top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

นักจิตวิทยาแนะนำ 4 ข้อ ในการดูแลสุขภาพจิตให้มีความสุขได้แม้อยู่คนเดียว


ถึงแม้ว่าสถานการณ์ Covid – 19 ในตอนนี้จะทรงตัว แต่ก็ยังส่งผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพจิตของคนไทย เพราะถึงแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการฉุกเฉินไปหลายอย่างก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้ติดเชื้อเฉลี่ยวันละหมื่นคน ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังต้องอยู่คนเดียว พยายามมีระยะห่างทางสังคม เพื่อให้รอดพ้นจาก Covid – 19 และเพื่อช่วยให้สถานการณ์ในประเทศไทยกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ทำให้หลาย ๆ คนกลายเป็นคนเหงา 2021 ไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งไม่แปลกใจเลยค่ะว่าในวันแรกที่ห้างสรรพสินค้าในพื้นที่สีแดงเข้มเปิดให้ใช้บริการ จะมีคนหลั่งไหลไปเที่ยวในห้างสรรพสินค้าเพื่อผ่อนคลายเป็นจำนวนมหาศาล และแน่นอนค่ะ ครอบครัวดิฉันก็เช่นกัน ขนาดว่าเราอยู่กันหลายคน เจ้าตัวเล็กของดิฉันยังมีอาการเครียด ก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างเห็นได้ชัดที่ไม่ได้ออกจากบ้านไปเจอเพื่อน เจอสังคม หรือทำกิจกรรมนอกบ้านอย่างเช่นที่เคยทำ แล้วคนที่อยู่คนเดียว โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ จะเหงา หรือมีความยากลำบากในการดูแลสุขภาพจิตขนาดไหน ด้วยความห่วงใยจากดิฉันและ iSTRONG บทความจิตวิทยานี้จึงขอเสนอ “4 ข้อแนะนำ ในการดูแลสุขภาพจิตให้มีความสุขได้แม้อยู่คนเดียว” ซึ่งนำข้อเสนอแนะในการดูแลสุขภาพจิต 4 ประการจากหนังสือแปล ชื่อ “ข้อตกลงสี่ประการ การฝึกปฏิบัติเพื่อชีวิตอิสระ” มาฝากทุกท่าน เพื่อเป็นประโยชน์ ในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่คนเดียว


1. ไม่ใช่คำพูดในการทำร้ายคนอื่น หรือตนเอง


หลายคนคงเคยได้ยินคำสุภาษิต ที่ว่า “ก่อนจะพูดเราเป็นนาย แต่พูดไปแล้ว คำพูด กลายเป็นนายเรา” ซึ่งไปตรงกับสุภาษิตจีนที่ว่า “เมื่อคำพูดได้หลุดจากปากของท่านไปแล้วนั้น ท่านไม่สามารถวิ่งไล่นำมันกลับมาได้ แม้จะใช้ม้าที่เร็วสักปานใด” โดยทั้งสองสุภาษิตมีความหมายเดียวกันว่า ให้เราระมักระวังในการใช้คำพูด เพราะหากเราพูดไม่คิด โดยเฉพาะการใช้คำพูดว่าร้ายคนอื่น หรือใส่ร้ายคนอื่นก็สามารถทำร้ายจิตใจคนนั้น หรือทำลายชีวิตของเขาไปเลยก็ได้ ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับ นายฟัก ในคำพิพากษา หรือชีวิตที่พลิกผันของพระเอกเรื่อง Atonement หรือชื่อเสียงที่เสียหายของบาทหลวง ในเรื่อง Doubt ซึ่งตัวละคนทั้งหมดล้วนพบกับเรื่องเลวร้ายเพราะคำพูดใส่ร้ายของคนอื่น ดังนั้น ข้อแนะนำแรกจากผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่อยู่คนเดียว ข้อแรกก็คือ การระมัดระวังคำพูดของเราไม่ให้ไปทำร้ายคนอื่น หรือตัวเราเองค่ะ


