top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

จิตวิทยามีคำตอบ ลักษณะผู้นำแบบไหนที่คนไทยและคนยุคใหม่ต้องการ?



ผลการเลือกตั้งของประเทศไทยเมื่อ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มความนิยม (Trend) หรือคุณลักษณะผู้นำที่คนไทยและคนยุคใหม่ต้องการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตามจำนวนสถิติคนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งในปี 2566 มีจำนวน 52,241,808 คน ซึ่งเมื่อพิจารณาตามช่วงวัย (Generation) พบว่า Generation X (ผู้ที่เกิด พ.ศ. 2506 - 2526) มีจำนวนมากที่สุด คือ 20,882,235 คน รองลงมาคือ Generation Y (ผู้ที่เกิด พ.ศ. 2527 - 2546) จำนวน 17,983,355 คน ตามมาด้วย Baby Boomer (ผู้ที่เกิด พ.ศ. 2491 - 2505) จำนวน 9,326,314 คน กลุ่ม Before Baby Boomer (ผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ. 2491) จำนวน 2,956,182 คน และปิดท้ายด้วยน้องเล็กสุด Generation Z (ผู้ที่เกิด พ.ศ. 2547 – 15 พฤษภาคม 2548) จำนวน 1,093,722 คน


นั่นหมายความว่า คะแนนเสียงในการเลือกผู้แทนของคนไทย และเลือกผู้นำประเทศไทยคนใหม่ มาจากคะแนนเสียงของ Generation X และ Y มากถึง 74.40% และคะแนนเสียงเหล่านี่นี้เองที่เป็นผู้เลือกTrend ลักษณะผู้นำที่คนไทยต้องการ ซึ่งลักษณะผู้นำดังกล่าวก็มีความสอดคล้องกับแนวคิดจิตวิทยาที่เรียกว่า “Leadership ACT” ซึ่งได้มาจากการเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ตามหลักสถิติ และจิตวิทยาด้วยการเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของผู้นำระดับโลก (Global Leaders) ที่กำหนดโดยสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก 38 สถาบัน (เช่น Stanford University, Harvard University, Peking University, มหาวิทยาลัยโตเกียว, มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นต้น) ซึ่งมีทั้งหมด 3 กลุ่ม 6 คุณลักษณะสำคัญ ดังนี้


กลุ่มที่ 1 Articulate

หมายถึง ผู้นำที่มีทักษะการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงประเด็น สามารถอธิบายให้ทีมหรือผู้อื่นเข้าใจถึงเป้าหมาย และกลยุทธ์ในการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ให้ทุกคนเข้าใจและเห็นภาพร่วมกัน โดยประกอบด้วย 2 คุณลักษณะ ได้แก่

1.) Uncharted Explorer

คือ ผู้นำที่มีความสามารถในการมองหาโอกาสใหม่ ๆ มีความกล้าเสี่ยงลองแนวทางใหม่ กล้าคิด กล้าลงมือทำ กล้าเปลี่ยนแปลง ดังที่อาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กทม. สุดแกร่งของเรา ได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น โดยมีการพัฒนาระบบยื่นขอใบอนุญาตออนไลน์ มีการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานอนุมัติใบอนุญาตก่อสร้าง และเปิดเผยข้อมูลระหว่าง “ผู้ขอ – ผู้ให้” ใบอนุญาต ว่ามีการปฏิบัติตามเกณฑ์หรือไม่ ลดการใช้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่ กทม. เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นต้น

2.) Success Warrior

คือ ผู้นำที่มีความสามารถในการผลักดันงานให้ประสบความสำเร็จ เกิดผลสัมฤทธิ์ ดังที่ Justin Trudeau นายกรัฐมนตรีแคนาดา กล่าวไว้ว่า “เราเอาชนะความเห็นถากถางดูถูกด้วยการทำงานหนัก เราเอาชนะการเมืองเชิงลบและแตกแยก ด้วยวิสัยทัศน์เชิงบวกที่นำชาวแคนาดามารวมตัวกัน” เนื่องจากเขามักโดนดูหมิ่นว่าอายุน้อย น้อยประประสบการณ์ แต่ก็ได้พิสูจน์ตัวเองด้วยการจริงจังกับงาน จริงใจกับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัย จนได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และกำลังจะลงสมัยที่ 3 ในเร็ว ๆ นี้


กลุ่มที่ 2 Connect


หมายถึง ผู้นำที่บริหารงานโดยเน้นการมีส่วนร่วม กระตุ้นทีมให้เกิดการร่วมมือกันทั้งแนวตั้ง คือจากบนลงล่าง และแนวนอน คือ ระหว่างทีม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประกอบด้วย 2 คุณลักษณะ ได้แก่

