top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

คำตอบทางจิตวิทยา ทำไมเรามักมีความรักกับคนที่เหมือนพ่อแม่ของเรา

หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า เรามักจะมีความรักกับคนที่มีลักษะเหมือนกับพ่อหรือแม่ของเรา ซึ่งในทางจิตวิทยาสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้โดยนำเอา attachement theory รวมไปถึงเรื่องจิตใต้สำนึก มาช่วยไขคำตอบเรื่องนี้กับทุกคนค่ะ


มีงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับผู้ปกครอง (ส่วนมากจะเป็นพ่อและแม่) และพบว่า ความสัมพันธ์ที่เรามีกับคนเลี้ยงดู หรือผู้ปกครอง มีผลอย่างมากในการสร้างความสัมพันธ์เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบคนรัก หรือ ความสัมพันธ์กับคนรอบตัวก็ตามก็ตาม



ความรักในทางจิตวิทยา


เด็กที่ได้รับความรัก ความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอจากคนเลี้ยง จะทำให้เขาเป็นคนที่มี emotional secured (มั่นคงทางอารมณ์) พวกเขาจะเรียนรู้ความสัมพันธ์ในรูปแบบ securely attached ซึ่งรู้ว่า คนรอบตัวรักเขา เขามีความสำคัญ พวกเขามีพื้นที่ปลอดภัย ไม่กลัวการถูกทอดทิ้ง และมีความสามารถในการพัฒนาตัวเอง ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบตัวได้อย่างดี


ในขณะที่เด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น และถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก ทำให้พวกเขาพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแบบ Insecurely attached ต้องการได้รับความรัก ความสนใจ จากคนรอบข้างอย่างมาก พวกเขาเหล่านี้มักจะทำอะไรก็ตามที่ให้ได้มาซึ่งได้มาซึ่งความรัก และความสนใจ เมื่อพวกเขาโตมา เขาก็จะตามหาความรัก และทำทุกอย่างเพื่อให้คนที่รักอยู่กับเขา และกลัวการที่จะต้องถูกทิ้งเป็นอย่างมาก หรืออาจจะหลีกเลี่ยงที่จะมีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เพราะว่าพวกเขากลัวที่จะต้องเจ็บปวด เป็นต้น


Kim Bartholomew นักจิตวิทยากล่าวว่า กลุ่มคนที่มีความกลัวนี้อยู่ (anxiously attached) พวกเขาจะมองตัวเองไม่มีคุณค่าเพียงพอ และต้องการการยอมรับจากคนอื่นตลอดเวลา ซึ่ง anxiously attached แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1) คนที่กลัวการผูกมัด (Fearful avoidant)

2) คนที่กลัวถูกทิ้ง (Dismissing avoidant )


คนที่กลัวการผูกมัด (Fearful avoidant) มักจะมีความคิดว่าตัวเองไม่ได้พอ แต่ก็ยอมคนรักและพึ่งพาคนรักเป็นอย่างมาก เพราะจริงๆ แล้วพวกเขาต้องการความรัก และ ความใกล้ชิด แต่ในขณะเดียวกันก็กลัวความเจ็บปวดซึ่งอาจเกิดจาก การถูกทอดทิ้ง ทำให้พวกเขาไม่เชื่อใจใครง่ายๆ


คนที่กลัวถูกทิ้ง (Dismissing avoidant) มองตัวเองดี และมีความสามารถ แต่พวกเขาไม่ชอบที่จะมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งเช่นกัน เพราะมีความเชื่อว่าจะต้อง independent พึ่งตัวเองได้ พวกเขาไม่ชอบพึ่งใคร และในขณะเดียวกัน ก็ไม่ชอบให้ใครมาพึ่ง เช่นกัน



ความรักในทางจิตวิทยา


มนุษย์ทุกคน เมื่อไม่มีสติ เราจะตัดสินใจ และใช้ชีวิตโดยการสั่งการของจิตใต้สำนึก ซึ่งหากเราเป็นคนที่มี emotional secured เราก็จะสามารถใช้ชีวิตในรูปแบบที่จะทำให้เรามีความสุขกับชีวิตได้ ซึ่งรูปแบบนี้ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่เราเป็นเด็ก หากเรามีพ่อหรือแม่ที่ไม่ได้ให้ความรัก และความอบอุ่น พูดจาทำร้ายจิตใจเรา สุดท้ายก็ค้นพบว่า เรามีรูปแบบของคนรักที่เป็นแบบเดียวกับพ่อกับแม่ของเรา นี่ก็คือเหตุผลของรูปแบบความสัมพันธ์ที่เราคุ้นเคย ที่อยู่ภายใต้จิตสำนึกของเรานั่นเอง


Glenn Geher นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและค้นพบว่า เรามักจะเลือกคนรัก เหมือนกับผู้ปกครองที่เป็นเพศตรงข้ามกับเรา เช่น ลูกสาวก็จะเลือกคนรักที่เหมือนพ่อ เป็นต้น ซึ่งหากเมื่อคนรักของเราเหมือนกับพ่อหรือแม่ของเราในทางที่ดี เราก็จะมีความสัมพันธ์ที่ดี ในขณะเดียวกัน หากเป็นไปในทางตรงข้าม ก็ทำให้ความสัมพันธ์ที่เรามีกับคนรักไม่ราบรื่นนั่นเอง





เมื่อเราพบใครสักคนในครั้งแรกๆ จิตใต้สำนึกของเราก็จะทำให้เราเลือกเข้าไปคุยหรือทำความรู้จักกับคนที่เรารู้สึกคุ้นเคย (ซึ่งมีความคล้ายคลึงพ่อกับแม่ของเรา) และการที่ความสัมพันธ์กับคนกลุ่ม anxious attached เกิดขึ้นได้ เนื่องจากเราจะรู้สึกว่าคนประเภทที่กลัวถูกทิ้ง (Dismissing avoidant) มีความเปิดเผย และมีแรงดึงดูดให้เราอยากอยู่ด้วย เนื่องจากเขาจะติดตาม ดูแลเอาใจใส่ และทำให้เรารู้สึกสำคัญ ในขณะที่คนประเภทที่กลัวการผูกมัด (Fearful avoidant) จะทำให้เรารู้สึกอยากค้นหา รู้สึกว่าพวกเขา เข้มแข็ง และ independant ซึ่งจากงานวิจัยคนสองกลุ่มนี้ จะมองสบตาและใช้การสัมผัส รวมถึงมุกตลกๆ มากกว่าคนประเภท emotional secure ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คนอื่นตกหลุมรักพวกเขาได้ง่ายอีกด้วย



ความรักในทางจิตวิทยา


ความรักเป็นสิ่งที่สวยงาม และสำคัญกับชีวิตของเรา ครอบครัวเป็นจุดแรกที่สำคัญในการสร้างคนๆ หนึ่งที่จะเป็นทรัพยากรที่ดีของสังคม รวมถึงการที่คนๆ หนึ่งจะตัดสินใจเรื่องต่างๆ และดำเนินชีวิตในทางที่ดี ที่ถูกต้อง และมีความสุข พ่อแม่เป็นคนที่สำคัญมากๆ


จากบทความนี้ หากเราสำรวจตัวเองแล้วพบว่า เรากำลังเป็น anxiously attached อยู่ ก็สามารถที่จะรับรู้ และจัดการกับมันได้ การพูดคุยกับนักจิตวิทยาก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี ที่จะทำให้คุณมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น และมีความสุขกับชีวิตในภาพรวมมากขึ้นนะคะ

 

istrong.co ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตและครอบครัว


บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)


และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page