top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 แนวทางสนับสนุนในการลดความเครียดแก่พ่อ แม่ในการเลี้ยงลูก



การเป็นพ่อ แม่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีแนวโน้มที่พ่อ แม่ในยุคสมัยใหม่จะมีความเครียดในการเลี้ยงลูกสูงกว่าพ่อ แม่ในยุคก่อน ๆ เนื่องด้วยปัจจุบันนี้มีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความเครีดมากมาย ทั้ง เรื่องความรับผิดชอบในการงาน ความรับผิดชอบต่อครอบครัว สภาวะทางเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัยในสังคม การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก ทำให้พ่อ แม่ ที่ต้องเลี้ยงลูกภายใต้ความกดดันข้างต้นย่อมมีความเครียดในการเลี้ยงลูกสูง 


ทั้งนี้ จากงานวิจัยทางจิตวิทยาในประเทศไทย เมื่อปี 2010 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้พ่อ แม่มีความเครียดในการเลี้ยงลูกสูงนั้น ประกอบด้วยปัจจัย ดังต่อไปนี้


1. ระดับการศึกษาของพ่อ แม่

ถึงแม้ว่าการศึกษาและประสบการณ์จะเป็นคนละเรื่องกัน เพราะการศึกษาได้มาจากการเรียนรู้ แต่ประสบการณ์ได้มาจากการลงมือทำ และการใช้ชีวิต แม้หลายคนจะมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตสูง แต่สำหรับการดูแลเด็กนั้น การศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก และการศึกษาเฉพาะทางที่ต้องนำมาใช้ในการสอนการบ้านลูก ทั้งภาษา การคำนวณ และหลักตรรกศาสตร์ ล้วนมีความสำคัญ เพราะพ่อ แม่หลายคนที่ขาดความรู้เรื่องการเลี้ยงลูก มักจะมีแนวโน้มในการเกิดความเครียดสูงกว่าพ่อ แม่ที่มีฐานความรู้


2. การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลลูก

พ่อ แม่ ที่สามารถประเมินความสามารถของตนเองได้ว่าสามารถดูแลลูกได้มากแค่ไหน มักจะมีความเครียดในการเลี้ยงลูกน้อยกว่าพ่อ แม่ ที่ทุ่มเทต่อการเลี้ยงลูกแบบเกินร้อย จนบ่อยครั้งเกินขอบเขตความอดทนของตนเอง นำมาสู่ความเครียดในการเลี้ยงลูก และกลายเป็นพ่อ แม่ที่หมดไฟในที่สุด นั่นก็เพราะ พ่อ แม่ ที่รับรู้สมรรถนะของตนในการเลี้ยงลูก จะมีวิธีรับมือกับความเครียดในการเลี้ยงลูกได้ดีกว่านั่นเอง


3. การได้รับการสนับสนุนทางสังคม

พ่อ แม่ ที่มีคนช่วยเลี้ยงลูก หรือมีแหล่งสนับสนุนทางการเงิน ย่อมเครียดน้อยกว่าพ่อ แม่ ที่ต้องพึ่งพาตนเองสูง ทั้งเลี้ยงลูก ทำงาน ทำงานบ้าน บริหารจัดการทางการเงินในครอบครัว พ่อ แม่ ที่ขาดการสนับสนุนทางสังคม มักมีแนวโน้มที่จะมีความเครียดสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และอาจนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัว และครอบครัวร้าวฉานได้ง่าย เพราะหมดแรง หมดใจ และหมดไฟแล้วนั่นเอง


4. ลักษณะอาชีพของพ่อ แม่

พ่อ แม่ ที่มีการทำงานเป็นช่วงเวลาที่แน่นอน ตายตัว เช่น ทำงานจันทร์ – ศุกร์ ในช่วงเวลา 8.30 – 16.30 น. ย่อมสามารถวางแผนในการดูแลลูกได้ง่ายกว่าพ่อ แม่ ที่ทำงานเป็นกะ หรือพ่อ แม่ ที่มีเวลาเข้างานเปลี่ยนแปลงบ่อย เพราะพ่อ แม่ แบบหลังจะมีความยากในการจัดตารางดูแลลูกยากกว่าแบบแรกเยอะ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ลูกป่วย ลูกมีกิจกรรมโรงเรียนที่พ่อ แม่ต้องเข้าร่วม พ่อ แม่ ที่ทำงานไม่เป็นเวลาจะมีความเครียดสูงทันที เพราะไม่สามารถเปลี่ยนเวลางานได้ หรือต้องไปลำบากหาคนมาทำงานแทน ซึ่งอาจกระทบรายได้เข้าไปอีก


