top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 วิธีจัดการกับความรู้สึกพังๆ ที่นักจิตวิทยาแนะนำ



ในช่วงชีวิตหนึ่งที่เราอาจจะรู้สึกว่า ชีวิตเราถอยหลังเข้าคลอง ชีวิตของเราพัง ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยามีวิธีที่จะช่วยแนะนำให้เราจัดการกับความรู้สึกแย่ๆ นี้ได้


ในระหว่างที่กำลังนั่งหาบทความด้านจิตวิทยาใน website ของ hardvard business review อยู่นั่น สายตาก็ไปหยุด และ ความสนใจก็ไปอยู่ที่บทความหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า “It’s okay to put your dream job on hold” หรือแปลเป็นไทยว่า “มันโอเค ที่จะเอางานในฝันพักเอาไว้ก่อน” การที่บทความนี้สามารถดึงดูดความสนใจได้ อาจเป็นเพราะมันเป็นเรื่องที่โดนใจเราอยู่แล้ว

เชื่อว่าหลายคน โดยเฉพาะคนที่เติบโตในรุ่นราวคราวเดียวกันกับผู้เขียน (Gen Y) จะได้รับสูตรของการใช้ชีวิตที่ประสบความสำเร็จจากสังคม นั่นคือ ตั้งใจเรียน เรียนหนังสือให้เก่ง เพื่อที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ให้ได้ และ ในที่สุด เราจะได้งานที่ดีที่มั่นคง ซึ่งสูตรนี้ คงใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปในยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเหลือเกิน อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และเราไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นอย่างแน่นอน เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค covid-19 ที่นำมาซึ่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หลายคนต้องตกงาน

Abraham Maslow ได้คิดทฤษฎี ลำดับความต้องการ เอาไว้เมื่อเกือบ 80 ปีที่แล้ว ซึ่งได้บอกไว้ว่า ก่อนที่คนเราจะอยากทำงานในฝัน อยากมีความสุขในชีวิตได้ พวกเขาจะต้องมีข้าวกิน มีที่ให้ซุกหัวนอนเสียก่อน ซึ่งนั่นก็คือ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งอยู่ในส่วนฐานของพีระมิดนั่นเอง



หลายคนที่รู้สึกว่า “ชีวิตเราถอยหลังเข้าคลอง” หรือ “ชีวิตของฉันมันพัง ล้มเหลว” ก็เกิดจาก การลดลงจากตำแหน่งของเราบนพีระมิดของ Maslow นั่นเอง ตัวอย่างเช่น เราอาจกำลังทำงานในฝัน งานที่ทำให้เราได้เจอคนเก่งๆ ได้เดินทางท่องเที่ยว แต่การเกิดวิกฤตในชีวิต ทำให้เราจะต้องทำทุกอย่าง แม้ว่าไม่ใช่งานที่เราอยากทำนัก เพื่อที่จะนำเงินมาจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อการอยู่รอด เป็นต้น


เมื่อชีวิตเรากำลังประสบปัญหา “ชีวิตถอยหลังเข้าคลอง, ชีวิตพัง, หรือ ล้มเหลว” และทำให้เรารู้สึกทุกข์ใจอย่างมาก Ann Howell นักจิตวิทยาได้ แนะนำวิธีจัดการกับความรู้สึกแย่ที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

1. ฝึกทักษะ resilience


Resilience คือความสามารถในการกลับมายืนได้อย่างเข้มแข็งหลังจากชีวิต ต้องเจออุปสรรค หรือ ความล้มเหลว การมี mindset ที่ดีและบอกกับตัวเองเสมอว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องชั่วคราว แล้วเราจะผ่านมันไปได้ และเราสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้

บทความเกี่ยวกับ resilience : https://www.istrong.co/single-post/increase-resilience

2. จัดลำดับสิ่งที่สำคัญที่ต้องทำก่อนหลัง


จาก ทฤษฎี ลำดับความต้องการของ Maslow ที่ก่อนหน้านี้ เราอาจจะอยู่บนตำแหน่งด้านบนของพีระมิด เราต้องการแสดงศักยภาพของเรา เพื่อให้ได้การยอมรับ และเพื่อความสุข ตอนนี้เราอาจจะต้องมาโฟกัสใหม่ว่า สิ่งที่เราจะต้องจัดการคือเรื่อง ความปลอดภัย และมั่นคง การหาเงินด้วยการทำงานอะไรที่เราสามารถทำได้และไม่ผิดกฎหมายเพื่อมาใช้ในการดำรงชีวิต เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องทำก่อน และพัก ความต้องการการยอมรับ เป็นต้น

3. ไม่จมอยู่กับความทุกข์


ถึงแม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบกับจิตใจของเราอย่างมาก แต่การจมอยู่กับความทุกข์ และไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด การหางานอะไรที่เราสามารถทำได้ทำชั่วคราว เพื่อรอโอกาสที่เศรษฐกิจจะดีขึ้น และใช้ช่วงเวลานี้ในการพัฒนาตัวเอง เพื่องานใหม่ที่จะทำให้เราได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ เป็นเรื่องที่จะช่วยเราให้ผ่านพ้นกับความรู้สึกทุกข์ใจได้ ตามหลัก CBT ที่เมื่อใดก็ตาม เราลงมือปฏิบัติ ซึ่งในที่นี้คือการทำงาน และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวเราเอง ความรู้สึกของเราก็จะดีขึ้น เราจะไม่ไปโฟกัสกับความรู้สึกลบๆ ที่เกิดขึ้น

4. ปรับแผนชีวิตใหม่


ชีวิตเราควรที่จะยืนหยุ่นได้ เราอาจมีเป้าหมายชีวิตที่เราต้องการจะประสบความสำเร็จให้ได้ และเราก็ยังคงทำมันให้ประสบความสำเร็จได้ เพียงแต่ระยะเวลา และวิธีการอาจจะต้องถูกปรับเปลี่ยนเท่านั้น

5. มองโลกในแง่บวก


ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นอะไรกับชีวิตเรา สิ่งหนึ่งที่เราสามารถควบคุมจัดการได้ นั่นคือ ความคิดของเรา การที่เราคิดถึงเรื่องต่างๆ ในแง่ดี เช่น เดี๋ยวเราก็จะหางานใหม่ได้ เดี๋ยวทุกอย่างมันก็จะดีขึ้น ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก รวมถึงการลงมือทำต่อไปของเรา ในทางกลับกัน ถ้าเราคิดว่า เรานี่โชคร้ายจริงๆ ชีวิตของเราจบลงแล้ว เราก็จะรู้สึกเป็นทุกข์ และพาลไม่ทำอะไรที่เป็นการปรับปรุงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย

ชีวิตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน เราทุกคนล้วนแต่จะต้องเจอวิกฤตในชีวิตในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่มากก็น้อย การพัฒนาทักษะ resilience ดูแลสุขภาพกาย และ สุขภาพใจของเราเพื่อการต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราเป็นเรื่องที่จำเป็น ชีวิตของเรา เราสร้างมันขึ้นมาใหม่อีกเมื่อไรก็ได้ เพราะเราเป็นเจ้าของชีวิตของตัวเราเอง


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ประวัติผู้เขียน : อังคณา เกิดทองมี

ศึกษาด้านศิลปศาศตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (B.Eng.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, และ Diploma of International E-Business, Hove College, Brighton, UK

มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งวิศวกรในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขั้นนำของโลกมากกว่า 5 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทด้าน Data Science และเขียนบทความด้านจิตวิทยาให้กับบริษัท iStrong

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page