top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

#เลิกเป็นคนดีแล้วจะมีความสุข 6 เทคนิคจิตวิทยาเป็นตัวของตัวเองอย่างไรให้มีความสุข



“คนดี” ใคร ๆ ก็ต้องการจะเป็น เพราะ “คนดี” มักเป็นที่รักของคนรอบข้าง ได้รับการชื่นชม ต้อนรับ แต่ “คนดี” กับ “คนมีความสุข” นั้นไม่ได้เป็นคน ๆ เดียวกันเสมอไป จึงทำให้เกิด #เลิกเป็นคนดีแล้วจะมีความสุข เพราะคนดีส่วนใหญ่มักจะไม่มีความสุขค่ะ


เนื่องจากคนดีมักจะถูกคาดหวังว่าต้องดีสม่ำเสมอ ตลอดเวลา ต้องช่วยเหลือทุกคน จนกลายเป็นเดอะแบก ต้องรับความกดดันจากสังคมในการรักษาภาพลักษณ์ “คนดี” และบ่อยครั้งก็ต้องกลับมาคิดจนนอนไม่หลับว่าที่ทำอยู่เรามีความสุขจริง ๆ หรือไม่ เพราะฉะนั้นแล้วถ้าเป็นคนดีแล้วไม่มีความสุข ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาได้แนะนำว่า “เลิกเป็นคนดีแล้วจะมีความสุข” ค่ะ


ซึ่งความหมายของการเลิกเป็นคนดีในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงให้เราทำตัวร้าย ๆ ทำเรื่องไม่ดี แต่หมายถึงให้เป็นตัวของตัวเอง ทำในสิ่งที่อยากทำ ไม่ต้องฝืนทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ โดยนักจิตวิทยาก็ได้แนะนำ 6 เทคนิคจิตวิทยาในการเลิกเป็นคนดีแล้วมาเป็นตัวของตัวเองอย่างมีความสุขกันค่ะ


1. เลิกโกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจ


บ่อยครั้งที่เรามักจะถนอมน้ำใจคนอื่นด้วยการพูดว่า “ไม่เป็นไร” ทั้ง ๆ ที่ในใจร้องไห้ และบ่อยครั้งที่เราไม่กล้าพูดความรู้สึกที่แท้จริงเพราะห่วงความรู้สึกคนอื่น ทั้ง ๆ ที่คนที่รู้สึกแย่ก็คือตัวเราเอง ดังนั้น เทคนิคเลิกเป็นคนดีแล้วจะมีความสุขเทคนิคแรก


ก็คือ เลิกโกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจ เปลี่ยนมาเป็นสื่อสารตามความรู้สึกด้วยเทคนิคจิตวิทยาในการสื่อสารแบบ I massage เช่น ถ้าโดนโยนงาน จากเดิมที่เราจะพูดว่า “ไม่เป็นไร” เปลี่ยนเป็น ฉันจะรู้สึกดีขึ้นถ้าเราช่วยกันทำงาน หรือฉันช่วยเธอทำงานได้นะ แต่เราต้องแบ่งกันทำงาน เป็นต้น


2. เลิกสนใจว่าคนรอบข้างคิดกับเราอย่างไร


หลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ ทีที่เรามีความกังวลว่า คนอื่นจะคิดกับเราอย่างไร หรือถ้าเราทำแบบที่เราอยากทำจริง ๆ แล้วคนอื่นจะพูดถึงเราอย่างไร ทำให้เรากดดัน เครียด กังวลใจ และต้องรักษาภาพลักษณ์ตามที่คนอื่นคาดหวัง ว่าเป็นคนดี เมื่อเราทำเช่นนี้บ่อยครั้งเขาความรู้สึกแย่ ๆ จะกัดกินใจเราเอง


ดังเช่นที่เหล่าไอดอล หรือศิลปินดัง ๆ มักจะประสบพบเจอ และนำไปสู่โรคทางจิตเวช หรือการทำร้ายตนเอง ดังนั้นแล้ว เพื่อให้ชีวิตมีความสุขตามที่ควรจะเป็น เราต้องลดความสนใจในความคิดของคนอื่นลงบ้าง แล้วหันมาใส่ใจตัวเองว่าเราคิดอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ รู้สึกอย่างไรหากเราเลือกที่จะลงมือทำเช่นนี้แทน


3. เลิกทำในสิ่งที่ไม่ใช่เรา


หากการทำตามความคาดหวังของคนอื่นเป็นภาระกับความรู้สึกของเรา เช่น เรียนตามใจแม่ สอบเข้าทำงานตามใจพ่อ แต่งตัวตามใจแฟน ต้องมีของแบรนด์เนมเพื่อให้เข้ากลุ่มเพื่อน แล้วเรารู้สึกว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นมันไม่ใช่เราเลย


เราอยากจะเข้าเรียนในสายที่เราอยากเรียน อยากจะทำงานตามความฝัน อยากจะแต่งตัวตามสไตล์ที่เราเป็น ถ้าเรารู้ว่าตัวตนของเราเป็นอย่างไรแล้วละก็อย่ารีรอที่จะเป็น “ตัวของตัวเอง” เลยค่ะ เพราะสิ่งที่เราเก่งที่สุด ถนัดที่สุด และรู้สึกดีที่สุด ก็คือการเป็นตัวของตัวเอง