2. ฝึกปล่อยวางบ้าง


จักรวาลไม่ได้หมุนรอบโลกฉันใด ทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตก็ไม่ได้หมุนรอบเราฉันนั้น ชีวิตเราเป็นของเราเองจริงค่ะ แต่ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนอยู่นอกเหนือการควบคุม หากเรายึดติดว่า ทุกสิ่งต้องเป็นไปตามที่คาดหวัง วันหนึ่งเมื่อภาพความจริงปรากฏ เราอาจจะผิดหวังรุนแรง โกรธ เครียด กังวล รับความจริงไม่ได้จนเกิดอาการทางจิต และป่วย ด้วยโรคจิตเวชในที่สุด ดังนั้นแล้ว หากลองฝึกจิตคิดปล่อยวาง คือมองโลกตามความเป็นจริง มีความหวัง ต่อสิ่งต่าง ๆ แต่ลดความคาดหวังลงให้เหมาะสมกับความเป็นไปได้ รวมถึงฝึกความคิดยืดหยุ่น มีแผนชีวิตสำรอง เผื่อว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เราก็ยังสามารถใช้ชีวิตต่อได้โดยไม่สะดุดค่ะ


3. อย่าคิดเองเออเอง


โดยเฉพาะคุณผู้หญิงคงเป็นบ่อย ๆ ที่จะเกิดอาการมโนเมื่อบางสิ่งในชีวิตผิดปกติ เช่น ทำไมวันนี้แฟนอ่านไลน์แล้วไม่ตอบ ทำไมวันนี้หัวหน้ามองเราแปลก ๆ ทำไมวันนี้เพื่อนสนิท ไม่ไปทานข้าวเที่ยงกับเรา แล้วเราก็คิดเองเออเองเป็นตุเป็นตะว่าแฟนนอกใจ หัวหน้าโกรธ เพื่อนไม่พอใจเรา ซึ่งจริง ๆ แล้ว อาจจะเป็นอย่างที่เราคิด หรือไม่มีอะไรเลยก็ได้ แต่ความคิดก็พาเราไปไกลจนเรา เกิดความรู้สึกทางลบไปเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ข้อแนะนำต่อมาที่ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาแนะนำ ก็คือ อย่าคิดไปเอง หากสงสัยให้ค้นหาความจริงเสียก่อน ซึ่งวิธีการค้นหาความจริงที่ดีที่สุด ก็คือ การถามจากเจ้าตัวเลยค่ะว่าเป็นอย่างที่เราคิดหรือไม่ หากเป็นอย่างที่เราคิดจะได้หาทางแก้ไข หรือหาทางออกร่วมกันที่เหมาะสมค่ะ


4. ทำทุกอย่างให้เต็มที่และดีที่สุด


ในการทำสิ่งใดก็ตาม เป็นปกติที่เรามักจะคาดหวังผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่การที่ผลของมันจะออกมาดีหรือไม่นั้น บางทีก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา 100% ยังมีตัวแปรอื่น ๆ ระหว่างทาง เช่น ความพอใจของหัวหน้างาน ความพอใจของลูกค้า จังหวะการเสนองาน และอื่น ๆ อีกมากมายที่เราไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้ เพราะฉะนั้นแล้วหน้าที่ของเราก็คือ ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ส่วนผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ก็ค่อยมาดูกันอีกทีค่ะ


อริสโตเติล (Aristotle) ได้กล่าวว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม" แต่ในทุกวันนี้ Covid – 19 ได้ทำให้รูปแบบสังคมเปลี่ยนไป กลายเป็นว่า คนส่วนใหญ่มีอีกตัวตนที่ใช้พบปะผู้คนในสังคมออนไลน์ส่วนตัวเป็น ๆ นั่งเหงา ๆ อยู่บ้าน ทำให้เกิดความเครียด โรคซึมเศร้าตามมา ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่อยู่คนเดียวจึงสำคัญมากค่ะ ซึ่งหวังอย่างยิ่งว่าบทความจิตวิทยาบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ


อ้างอิง

[1] Don Miguel Ruiz. 1997. The Four Agreements. Amber – Allen Publishing, Inc. San Rafael, California, USA.

[2] ดอน มิคเวล รูอิซ แปลโดย วรัญญา สะอาดเอี่ยม ริเท็นนิส. 2009. ข้อตกลงสี่ประการ การฝึกปฏิบัติเพื่อชีวิตอิสระ. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊คส์ : กรุงเทพมหานคร. หน้า 69 – 144.

 

ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี ปัจจุบันเป็นนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และคุณแม่ของลูก 1 คน แมว 2 ตัว ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิต


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page