top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

3 วิธีเอาชนะความสงสัยในความสามารถของตัวเอง ที่นักจิตวิทยาแนะนำ


Self-doubt คือ คำถามที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ต่อคุณค่า และ ความสามารถของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เราดีพอหรือยัง เราจะทำได้หรือไม่ เรามีคุณค่าหรือไม่ เราจะจัดการกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน และมักเกิดขึ้นเมื่อเราต้องเผชิญกับความท้าทาย หรือ อุปสรรค หลายอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา หรือ ความกังวลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นไปตามแผนที่เราวางไว้หรือไม่

Self-doubt มีข้อดีอยู่เหมือนกัน ถ้าเรามีไม่มากนัก เพราะ การตั้งคำถามกับความสามารถตัวเอง และจัดการได้ จะนำมาซึ่งการพัฒนาและปรับปรุง เพื่อให้เราเก่งขึ้น และทำงานที่เราจะต้องทำให้สำเร็จ ได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ถ้าเรามี self-doubt มากจนเกินไป เรารู้สึกกลัว และ วิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้ก็จะเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ใช้ศักยภาพที่เรามีอย่างเต็มที่ และมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จอย่างที่เราตั้งใจไว้

นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและค้นพบว่า สาเหตุที่พบได้บ่อยๆ ของ self-doubt มีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อดังต่อไปนี้

1. ความผิดพลาด และ ประสบการณ์ในอดีต

ผลของการกระทำในอดีตมีผลกับเราจนถึงปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ประสบการณ์ที่ไม่ดี และ ความผิดพลาด เช่น การอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดี, การลงมือทำอะไรสักอย่างแล้วล้มเหลว ถูกซ้ำเติม, การถูกไล่ออกจากงานโดยไม่มีเหตุผลอันควร ประสบการณ์ในอดีตเหล่านี้ล้วนสร้างบาดแผลต่อจิตใจ และส่งผลต่อ self-doubt ของเราทั้งสิ้น

แม้ว่าประสบการณ์ และ ความผิดพลาดในอดีต จะส่งผลต่อความเชื่อ และ self-doubt ของเราในปัจจุบัน แต่การที่เราตระหนักรู้ว่า การยึดติดกับอดีตโดยไม่เรียนรู้จากมัน เป็นการทำลายความสุข และอนาคตอันสดใสที่เรากำลังจะมีในอนาคต

2. วิธีการเลี้ยงดูที่เราได้รับในวัยเด็ก

การเลี้ยงดูมีผลต่อการสร้างตัวตนคนๆ หนึ่ง รวมทั้งอุปนิสัยใจคอของเราเป็นอย่างมาก หากเราถูกเลี้ยงดู โดยคนเลี้ยง มักจะบอกกับเราอยู่เสมอๆ ว่า เราดีไม่พอ เราไม่เก่ง หรือ การเติบโตในครอบครัวที่มีการแข่งขันสูง ทำให้เรารู้สึกว่า เราเก่งไม่เท่าคนอื่นๆ ในบ้าน หรือแม้แต่ การอยู่ในโรงเรียน ที่ตัดสินเด็กคนหนึ่งว่าเก่งหรือไม่เก่ง และได้รับความสนใจ เพียงเพราะเกรดการเรียน สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อคำถามที่มีต่อคุณค่า และ ความสามารถของตัวเราเองอย่างไม่น่าแปลกใจเลย

3. การเติบโตมาด้วยการถูกเปรียบเทียบเสมอๆ

การเปรียบเทียบเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะเราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และ เป็นธรรมชาติที่มนุษย์จะชอบเปรียบเทียบ

ตัวอย่างเช่น เราอาจเผลอเปรียบเทียบ ผลงานหรือความสามารถของเรากับเพื่อนร่วมงานโดยไม่รู้ตัว หรือ การเปรียบเทียบชีวิตตัวเราเองกับคนอื่นใน social media ซึ่งทำให้เกิดความคิดลบ หรือ self doubt ขึ้นได้

4. ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ

หากเราต้องทำสิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่มีความรู้ หรือ ประสบการณ์มาก่อน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเกิดคำถามกับตัวเองว่า เราจะทำได้หรือไม่ ซึ่งเป็น self-doubt ทำให้เรารู้สึกเครียด และวิตกกังวลได้

5. ความกลัวความล้มเหลว หรือ กลัวความสำเร็จ

หลายๆ คนกลัวความล้มเหลว หรือ ความสำเร็จ และก่อนที่จะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ความกลัวนี้ก็จะเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลงานที่เราจะลงมือทำ หรือพฤติกรรมของเรา เป็นต้น


วิธีการจัดการความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง หรือ self-doubt

1. รู้เท่าทันความคิดลบของตัวเอง

การฝึกสมาธิ เพื่อมีสติรู้เท่าทัน อารมณ์ และ ความคิดลบที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน และ โฟกัสกับเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้น จะทำให้ การฝึกรู้เท่าทันความคิด จะช่วยให้เรารู้ทันความคิดลบที่เกิดขึ้น พยายามอยู่กับปัจจุบัน และ โฟกัสกับเรื่องดีๆ เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกแย่ หรือ มีความคิดในด้านลบ ให้ดึงตัวเองมาอยู่กับปัจจุบัน และ โฟกัสที่เรื่องดีๆ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้


  • เขียนประโยคให้กำลังใจตัวเอง เช่น เราทำได้แน่นอน นี่เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่เราจะได้เรียนรู้ และเอามันมาอ่านเมื่อรู้สึกไม่มั่นใจ

  • นึกถึงความทรงจำดีๆ ที่ทำให้เรามีความสุข

  • หาภาพที่แสดงถึงความสุข ไม่ว่าจะเป็น รูปคนยิ้ม รูปดอกไม้ที่สวยงาม มาติดให้เราได้มองเห็น

  • ลงมือทำกิจกรรมที่จะช่วยทำให้เรารู้สึก กระปรี้กระเปร่า

  • เลือกรับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อดูแลร่างกายของตัวเอง

2. พัก


เมื่อเรารู้สึกไม่ดี หรือ มีความคิดในด้านลบ และไม่สามารถที่จะสลัดความคิดนี้ออกไปได้ ให้เราลองหยุดพัก สำหรับแพร ถ้าวันไหนที่แพรรู้สึกว่าเป็นวันที่แย่ แพรจะรีบเข้านอนเร็ว เพราะเมื่อสมอง และร่างกายของเราได้พัก เราจะรู้สึกสดชื่นขึ้น ทำให้เราสามารถมองปัญหาเดิมในมุมมองใหม่ๆ

พยายามมองปัญหาต่างๆ ในด้านบวกที่จะช่วยทำให้เราได้เติบโต คิดถึงสิ่งที่เรารู้สึกขอบคุณจะช่วยเบี่ยงเบนความคิดเราไปยังด้านบวกมากขึ้นนะคะ

3. ขอความช่วยเหลือ

จริงอยู่ที่ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” แต่การที่เราขอความช่วยเหลือ เมื่อเรารู้สึกว่าเราไม่สามารถจัดการกับมันได้ด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่เรามีอยู่ หรือ แม้แต่การขอกำลังใจ เป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้

อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ บางทีการได้รับคำแนะนำดีๆ หรือกำลังใจดีๆ ก็จะช่วยเติมพลังให้เราสามารถเดินต่อไปข้างหน้า และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้

สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ประวัติผู้เขียน : อังคณา เกิดทองมี ศึกษาด้านศิลปศาศตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (B.Eng.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, และ Diploma of International E-Business, Hove College, Brighton, UK มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งวิศวกรในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขั้นนำของโลกมากกว่า 5 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทด้าน Data Science และเขียนบทความด้านจิตวิทยาให้กับบริษัท iStrong


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page