความ Nice ลงด้วยวิธีดังนี้


1. ช้าลงเพื่อให้ตัวเองตระหนักว่าที่จริงแล้วคุณรู้สึกยังไง

2. ฝึกปฏิเสธ

3. ใช้ความโกรธของตัวเองให้เป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจความต้องการของตัวเอง และฝึกสื่อสารออกไปให้คนอื่นรู้ว่าคุณต้องการอะไร

4. ฝึกเป็นคนที่จริงใจมากขึ้น เช่น ถ้ารู้สึกไม่โอเคก็ควรที่จะบอกออกไปแทนที่จะพูดว่า “ไม่เป็นไร”

5. ใช้อาการของตัวเองเป็นตัวจับ “red flag” ว่าตอนนี้ไม่ไหวแล้ว อย่าพยายามซ่อนปัญหาไว้ใต้พรม เมื่อคุณมีพฤติกรรมแบบ “passive-aggressive” เช่น ใช้คำพูดประชดประชัน หรือมีอาการเหนื่อยล้าหมดไฟ ก็นำอาการเหล่านั้นมาใช้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าคุณอาจจะเก็บกดความต้องการของตัวเองมากไป มันอาจจะถึงเวลาต้องเลิกพูดคำว่าขอโทษและบอกออกไปว่าคุณต้องการอะไร

6. สู้กลับเสียงวิจารณ์ (ในหัวของตัวเอง) เวลาที่คุณลองทำสิ่งต่าง ๆ ด้านบนมันอาจจะทำให้คุณเกิดความรู้สึกผิด วิตกกังวลว่าจะมีเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่งมันเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณเริ่มต้นที่จะทำอะไรที่แตกต่างไปจากแพทเทิร์นเดิม ๆ ที่ตัวเองเคยทำ หากมันเกิดขึ้นขอให้คุณสูดหายใจลึก ๆ ตบหลังตัวเองเบา ๆ แล้วไปข้างหน้าต่อ 


แต่ถ้าหากคุณลองทำมาทั้งหมดก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้นได้เลย ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคุณมีบางอย่างที่อยู่ลึกลงไปข้างในจิตใจที่ไม่สามารถสะสางได้ด้วยตัวเอง หรือคุณพอจะรู้ว่าตัวเองมีบาดแผลทางใจที่ทำให้คุณไม่อาจที่จะเลิกเป็นคนดีแบบ Nice ที่พยายามเอาอกเอาใจคนอื่น (people pleaser) จนส่งผลให้คุณมีแต่ความสัมพันธ์ที่ไม่ยั่งยืนซึ่งคุณเองก็ไม่อยากจะเป็นแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว ก็สามารถปรึกษาจิตแพทย์/นักจิตวิทยา/นักจิตบำบัดได้นะคะ 

 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความที่เกี่ยวข้อง 


อ้างอิง:

[1] Why Being ‘Good’ Outweighs Being ‘Nice’ In Lasting Relationships—By A Psychologist. Retrieved from https://www.forbes.com/sites/traversmark/2024/10/30/why-being-good-outweighs-being-nice-in-lasting-relationships-by-a-psychologist/

 

ประวัติผู้เขียน

นิลุบล สุขวณิช (เฟิร์น) มีประสบการณ์ทำงานเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยและเป็นวิทยากรเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต/การพัฒนาตนเองให้แก่นักศึกษาเป็นเวลา 11 ปี ปัจจุบันเป็นแม่บ้านในอเมริกาที่มีความสนใจเกี่ยวกับ childhood trauma และยังคงมีความฝันที่จะสื่อสารกับสังคมให้เกิดการตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต 

Nilubon Sukawanich (Fern) has work experiences as a counseling psychologist and speaker in university for 11 years. Currently occupation is a housewife in USA who keep on learning about childhood trauma and want to communicate to people about mental health problems awareness. 


Commentaires


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page