5. ความเลี้ยงง่ายของลูก

ถึงแม้ว่าพ่อ แม่โดยส่วนใหญ่จะใส่ใจ และดูแลลูกด้วยใจ แต่ก็นั่นละค่ะ การที่ลูกจะเลี้ยงง่าย หรือเลี้ยงยาก ก็มาในรูปแบบสุ่มไปอีก อย่างที่บ้านเอง จะเป็นการสุ่มแบบไม่สามารถคาดเดาได้ บางวันลูกก็อารมณ์ดี บางวันลูกก็เหวี่ยงวีน และงอแงหนักมาก ซึ่งทำให้ปวดหัวไม่น้อยเลยค่ะ วันไหนลูกอารมณ์ดี จะเหมือนโลกสว่าง พ่อ แม่ก็อารมณ์ดีด้วย แต่ถ้าลูกได้งอแง และเริ่มโวยวาย วันนั้นความรู้สึกจะดิ่งมาก พ่อ แม่ต้องมาฮีลใจกันเอง


6. สภาวะทางเศรษฐกิจ

“เงิน” ไม่สามารถซื้อทุกอย่างได้ แต่ถ้าเราไม่มีเงิน เราจะซื้ออะไรไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นแล้วเรื่อง “เงิน” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการดูแลลูก เพราะตั้งแต่เริ่มรู้ว่าลูกมาอยู่ในท้องเรา ก็ต้องใช้เงินไปหาหมอ ใช้เงินซื้อของบำรุง หาเงินค่าทำคลอด ซื้อของใช้เด็ก ค่านม ค่าผ้าอ้อม ค่าประกันชีวิต ค่าไปหาหมอเมื่อลูกป่วย เมื่อเข้าเรียนก็มีค่าเทอม ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมาย เอาเป็นว่าถ้าทุนไม่ดีก็มีเครียดกันเลยละค่ะ 


7. ขนาดของครอบครัว

จากงานวิจัยของปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ เมื่อปี 2563 พบว่า ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 3 คน มีเพียง 52.20% เท่านั้น แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นครอบครัวที่มีสมาชิกมากกว่า 3 คนเป็นเท่าใด นั่นหมายความว่า จะมีครอบครัวที่มีเพียง พ่อ แม่ ลูก โดยที่ไม่มีใครช่วย และด้วยปัจจัยข้างต้นที่ได้กล่าวมา จึงมีความเป็นไปได้สูงมากว่า พ่อ และแม่จะต้องทำงานทั้งคู่ จึงทำให้ขาดคนช่วยในการดูแลลูก เช่น ในวันที่ลูกป่วย ไม่พ่อ หรือแม่ ก็ต้องหยุดงาน หรือถ้าหากมีเหตุจำเป็นที่พ่อ หรือแม่ป่วย หรือต้องไปต่างจังหวัด อีกคนก็ต้องดูแลลูกด้วยตนเอง ซึ่งสร้างความเครียดสุงกว่าบ้านที่มีสมาชิกหลายคน และดูแลลูกให้ได้


ด้วยความห่วงใยจาก iSTRONG จึงได้รวบรวมแนวทางสนับสนุนในการลดความเครียดแก่พ่อ แม่ในการเลี้ยงลูก จากผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยามาฝากกัน 5 แนวทางด้วยกัน ดังนี้ค่ะ


