top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ทาสแมวควรรู้ 9 ข้อสังเกตว่าแมวกำลังเครียด และวิธีลดความเครียดในแมว



นอกจาก iSTRONG ของเราจะใส่ใจต่อสุขภาพจิตของคนแล้ว เรายังใส่ใจต่อสุขภาพจิตของแมว ผู้ซึ่งเป็นนายของเหล่าทาสแมวอย่างเรา ๆ ที่ถึงแม้จะมี 9 ชีวิต แต่ก็ยังประสบความเครียดในแมว จนทำให้เหล่าทาสแมวกังวลใจ ซึ่งในบทความจิตวิทยานี้จะขอชวนเหล่าทาสแมวมารู้จักกับความเครียดในแมวกันค่ะ และวิธีลดความเครียดในแมวกันค่ะ


เพราะอะไรแมวถึงเครียด? คงเป็นคำถามที่ทาสแมวส่วนใหญ่กังวลใจ ทั้งนี้ คุณหมอสมประสงค์ ชัยวิรัตน์นุกูล สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลสัตว์ศูนย์เมืองเอก ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ความเครียดในแมวมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้


1. เบื่อ

ความเครียดในแมวที่มีสาเหตุมาจากความเบื่อนี้จะเกิดขึ้นกับแมวที่ถูกเลี้ยงในระบบปิด เนื่องจากไม่ได้ออกไปนอกบ้าน และต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ กิจกรรมจำกัดที่ต้องทำซ้ำ ๆ จึงเกิดความเบื่อหน่าย และสะสมกลายเป็นความเครียด


2. มีสัตว์ตัวอื่นลุกล้ำ Safe Zone

เมื่อมีแมวตัวอื่น หรือสุนัขแปลกหน้าบุกเข้ามาในรั้วบ้าน หรือที่บ้านมีสัตว์เลี้ยงใหม่ หรือมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมา แมวของเราจะเกิดอาการตื่นกลัว ขู่ ขนฟู วิ่งหนี และดูกระวนกระวาย นั่นเพราะเขารู้สึกว่า Safe Zone ของเขาไม่ปลอดภัยอีกต่อไป


3. อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง

เช่น ข้างบ้านเปิดคอนเสิร์ต เปิดเพลงเสียงดัง มีการจุดพลุในเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นความบันเทิงของมนุษย์ แต่กับแมว หรือสุนัขมันคือช่วงเวลาแห่งความทรมาน


4. ต้องอยู่บ้านตามลำพัง หรือต้องอยู่กับคนแปลกหน้า

แมวที่เคยอยู่ในบ้านกับเจ้าของอย่างใกล้ชิด หรือแมวที่ถูกเลี้ยงในครอบครัวขนาดใหญ่ จะคุ้นชินกับการมีคนอยู่ใกล้ ๆ แต่พอต้องอยู่ตัวเดียว หรือถูกนำไปฝากเลี้ยงกับใครก็ไม่รู้ เขาจะเหงา เครียด เศร้า และวิตกกังวล เพราะอยู่ห่างจากคนที่เขารัก


5. สิ่งแวดล้อมในบ้านเปลี่ยนไป

เช่น ทำบ้านใหม่ ทาสีใหม่ มีเฟอร์นิเจอร์ใหม่ หรือแม้แต่เจ้าของทำผมใหม่ แมวก็อาจกังวลใจเพราะเขาคิดว่าเขาอยู่บ้านใหม่ อยู่กับเจ้าของใหม่ ทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้


6. มีความไม่สบายใจเรื่อง “เล็บ”

ทาสแมวรู้ ทุกคนรู้ ว่าเล็บแมวคือสิ่งสุดรักสุดหวงของแมว เพราะฉะนั้นการที่แมวถูกตัดเล็บ หรือไม่มีที่ลับเล็บ แมวจะหงุดหงิดมาก


8. น้ำและอาหารไม่เพียงพอ

เมื่อไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร แมวของเราจะเกิดอาการโมโหหิว แต่ถ้าเราปล่อยให้แมวอดอยาก แมวจะเกิดความรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง และเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจค่ะ


