top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

วิธีการจัดการกับความเจ็บปวดโดยนักจิตวิทยา


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังรู้สึกเจ็บปวด และพยายามที่จะหาสาเหตุว่าเพราะอะไรเราถึงรู้สึกเจ็บปวด ขอให้คุณรู้ไว้ว่า แม้ว่าคุณจะได้คำตอบนั้นมา ก็ไม่ช่วยให้ความเจ็บปวดทางใจที่เกิดขึ้นนั้นบรรเทาลงเลย Dr.Steven Stosny นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้เขียนบทความเรื่อง The meaning of emotional pain เพื่อบอกวิธีการจัดการกับความเจ็บปวดได้อย่างน่าสนใจ และเป็นวิธีที่เป็นประโยชน์ที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้

แพรเชื่อว่าในช่วงชีวิตของคนเราทุกคน คงจะต้องผ่านปัญหา และอุปสรรค รวมถึงเรื่องราวที่สร้างความเจ็บปวดให้เรา และความเจ็บปวดนี้ ก็นำมาซึ่งพฤติกรรมหรือการกระทำอะไรหลายๆ อย่างที่ส่งผลต่อชีวิตของเราในปัจจุบัน หลายคนถึงกับหมดความสุขในการใช้ชีวิต เนื่องจากการยึดติดอยู่กับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

บางคนแสดงออกมาเป็นอารมณ์โกรธ และไม่เข้าใจว่าอันที่แท้จริงแล้ว ความโกรธที่เกิดขึ้นมาจาก สิ่งที่มากระทบจิตใจ ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด สัญชาตญาณในการต่อสู้ เพื่อป้องกันตัวเราเองเกิดขึ้น โดยการทำให้เรารู้สึกตื่นตัว และลุกขึ้นจัดการกับสิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวด และความโกรธนี้ช่วยบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวดของเราได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่ผลของการกระทำที่เกิดขึ้น กลับทำให้เราต้องเสียใจมากขึ้นกว่าเดิม

บางคนยึดความเจ็บปวดนั้นไว้ ยิ่งโฟกัสที่มัน ก็ยิ่งทำให้เจ็บปวดมากขึ้น และการที่พวกเขาทำแบบนั้น เพียงเพราะเขาไม่เข้มแข็งพอที่จะลุกขึ้นมา รับผิดชอบต่อชีวิตและความรู้สึกของตัวเอง การทำตัวน่าสงสาร โทษโชคชะตา คนอื่นหรือสิ่งอื่นต่อสิ่งที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย เราได้รับความเห็นอกเห็นใจ สงสาร ได้ความสนใจจากคนอื่น แต่มันไม่ได้ทำให้ความเจ็บปวดหายไป ซ้ำแล้ว หากเราทำเช่นนี้ซ้ำๆ ไปนานๆ ก็จะกลายเป็นอุปนิสัยที่ทำลายชีวิตของเรา ทำให้เรารู้สึกว่าไม่มี พลังอำนาจในการจัดการชีวิตด้วยตัวของตัวเอง สิ้นหวัง และนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้

มีผู้คนมากมายไม่ได้ตระหนักถึงสัจธรรมของโลก ที่ว่า ชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน เรามีอำนาจน้อยมากในการควบคุมสิ่งต่างๆ รอบตัวเช่น เราไม่สามารถที่จะเลือกพ่อแม่ของเราได้ เราไม่สามารถที่จะเลือกเกิดได้ เราไม่สามารถที่จะเลือกว่า ไม่ให้มีเรื่องร้าย หรือ อุบัติเหตุเกิดขึ้นในชีวิตเราได้ หรือแม้แต่ เราไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่า เราจะตายที่ไหน หรือเมื่อไร

การไม่ยอมรับความจริงของโลกในข้อนี้ และคาดหวังให้ทุกอย่างเป็นเหมือนแผนการที่วางไว้ ทุกอย่างต้องเป็นแบบที่คิดไว้ นำมาซึ่งความผิดหวัง และ ความทุกข์

สิ่งเดียวที่เราสามารถควบคุมได้ ก็คือ ตัวเราเอง

เราสามารถเลือกวิธีคิด และการตีความสิ่งที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของเราเอง เราสามารถที่จะเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และนำบทเรียนนั้นๆ ไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตต่อไปได้

หากเรารู้สึกเจ็บปวด ผิดหวัง เสียใจ แทนที่เราจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมคนคนนี้ต้องทำกับเราแบบนี้ ทำไมเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นกับเรา อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ ให้เราแทนที่คำถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานี้ มีความหมายกับเราอย่างไร

ตัวอย่างเช่น เรารู้สึกโกรธ เจ็บปวด ผิดหวัง เสียใจ ที่คนที่เรารัก เพิกเฉยไม่สนใจเรา ไม่ว่าเราจะทำอะไรเขาก็ไม่สนใจ

การตีความ : การที่เรารู้สึกโกรธ เจ็บปวด ผิดหวัง เสียใจ เพราะว่า การเพิกเฉยของเขา ทำให้เรารู้สึกไม่เป็นที่รัก ไม่ได้รับความสนใจ ไม่มีคุณค่า

ซึ่งหากเรากลับมาพิจารณาดีๆ เราจะได้คำตอบว่า ตัวเรามีคุณค่า โดยไม่ต้องรอให้คนหนึ่งมาให้ความสนใจเรา หรือต้องทำอะไรต่างๆ นานา เพื่อที่จะได้รับความสนใจ เพื่อสร้างคุณค่าให้คนหนึ่งที่มองไม่เห็น

สิ่งที่เราทำได้ นอกจากตอบตัวเองว่า การกระทำของเขา มีความหมายต่อเราอย่างไร ก็คือ การมอบสิ่งนั้นให้กับตัวของเราด้วยตัวของเราเอง เราสามารถกลับมารักตัวเอง ทำในสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข สิ่งที่เราให้คุณค่าและให้ความหมาย โฟกัสที่การสร้างคุณค่าให้กับตัวเองและผู้อื่น

การที่เราจะมีความสุขในชีวิตได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน เป็นความสุขที่เราควรจะเป็นคนที่สร้างมันได้จากตัวเราเอง

หากวันนี้คุณเป็นคนหนึ่งที่ยังคงรู้สึกเจ็บปวด เป็นทุกข์ และยังถอดความหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้น ว่ามีความหมายต่อคุณอย่างไร เพื่อที่จะหาวิธีจัดการกับมัน การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อจะช่วยให้คุณกลับมามีชีวิตที่มีความสุขได้อีกครั้ง


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ประวัติผู้เขียน : อังคณา เกิดทองมี

ศึกษาด้านศิลปศาศตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (B.Eng.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, และ Diploma of International E-Business, Hove College, Brighton, UK

มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งวิศวกรในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขั้นนำของโลกมากกว่า 5 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทด้าน Data Science และเขียนบทความด้านจิตวิทยาให้กับบริษัท iStrong


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page