1. เพิ่มความรู้ในการเลี้ยงลูกแก่พ่อ แม่

ในปัจจุบันนี้ความรู้ในการเลี้ยงลูกสามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้เวลาน้อย และมีราคาถูก โดยคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครอง สามารถเข้ารับความรู้ได้จากเพจเฟสบุ๊กของผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาพัฒนาการ จิตแพทย์เด็ก หรือผู้เชี่ยวชาญทางพัฒนาการเด็กได้อย่างง่าย ๆ รวมถึงช่องยูทูปจากผู้เชี่ยวชาญ และเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรือของหน่วยงานรัฐ เช่น https://www.netpama.com/ หรือ https://www.pandwdevelopment.co.th เป็นต้น


2. หมั่นประเมินความรู้สึกของตนเองในการดูแลลูก

หากการประเมินสมรรถนะในการดูแลลูกมันยุ่งยากเกินไปเพราะต้องขอให้ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาครอบครัวช่วยประเมินให้ ทางคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง สามารถประเมินความรู้สึกและประเมินความเครียดด้วยตนเองได้ที่ https://mhc5.dmh.go.th/appcenter/stress/ ซึ่งเป็นแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้เราทราบระดับความเครียดในการเลี้ยงลูกของเรา และสามารถบรรเทาความเครียดได้ทันเวลา


3. หาคนไว้ใจได้ในการช่วยเหลือยามฉุกเฉิน

สิ่งที่ช่วยเหลือและลดความเครียดของพ่อ แม่ในการเลี้ยงลูกได้มาก คือมีคนที่ไว้ใจได้มาช่วยในการเลี้ยงลูก เช่น แม่ของเราเอง เพื่อนสนิท ผู้ใหญ่ใจดีที่ไว้ใจได้ เป็นต้น เมื่อเราต้องอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ลูกนอนโรงพยาบาล แต่เราติดประชุม ก็ยังมีคนมาเฝ้าไข้ลูกให้เรา หรือเราติดงานด่วนจนต้องทำงานดึก ก็ยังวางใจได้ว่าลูกจะมีคนดูแลอย่างไม่ขาดตกบกพร่องแน่นอน 


4. พยายามปรับตารางงานให้เหมาะสม

เพื่อเป็นการลดความเครียดในระยะยาว คุณพ่อ คุณแม่ ควรจัดตารางงานที่แน่นอน เพื่อที่จะได้จัดตารางชีวิตในการดูแลลูกได้เหมาะสม เพื่อที่จะลดปัญหาและความกังวล ความเครียดที่จะตามมา เช่น ไม่มีคนดูแลลูก งานตามติดชีวิตจนไม่มีเวลาพักผ่อน หรือต้องทำหน้าที่สองอย่างไปพร้อม ๆ กันทั้งเลี้ยงลูก และทำงาน ซึ่งจะทำให้เรามีความเครียดสูงตามมาค่ะ  


5. หาแหล่งสร้างรายได้เสริม

หากเงินเป็นเรื่องใหญ่ ก็ลองหารายได้เสริมที่สามารถทำได้ไปพร้อม ๆ กับการเลี้ยงลูก เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินในครอบครัวดูนะคะ เช่น ขายของออนไลน์ เขียนบทความออนไลน์ หรือขายรูปถ่ายทางออนไลน์ ขายสติ๊กเกอร์ไลน์ เป็นต้น


ภาระหน้าที่ของการเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นนสิ่งที่หนักหนาที่สุดในโลกแล้วค่ะ เพราะเราต้องรับผิดชอบ “ชีวิต” ที่เราให้กำเนิดมา และต้องดูแลให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นคนดี ที่มีคุณภาพ เพื่อความสุขในการใช้ชีวิตของลูกเราเอง และเพื่อการเพิ่มประชากรคุณภาพให้แก่สังคมต่อไปค่ะ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่



 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 


อ้างอิง : แสงเดือน ยอดอัญมณีวงศ์, อิสระ บุญญะฤทธิ์, อัศวิน นาคพงศ์พันธุ์ และ ดรณี จันทร์หล้า. (2566). ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินภาวะหมดไฟในการเป็นพ่อแม่ (Parental Burnout Assessment: PBA) ฉบับภาษาไทย. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย, 54(3), 25 – 38.

 

จันทมา  ช่างสลัก บัณฑิตจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้ 


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page