9. มีปรสิตรบกวน

การที่แมวถูกยุงกัด หรือมีพยาธิรบกวน ก็ทำให้แมวรู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายตัว อยู่ไม่สุข และเครียดได้


โดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังได้แนะนำ 9 ข้อสังเกตว่ากำลังเกิดความเครียดในแมว ดังนี้ค่ะ


1. การขับถ่ายผิดปกติ

หากเจ้านายของเราเริ่มอึเรี่ยราด ฉี่ไปทั่วทั้งบ้าน อย่าเพิ่งดุด่าตบตีนะคะ เพราะนั่นเป็นสัญญาณว่าเขากำลังเกิดความเครียดอยู่


2. อาเจียนผิดปกติ

หรือน้องแมวของเรากินแล้วก็อ้วก กินแล้วก็อ้วก ขอให้รีบพาเขาไปพบสัตวแพทย์ด่วนเลยค่ะ เพราะสาเหตุของการอาเจียนมากผิดปกติ เป็นได้ทั้งสาเหตุทางร่างกายและทางจิตใจค่ะ


3. น้ำมูก น้ำตาไหล เหมือนร้องไห้ตลอดเวลา

ในกรณีที่เจ้านายของเราอยู่ ๆ ก็น้ำตา น้ำมูกไหล เหมือนร้องไห้ตลอดเวลา นอกจากสาเหตุจะมาจากการเจ็บป่วยทางกายแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาณบอกเราว่าเขากำลังเจ็บป่วยทางใจอยู่ค่ะ


4. รับประทานน้อยลง

การรับประทานอาหารน้อยลงอย่างมาก หรือแมวซูบผอมลงอย่างน่าตกใจ นั่นเป็นสัญญาณบอกว่ากำลังเกิดความเครียดในแมวขึ้นค่ะ


5. ดูซุบ หรืออ้วนผิดปกติ

หากรูปร่างของแมวเปลี่ยนไปในเวลาอันรวดเร็ว ขอให้ทาสแมวโปรดคอยสังเกตความผิดปกติ และพาน้องพบสัตวแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาหรือดูแลน้องตามความเหมาะสมต่อไป


6. ก้าวร้าว หรือซึมเศร้า

แมวที่มีความสูงจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น ก้าวร้าวมากขึ้น หรือซึมเศร้า ไม่เล่น ไม่ซน หากเราสังเกตเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างผิดปกติ ขอให้รีบพสน้องพบสัตวแพทย์ด่วนค่ะ


7. อึ ฉี่เรี่ยราด

โดยธรรมชาติของแมวแล้วจะเป็นสัตว์รักสะอาด อึฉี่เป็นที่เป็นทาง และทำความสะอาดอย่างดี แต่ถ้าน้องแมวเริ่มอึไม่เป็นที่ ฉี่ไปทั่วบ้าน อย่าเพิ่งดุเขา หรือทำโทษลองหาสาเหตุกันก่อนนะคะ เพราะนั่นเป้นสัญญาณว่าเกิดความเครียดในแมวแล้ว


8. ลับเล็บบ่อยมาก

แมวก็เหมือนคนเมื่อโกรธ หรือมีความเครียดมักจะมีพลังงานทางลบในตัวมาก ต้องหาทางปลดปล่อย ซึ่งน้องแมวจะแสดงออกมาในรูปของการทำลายเฟอร์นิเจอร์ หรือลับเล็บบ่อยมาก


9. ร้องเรียกตลอดเวลา

และข้อสังเกตสุดท้ายของแมวที่มีความเครียด คือ ร้องกวนตลอดเวลา ร้องทั้งวันทั้งคืน ร้องจนเรานอนไม่ได้ นั่นเป็นการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากน้องแมวค่ะ


เมื่อเราสังเกตเห็นแล้วว่าแมวของเรากำลังประสบกับภาวะความเครียดในแมว ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสัตว์เลี้ยง ก็ได้ให้คำแนะนำในการลดความเครียดในแมว ไว้ดังนี้ค่ะ


