top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

จะเลิกหรือจะคบต่อดี



หนึ่งในการตัดสินใจที่ยากที่สุดไม่ว่าความสัมพันธ์จะดีหรือร้าย อาจเป็นการเลือกว่าจะยังใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันต่อไปหรือไม่ บางครั้งเรา "รู้" ว่าเราควรยุติความสัมพันธ์ แต่ไม่สามารถทำได้ เป็นเรื่องยากที่จะรับความสูญเสีย ไม่ว่าเราจะมีทัศนคติดีแค่ไหน แถมเราจะคิดหนักขึ้นอีกถ้าเรามีลูก ในทางกลับกันเราอาจปกป้องตัวเองจากความสัมพันธ์แย่ๆ ด้วยการไม่คบกับใครเลย

เราจะมีแรงจูงใจที่จะลองอยู่ด้วยกันเสมือนเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง เมื่อเราใช้เวลา และทุ่มเทแรงใจแรงกายลงไปแล้ว เช่นเดียวกับการลงทุนที่บางครั้งเราต้องตัดใจหากสถานการณ์มีทีท่าไม่ดี หรือเราอาจใช้กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าเราต้องการให้ทุกความสัมพันธ์ดีขึ้นมันจะมาพร้อมความเสี่ยงที่ความสัมพันธ์จะล้มเหลวด้วย ซ้ำร้ายหากเป็นที่เราเองทำให้ความสัมพันธ์ล้มเหลว เราจะมีความรู้สึกผิด หรืออาจจะเริ่มคิดว่าเราสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีได้หรือไม่

Joel MacDonald และ Page-Gould (2017) ได้ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ในความสัมพันธ์ระยะยาว

จากการศึกษา กลุ่มที่มีอายุประมาณ 20 ปี และยังไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นผู้ชาย 40% และผู้หญิง 60% แต่งงานมาแล้วประมาณ 17 เดือน ประสบการณ์ส่วนตัวในแต่ละคนส่งผลต่อความสัมพันธ์ และต่างก็ชื่นชอบความสัมพันธ์ที่ใหม่กว่าไม่มากก็น้อย แต่เมื่อดูที่คนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าจำนวน 171 คน มีอายุประมาณ 31.7 ปี เป็นผู้ชาย 37% และผู้หญิง 63% และมีความสัมพันธ์กันเกือบ 4 ปี หนึ่งในสี่ได้แต่งงานแล้ว หรือมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายที่เทียบเท่าการสมรส และสามในสี่คบหากันอย่างจริงจัง พบว่าปัจจัยบางอย่าง เช่นบุคลิกภาพของคู่ชีวิต รวมถึงสังคมรอบข้างสามารถสนับสนุนได้ทั้งเมื่อต้องการอยู่ด้วยกัน และสนับสนุนความคิดที่ต้องการเลิกรากัน

"ความรู้สึกสนิทสนม" และการเป็นคนมีเหตุผล รวมถึงคู่ชีวิตสนับสนุนให้ก้าวหน้า ทำให้ความสัมพันธ์ยังดีอยู่ และเมื่อ “ความไว้ใจถูกทำลาย” รวมถึงการมองแต่ “ปัญหาในระยะยาว” เป็นสาเหตุให้ต้องเลิกรากัน

ในขณะที่การขาดความไว้ใจเป็นเหตุให้ต้องเลิกกันนั้น ความซื่อสัตย์กลับไม่ได้เป็นเหตุผลให้ยังคบหากัน การพึ่งพากันอาจเป็นเหตุให้อยู่ด้วยกัน แต่การยืนบนลำแข้งตัวเองได้ กลับไม่ได้เป็นเหตุให้ต้องเลิกกัน แต่ละคนนั้นมีเหตุผลเป็นของตัวเอง สำคัญว่าถ้าคู่ชีวิตคิดคล้ายกันจะทำให้มีความแตกแยกทางความคิดน้อยลง

คู่รัก

ในการศึกษาต่อมา จากทั้งหมด 121 คน เป็นผู้ชาย 36% และผู้หญิง 64% อายุประมาณ 28 ปี และมีความสัมพันธ์กันประมาณ 22 เดือน คนที่สมรสแล้วมี 106 คน เป็นผู้ชาย 27% และผู้หญิง 73% อายุประมาณ 28 ปี และแต่งงานแล้วประมาณ 9 ปี พบว่า “การหาจุดร่วม” ของ บุคลิกภาพด้านบวกของคู่ชีวิต ความรู้สึกสนิทสนม และความสุขสนุกสนาน มีผลกับคู่ที่ออกเดทกันมากกว่าคู่ที่แต่งงานแล้ว ในขณะที่คนที่แต่งงานแล้วใช้การ “การสงวนจุดต่าง” รวมถึงการรับผิดชอบครอบครัว ความกลัวความไม่แน่นอนหากต้องแยกกัน ทำให้ยังอยู่ด้วยกันต่อไปได้ แต่การขาดความสนุกสนานในการใช้ชีวิต การขาดเสน่ห์ดึงดูดต่อกัน การไปขัดไม่ให้อีกฝ่ายก้าวหน้า และมีการผูกมัดมากเกินทำให้คู่ที่แต่งงานแล้วต้องเลิกกัน

สุดท้ายแล้วความกังวลมีแนวโน้มที่จะทำให้ใช้เหตุผลต่อกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลให้อยู่ด้วยกัน หรือเหตุผลให้เลิกรากัน และเหตุผลต่างๆ ยังทำให้คิดจนกังวลมากขึ้นไปอีกด้วย ความกังวลนี้ยังส่งผลมากกว่าการขาดความใส่ใจกันเสียอีก มีหลายบทความชี้ว่าคนที่เลี่ยงความสัมพันธ์กับคนอื่นมักจะมองโลกในแง่ร้าย

ในอีกมุมหนึ่งผู้ที่หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์เป็นบางครั้งมักจะบอกว่าต้องการอยู่กับคนอื่นอาจเป็นเพราะยังมองโลกในแง่ดีมากพอ มีความสบายใจ และได้รับมิตรภาพ

 

ผู้หลงใหลในไดโนเสาร์ สัตว์ป่า นิเวศวิทยา

OSHO การถ่ายภาพ และการวาดภาพการ์ตูน

 

ที่มา

Joel, S., MacDonald, G., and Page-Gould, E. (2017). Wanting to Stay and Wanting to Go: Unpacking the Content and Structure of Relationship Stay/Leave Decision Processes, Social Psychological and Personality Science

____________________________________________________

iStrong ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว

บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page