top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

การจัดการกับความวิตกกังวลช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19


Man in HAZMAT suit holding a spray bottle.

แพรเชื่อว่า หลาย ๆ คนคงมีความรู้สึกไม่สบายใจ และวิตกกังวลอย่างมากกับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ความรู้สึกไม่สบายใจที่เกิดขึ้น อาจมีหลากหลายความรู้สึกปะปนกัน ซึ่งในทางจิตวิทยา เรียกภาวะนี้ว่า grief หรือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการสูญเสีย


David Kessler นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในเรื่องการจัดการ grief ซึ่งได้เขียนหนังสือร่วมกับ Elisabeth Kugler-Ross เรื่อง Find the Meaning of Grief Through the Five Stages of Loss ได้อธิบายความสำคัญของการเข้าใจความรู้สึก grief และ ความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้น รวมถึงวิธีการรับมือของมันไว้อย่างน่าสนใจ แพรจึงอยากแบ่งปันให้กับทุกคนได้อ่านในบทความนี้



Woman wiping tears.

ในช่วงการแพร่ระบาด อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้เรารู้สึก grief และ วิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็น โลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ความไม่ปกติของสถานการณ์ ความกลัวในเรื่องของเศรษฐกิจ และ การเงิน การไม่สามารถพบปะเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้อง ความรู้สึกกลัว ความไม่แน่นอนของอนาคต และ ความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพและชีวิต ความรู้สึกหลากหลายเหล่านี้ รวม ๆ กันคือ grief แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่


1. Denial ปฏิเสธ: เป็นช่วงที่เหตุการณ์เพิ่งเริ่มต้น เรายังไม่พร้อมที่จะรับความจริงนี้ สมองเราทำการปฏิเสธข้อมูลนี้เพื่อป้องกันการเจ็บปวด โดยการปฏิเสธ​โดยเราอาจคิดว่า เราไม่น่าจะมีผลกระทบจากโรคนี้ เป็นต้น


2. Anger โกรธ: เมื่อเหตุการณ์เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น แล้วเราเริ่มรู้สึกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ใกล้ตัวขึ้นมา ความรู้สึกโกรธจะเกิดขึ้น เช่น เพราะโรคนี้ทำให้ฉันต้องอยู่บ้าง ทำอะไรไม่ได้เลย เป็นต้น


3. Bargaining ต่อรอง: เมื่อความรู้สึกโกรธหายไป แต่เรายังยอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ถ้าฉันรักษาระยะห่างทางสังคม (social distance) สัก 2 อาทิตย์ทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม หรือ สถานการณ์จะดีขึ้นใช่ไหม?


4. Sadness เศร้า (หรือ Depression) สูญเสีย: เราจะรู้สึกถึงความกลัว และความสูญเสียสิ่งที่เราเคยมี ไม่ว่าจะเป็นอิสรภาพในการใช้ชีวิตตามปกติ ความมั่นคง และปลอดภัย เราอาจจะมีความคิดว่า เมื่อไรโรคนี้มันจะสิ้นสุดลงสักที


5. Acceptance ยอมรับ: การยอมรับเป็นความรู้สึกสุดท้ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการ grief เมื่อเรายอมรับความจริงที่เกิดขึ้นได้ เราจะหันมาควบคุมสถานการณ์ และจัดการกับปัญหา เช่น เอาหละ ฉันจะล้างมือบ่อยๆ ฉันจะรักษาระยะห่างทางสังคม ฉันจะหาทางทำงานที่บ้าน เป็นต้น


Woman hugging herself.

อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกอีกความรู้สึกที่มักเกิดขึ้นเสมอ ๆ ระหว่างช่วง grief ก็คือ ความวิตกกังวล (anxiety) ความรู้สึกนี้เกิดขึ้น เนื่องจากสมองของเราสร้างภาพ ภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเรา เพื่อเป็นสัญญาณให้เราระมัดระวังตัวและจัดการ แต่หากว่ามากเกินไป ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้


ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ได้แก่ ความกลัวว่าพ่อแม่ที่สูงอายุของเราจะติดเชื้อ และมีผลต่อชีวิต ความกลัวการตกงานเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี


วิธีการจัดการก็คือ ให้รับรู้ว่า เรากำลังคิดอะไรอยู่ เมื่อใดก็ตามที่ภาพด้านลบเกิดขึ้นกับเรา ให้เราแทนที่ด้วยภาพบวก พยายามหาความสมดุลกับความรู้สึก จากความคิดที่เกิดขึ้น


แน่นอนว่าการที่เราจะเท่าทันความคิด และ ความรู้สึก การฝึกฝนสมาธิ เป็นสิ่งสำคัญ การอยู่ในปัจจุบันขณะ จะช่วยลดความกังวลที่เกิดขึ้นในอนาคต และ เรียนรู้ว่า บางทีเราก็ต้องรู้จักที่จะปล่อยวางกับสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แล้วจัดการกับสิ่งที่เราสามารถทำได้ ให้ดีที่สุด



Group of people holding arms.

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ หากเราเข้าใจตัวเองว่าเราก็เหมือนกับคนอื่นนั่นแหละ ที่มีความรู้สึกหลากหลาย และยากที่จะควบคุมหากเราไม่สามารถฝึกเท่าทันความคิดและความรู้สึก ในช่วงนี้ คนอื่น ๆ ก็อาจมีความเครียด และความวิตกกังวลเหมือนกัน หากบางครั้งที่เขาแสดงอารมณ์ที่ผิดแปลกออกไป ก็ไม่ควรจะกลับมาคิดเป็นเรื่องใหญ่


ในอดีต โลกของเรามีเหตุการณ์มากมายที่ร้ายแรง และ มนุษยชาติก็สามารถที่จะก้าวข้ามมันไปได้ เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะก้าวข้ามมันไปได้เช่นกัน


แพรหวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นแนวทางให้ผู้ที่กำลังมีความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ การแพร่ระบาดของ COVID-19 จัดการกับความรู้สึกนี้ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ และหากว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น มีผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต และ สุขภาพ การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญก็เป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะสามารถช่วยคุณได้นะคะ สามารถคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราโดยการคลิกที่นี่

 

iStrong.co ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตและครอบครัว

บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)

และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page