1. เลือกทรายและกระบะทรายให้เหมาะสมกับแมวของเรา

สุขใดไหนเหล่าจะเท่าสุขา เพราะการขับถ่ายคือเรื่องสำคัญของชีวิต หากแมวของเรามีความเครียด มีความเศร้า หรือมีปัญหาทางร่างกาย การที่เราจัดกระบะทรายแมว ซึ่งถือเป็นห้องน้ำของแมวไว้อย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเครียดของแมวไปได้มากเลยค่ะ


2. เลือกอาหารที่สะอาด มีคุณภาพ และถูกปากแมว

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อาหารอร่อยจะเยียวยาเรา แมวก็เช่นกันค่ะหากเขาเกิดความเครียดในแมว หรือมีภาวะซึมเศร้า เราสามารถเยียวยาจิตใจของเขาให้ดีขึ้นด้วยอาหารแสนอร่อยที่สะอาด เปี่ยมด้วยคุณภาพ และคุณประโยชน์


3. เตรียมน้ำให้เพียงพอ

น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของสิ่งมีชีวิต และเป็นตัวหล่อเลี้ยงให้เรารู้สึกสดชื่น สมองปลอดโปร่ง น้องแมวก็เช่นกันค่ะ หากแมวขาดน้ำ แมวจะเจ็บป่วย และหงุดหงิด แต่ถ้าเราเตรียมน้ำสะอาดไว้ให้เขาเพียงพอ เขาจะรู้สึกสดชื่น และมีพลัง


4. ควรมีคอนโดแมว และของเล่นไว้ติดบ้าน

เมื่อคนเราเครียดเราก็หาที่ผ่อนคลายโดยการเล่นเกม หรือทำกิจกรรมที่บันเทิงจิตใจ น้องแมวก็เช่นเดียวกันค่ะ หากเขาเครียด หรือรู้สึกไม่ดี ของเล่นแสนสนุก และคอนโดแมวแสนสบาย ก็สามารถช่วยลดความเครียดให้กับเขาได้


5. ใส่ใจและดูแลเขา

เมื่อคนหรือแมว หรือสิ่งมีชีวิตใด ๆ ก็ตามกำลังจมดิ่งในความรู้สึกทางลบ สิ่งที่จะช่วยเหลือเยียวยา และดึงเขาขึ้นมาสู่แสงสว่างทางความรู้สึกได้ ก็คือ ความใส่ใจและความจริงใจค่ะ การพูดคุยกับเขาดี ๆ สัมผัสเขาอย่างอ่อนโยน เล่นกับเขาในทุก ๆ วัน เขาจะรู้สึกดีขึ้นแน่นอนค่ะ


6. พยายามอย่าให้อะไรในชีวิตของแมวเปลี่ยนแปลง

และเทคนิคสุดท้ายในการลดความเครียดในแมวที่นักจิตวิทยาสัตว์เลี้ยงแนะนำ ก็คือ พยายามอย่าเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบ้าน เพราะแมวเป็นสัตว์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยรักษาสิ่งแวดล้อมในบ้านให้คงเดิม อย่าพยายามเพิ่มสัตว์เลี้ยงเข้ามาโดยที่แมวของเรายังไม่พร้อม หรือหากจะมีการเพิ่มของสมาชิกควรให้สมาชิกใหม่ทำความคุ้นเคยกับแมวเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดค่ะ


ถึงแม้ว่าแมวจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่มีความน่ารักสูง แต่เมื่อเขาเข้ามาอยู่ในบ้านของเรา เขาไม่ได้มีสถานะเป็นเพียงแค่สัตว์เลี้ยง เขาคือสมาชิกคนหนึ่งในบ้าน เพราะฉะนั้นแล้วการดูแล ใส่ใจ และให้ความรักกับเขาจึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่



 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ :


อ้างอิง :

1. Sheba. (มปป.). รวมเคล็ดลับในการดูแลเมื่อน้องแมวเครียด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2566 จาก https://www.sheba.co.th/cat-language-of-love/general-care-articles/relieve-stress-in-cats

2. สมประสงค์ ชัยวิรัตน์. (มปป.). แมวเหมียวเครียดง่ายกว่าที่คิด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2566 จาก https://www.muangakepethospital.com/

 

จันทมา ช่างสลัก บัณฑิตจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page