1.) Empathic Communicator

คือ คุณลักษณะผู้นำที่เป็นนักสื่อสาร สามารถพูดหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจวัตถุประสงค์ได้โดยง่าย อธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้เห็นเป็นรูปธรรม ใจกว้าง ยินดีรับฟังทุกคนเพื่อนำมาปรับปรุงตนเอง ดังที่อาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “คำชมตนคงไม่ต้องการ ต้องการคำที่ต้องปรับปรุง ซึ่งมีเรื่องสุนัขและแมวจรจัด เรื่องปากท้องประชาชน และเรื่องการจราจร ต้องขอน้อมรับไว้และหาวิธีการ”

2.) Synergistic Winner

คือ ผู้นำที่มีความสามารถในการสร้างสัมพันธ์ที่ดี ผสานความสัมพันธ์ทั้งภายในทีมและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้งานสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นที่ Justin Trudeau ได้กล่าวถึงกรณีที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนได้ตำหนิ Trudeau ประเด็นการเจรจานอกรอบการประชุม G20 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 มีการหลุดไปถึงสื่อ ว่า “เราเชื่อมั่นในการสนทนาที่เสรี เปิดเผย และตรงไปตรงมา เราจะทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ต่อไป แต่อาจจะมีบางสิ่งที่เราเห็นไม่ตรงกัน”


กลุ่มที่ 3 Trust


หมายถึง ผู้นำที่สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในทีม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยการมอบอำนาจให้แก่ทุกคนในทีม และสร้างความเชื่อมั่นโดยมีความรับผิดชอบ รักษาคำพูด มีวินัย มีระเบียบแบบแผน จนสามารถทำให้ทีมและผู้อื่นเชื่อถือได้ โดยประกอบด้วย 2 คุณลักษณะ ได้แก่

1.) Diversity Promoter

คือ การเป็นผู้นำที่ส่งเสริมความหลากหลาย มีความสามารถในการบริหารความขัดแย้ง รวมถึงสามารถสร้างความสามัคคีทั้งในทีม และในกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นที่ทั้งอาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ Justin Trudeau และ Jo Biden ที่สนับสนุนความหลากหลายทางเพศ รวมถึงสนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา รวมถึงรับฟังความเห็นต่างอย่างสันติ

2.) Torch Bearer

คือ ลักษณะผู้นำที่มองการณ์ไกล สามารถวิเคราะห์ถึงแนวโน้มต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังส่งเสริมและพัฒนาผู้นำรุ่นถัดไป ดังที่ Jacinda Ardern นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ กล่าวในครั้งที่ชนะเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ว่า “เรากำลังอยู่ในโลกที่มีการแบ่งขั้วมากขึ้น สถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากสูญเสียความสามารถในการมองเห็นมุมมองของกันและกัน ดิฉันหวังว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ นิวซีแลนด์ได้แสดงให้เห็นว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราเป็น ในฐานะประเทศที่เราสามารถรับฟังและถกเถียงกันได้”


ในทางจิตวิทยาเชื่อว่า ลักษณะผู้นำมีในตัวของเราทุกคน ซึ่งเราสามารถพัฒนาได้ และนำออกมาใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่เราเองและผู้อื่นได้ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลคุณลักษณะผู้นำทั้ง 3 กลุ่ม 6 คุณลักษณะ ที่ได้นำเสนอข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองของทุกท่านนะคะ


หากคุณต้องการพัฒนาภาวะผู้นำ สู่การเป็นผู้นำที่ใช้ "หัวใจ" ทาง iSTRONG ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอนาคตของผู้นำ จึงได้ออกแบบ "คอร์ส Heart-to-Heart Leadership" ที่จะพัฒนาให้คุณเป็น "ผู้นำ" ที่ใช้ "หัวใจ" อย่างแท้จริง


หรือหากคุณต้องการพัฒนาตนเองให้กลายเป็นที่ปรึกษาที่เข้าอกเข้าใจตนเองและผู้คนมากขึ้น เพื่อปรับใช้ในการทำงาน ครอบครัว และในชีวิตประจำวัน คุณสามารถสมัครเรียน "หลักสูตรนักให้คำปรึกษากับนักจิตวิทยา" จาก iSTRONG ได้ที่นี่


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ :

9 คุณลักษณะผู้นำที่ดีตามทฤษฎีจิตวิทยา ที่โลกยุคใหม่ต้องการ


อ้างอิง :

1. ประชาชาติธุรกิจ. (2563, 12 ธันวาคม). LeadershipACT. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-570680

2. Thai PBS. (2566, 11 พฤษภาคม). เลือกตั้ง2566 : เปิดตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้ง "เจเนอเรชัน X" มากสุด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/327601

 

ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก อดีตนักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก บัณฑิตจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page