3 วิธียุติการส่งต่อภาวะ Narcissism จากรุ่นสู่รุ่น
การที่เราชื่นชอบตัวเองเป็นเรื่องที่ดี นั่นหมายความว่า เรามี self-esteem แต่เมื่อใดก็ตามที่เราหลงตัวเอง และ คิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลก เมื่อนั้น หมายถึงเรามีความเสี่ยงที่จะมีภาวะ Narcissism ซึ่งนักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า การเลี้ยงดูมีผลอย่างมากที่จะทำให้เด็กคนหนึ่งโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการ Narcissism และตามหลักการของ Satir ซึ่งเป็นรูปแบบการบำบัดชนิดหนึ่งที่มีไว้เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และการสื่อสารในครอบครัว กล่าวว่า ลักษณะอุปนิสัยนี้สามารถส่งต่อได้จากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย
คนที่มีภาวะ Narcissism คือ คนที่หลงตัวเอง ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ต้องการเป็นที่สนใจอยู่เสมอ มักคิดว่าตัวเองดีกว่า หรือ เหนือกว่าคนอื่น และไม่ยอมรับคำความเห็นหรือคำวิพากวิจารณ์ของคนอื่น ซึ่งคนกลุ่มนี้ มักจะมีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบตัวอยู่เสมอ
บทความแนะนำ "เลี้ยงลูกยังไง ถึงกลายเป็นเด็กที่หลงตัวเอง"
ตามหลักการของ Satir หากเด็กถูกเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ หรือ คนเลี้ยงที่มีภาวะ Narcissism มักจะมีโอกาสที่เขาจะมีภาวะนี้เช่นกัน เนื่องจาก เด็ก มักจะเรียนรู้จากคนเลี้ยงว่า อะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิด และ อะไรคือสิ่งที่ได้รับการยอมรับและสิ่งไหนที่ไม่ใช่ คุณค่าที่ครอบครัวในรูปแบบ Narcissism ให้ค่า ได้แก่:
- ความรัก การยอมรับ การดูแลเอาใจใส่ จะได้รับก็ต่อเมื่อ เขาต้องประสบความสำเร็จบางสิ่งบางอย่าง
- รูปแบบความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เป็นแบบ มีการบงการ และมีความลับ
- มองเห็นแต่ข้อดีของพ่อแม่ที่เป็น Narcissism เท่านั้น เช่น ประสบความสำเร็จบางอย่าง
- เลือกคู่ครองที่ยอมให้เขาเป็นผู้นำ
- มองเห็นลูกเป็นเสมือนตัวแทนของเขา มากกว่า การที่เด็กคนนั้นเป็นตัวของเขาเอง
ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ที่มีภาวะ Narcissism คุณจะให้ความสำคัญกับการมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบสำหรับคนภายนอก ความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวของโลก กลายเป็น ความสำเร็จ และ ความล้มเหลวของตัวคุณเอง คุณอยากให้ลูกของคุณประสบความสำเร็จ โดยลืมคิดไปว่า ลูกเป็นคนอีกคนหนึ่งที่มีความคิด ความเห็น ความต้องการของเขาเอง แม้กระทั่งเมื่อเขาโตแล้วก็ตาม หรือบางทีคุณอาจจะมีลูกคนโปรดที่ทำได้ตามที่คุณต้องการ เมื่อใดก็ตามที่คุณเริ่มให้ความสำคัญและคุณค่ากับลูกไม่เท่ากัน เมื่อนั้นคุณก็จะเริ่มบงการและมีความลับเพื่อปกป้องลูกคนโปรดของคุณ
การโตมาในครอบครัว Narcissism มีความเหนื่อยและเครียด เนื่องจากความคาดหวังที่พ่อแม่มีต่อลูก ถ้าคุณพิจารณาตัวเองแล้วคิดว่า คุณกำลังเป็นพ่อแม่ที่เป็นภาวะ Narcissism อยู่ ซึ่งอาจเกิดจากการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ของคุณ คุณก็ควรที่จะระมัดระวังที่จะไม่ส่งต่อ ความเครียด และ ผลด้านลบ ที่คุณได้รับไปที่ลูกของคุณ ซึ่งนักจิตวิทยาได้แนะนำ 3 ขั้นตอนในการยุติการส่งต่อภาวะ Narcissism ไว้ ดังนี้
1. ตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากภาวะ Narcissism
คนที่มีภาวะ Narcissism มักจะมองว่า ความคิดของตัวเองถูกต้องอยู่เสมอ และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำงาน หรือ อยู่ร่วมกับผู้อื่น
การที่พวกเขาคิดว่า ความคิดของพวกเขาถูกต้อง มาจาก ความสำเร็จ เช่น การมีรายได้มากกว่าคนอื่น มีชื่อเสียงมากกว่าคนอื่น และนำไปสู่ความคิดที่ว่า พวกเขาดีกว่าคนอื่น
พ่อแม่กลุ่มนี้มักจะโน้มน้าวให้ลูกดำเนินชีวิตแบบตัวเองและมีความเชื่อแบบตัวเอง โดยไม่มองถึงข้อเสียอื่น ๆ จากการใช้ชีวิตด้วยวิธีนี้
2. ตระหนักว่า การเป็นพ่อแม่ที่ดี คือ การยอมรับตัวลูกในแบบที่ลูกเป็น
พ่อแม่ที่มีภาวะ Narcissism มักจะคิดว่าลูกจะต้องเป็นแบบที่ตัวเองคาดหวัง โดยลืมไปว่าพวกเขามีชีวิต ความคิด ความชอบของเขาเอง พวกเขาจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกมีชีวิตในแบบที่พวกเขาอยากให้เป็น เพราะมีความเชื่อว่า นี่คือวิธีที่ดีที่สุด หรือบางครั้ง พ่อแม่ประเภทนี้ก็ใช้ลูกเป็นที่ระบายอารมณ์ เช่น เมื่อทะเลาะกับคู่ของตน ก็จะมาเล่าให้ลูกฟัง และโน้มน้าวให้ลูกเชื่อ คิด และทำในแบบที่ตัวเองอยากให้ทำ ซึ่งบางครั้งหลาย ๆ เรื่องก็หนักเกินกว่าที่เด็ก ๆ จะแบกรับได้
เด็กทุกคนอยากที่จะได้รับการยอมรับและมีความสำคัญกับพ่อแม่ ดังนั้น เด็กก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้พ่อแม่ รัก และ ให้ความสำคัญ เรียนรู้รูปแบบความสัมพันธ์นี้ และนำไปใช้กับตัวเองในอนาคตเช่นกัน
3. สังเกตว่าเราพูดคุยถึงคนในครอบครัวอย่างไร
หากเราพูดถึงคนในครอบครัวในทางลบอยู่เสมอ หรือ มักจะมองเห็นสิ่งที่เป็นข้อเสียของคนอื่นอยู่เสมอ เช่น น้า A ไม่ได้มีเงินเท่าเรา เราดีกว่า เราจะต้องทำการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าลูกของเราก็กำลังเลียนแบบเราอยู่เช่นกัน
รูปแบบครอบครัว Narcissism สร้างความกดดัน ตึงเครียด และแตกแยกระหว่างคนในครอบครัว ซึ่งอันที่จริงแล้วคนที่มีภาวะ Narcissism มีความ ไม่มั่นคงทางจิตใจ และ ไม่มีความสุข ทำให้พวกเขาต้องพยายามหาอะไรบางอย่างเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกว่าดีกว่า เหนือกว่าคนอื่นอยู่เสมอ การที่ลูกเราจะต้องโตมาในรูปแบบนี้ ก็จะทำให้เขาเป็นคนที่ไม่มีความมั่นคงทางจิตใจ และ ไม่มีความสุขเช่นกัน ดังนั้น เราสามารถที่จะยุติการส่งต่อภาวะนี้ไปยังลูกของเราได้ด้วยตัวเราเอง ณ เดี๋ยวนี้ค่ะ
สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ
iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
ประวัติผู้เขียน : อังคณา เกิดทองมี ศึกษาด้านศิลปศาศตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (B.Eng.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, และ Diploma of International E-Business, Hove College, Brighton, UK มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งวิศวกรในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขั้นนำของโลกมากกว่า 5 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทด้าน Data Science และเขียนบทความด้านจิตวิทยาให้กับบริษัท iStrong
Komentáře