4. ทำดีที่สุด แต่อย่าฝืนเพื่อให้ใครพอใจ


เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “เต็มที่กับชีวิต” เพราะมีแนวคิดว่าเรามีชีวิตเดียว เมื่อลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วควรไปให้สุด ไม่ควรทำอะไรครึ่ง ๆ กลาง ๆ แต่มีข้อแม้เพิ่มเติมว่า การทำเต็มที่อย่างดีที่สุดนั้น ต้องไม่ใช่การฝืนใจ หรือฝืนตัวเองเพื่อให้คนอื่นพอใจ เช่น เมื่อตอนเราเป็นเด็กเรามักจะถูกคาดหวังจากพ่อ แม่ว่าต้องเป็น No.1 ของห้อง ทั้ง ๆ ที่เราแสนจะเกลียดวิชาคำนวณ


แล้วเราก็จะถูกส่งไปเรียนพิเศษ ส่งไปติว ส่งเข้าสอบ เพื่อให้พ่อ แม่ ภูมิใจว่าลูกฉันเป็นที่ 1 แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่ต้องการเป็นที่ 1 ของใคร เราต้องการที่จะมีความสุข เราต้องการเพียงแค่เรียนให้เข้าใจ เรียนแล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะฉะนั้นแล้วขอให้ใช้ชีวิตให้ดีที่สุด แต่อย่าฝืนใช้ชีวิตเพื่อให้ใครพอใจค่ะ


5. มั่นใจว่าเรามีดี


ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เราภาคภูมิใจในตนเอง และเราจะมีความมั่นใจว่าเรามีดี เราทำได้ แม้ว่าจะได้รับความกดดันจากคนรอบข้างมากมายขนาดไหนก็ตาม เช่น ถูกเจ้านายแก้งานบ่อย ถูกลูกค้าตีงานกลับ หรือถูกเพื่อนร่วมงานวิจารณ์ในทางที่ไม่ดี


ซึ่งสิ่งเหล่านี้บั่นทอนกำลังใจเราเก่งมาก ถ้าเราไม่มีความเชื่อมมั่นในตนเองแน่นอนเลยค่ะเราจะมองภาพตัวเองติดลบ และเชื่อตามที่คนอื่นพูดกันว่าเราไม่เก่ง จนเราไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าฉายแสง แต่ถ้าเรามั่นใจในตนเอง เราจะเก็บคำวิจารณ์เหล่านั้นมาพัฒนาตนเอง เพื่อให้เราเก่งกว่าเดิม และแกร่งกว่าเดิมค่ะ


6 ยอมรับในสิ่งที่เราเป็น


กว่าที่คน ๆ หนึ่งจะเติบโตขึ้นมาย่อมถูกเลี้ยงดุมาโดยครอบครัว และถูกหล่อหลอมความคิด ความเชื่อ ค่านิยมมาจากสังคม จึงมีความยากมากที่หลายคนจะยอมรับว่า แท้จริงแล้วตัวตนของเราเป็นอย่างไร เช่น ลูกชายคนโตของครอบครัวทหารแต่มีเพศวิถีเป็น LGBTQ+ ก็ยากที่จะยอมรับตัวตนของตนเอง และยากกว่าที่จะเปิดเผยตัว


หรือเด็กที่เกิดในครอบครัวหมอ แต่ใจรักทางศิลปะ ก็ยากที่จะแสดงความตั้งใจที่จะเดินตามความฝัน เมื่อเราเองยังไม่กล้าที่จะสู้เพื่อตัวเอง ก็เป็นการยากแล้วค่ะที่คนอื่นจะยอมรับในสิ่งที่เราเป็น ดังนั้นเพื่อความสุขระยะยาวในชีวิตของเรา ขอให้เรายอมรับตัวตนของเรา และลุกขึ้นสู้เพื่อเราเอง เมื่อเรายอมรับตัวเอง คนรอบข้างก็จะยอมรับเราเช่นกันค่ะ


การเป็นคนดี เป็นสิ่งที่ดีแน่นอนค่ะ แต่ถ้าเป็นคนดีแล้วไม่มีความสุข ความดีนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์กับเราเอง เราจะกลายเป็นผู้เสียสละทุกสิ่งเพื่อประโยชน์ของคนอื่น อย่ากระนั้นเลยค่ะ ชีวิตมันสั้นเกินกว่าจะใช้ชีวิตด้วยความเครียด และเราต้องเจอปัญหาจากภายนอกมากพออยู่แล้ว ดังนั้นเรามาเลิกเป็นคนดีแล้วจะมีความสุข ด้วยการเติมความสุขให้ชีวิตด้วยการเป็นตัวของตัวเองอย่างมีความสุขกันนะคะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่



 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ :


อ้างอิง : Tokio Godo แปลโดย อาคิรา รัตนาภิรัต. (2018). เลิกเป็นคนดี แล้วจะมีความสุข. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ อมรินทร์ How to.

 

ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก อดีตนักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก บัณฑิตจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page