top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 เทคนิคพาคุณก้าวข้ามจากสิ่งที่ไม่ใช่ในชีวิต

เมื่อเราเจอปัญหาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องงาน ความรัก หรือครอบครัว ล้วนต้องอาศัยเวลาและกำลังใจอันเข้มแข็งเพื่อที่จะลุกขึ้นยืนและก้าวข้ามจากสิ่งที่ไม่ใช่ในชีวิต


ถึงแม้เราจะเข้าใจความจริงข้อนี้เป็นอย่างดี แต่ด้วยความเป็นมนุษย์ เราก็มักที่จะกังวล ไม่แน่ใจว่าเราควรจะปล่อยวางกับสิ่งที่มันไม่ work แล้วก้าวต่อไปดีหรือไม่ หรือเราจะลองพยายามกับมันอีกสักครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราอยู่กับสิ่งๆ นั้นมาเป็นเวลานาน จนเหมือนกับว่าสิ่งๆ นั้นกลายเป็น comfort zone ของเราไปเสียแล้ว วันนี้แพรมีกลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ที่จะช่วยให้คุณก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง มาฝากทุกคนกันค่ะ



ออกจาก comfort zone


1.รับรู้ และ เรียนรู้ ภาวะ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย


ภาวะ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คือ ภาวะที่เราอาจจะไม่มีความสุขกับสิ่งๆ นั้น แต่จะมีอะไรบางอย่างมาทำให้เรารู้สึกดีขึ้นบ้างเป็นครั้งคราว ภาวะนี้ เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นกับงานที่ไม่ใช่ หรือแม้แต่กับความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่ สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องตระหนักก็คือ เราควรมีมาตรฐานของเราเอง เราควรได้รับการปฏิบัติที่ดีอยู่เสมอ ไม่ใช่บางครั้งดี หากเรารู้สึกไม่ดี รู้สึกว่าไม่ถูกต้อง รู้สึกว่าสภาพจิตใจเราย่ำแย่ อย่ายอมรับการทำดีในบางครั้ง เพื่อให้เราตายใจ



2.สมองเราทำงานได้ดี ต่อเมื่อเราโฟกัสในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น


มีงานวิจัยหลายงานค้นพบว่า สมองของเราทำงานได้อย่างจำกัด ถ้าเราทำอะไรหลายๆ อย่าง แต่จะทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพเมื่อเราโฟกัสในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น


ดังนั้น หากเรามีปัญหาเรื่องหนึ่ง เราต้องใช้พลังสมองในการจัดการ ก็จะกระทบกับชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย หากปัญหานั้นๆ มีผลกระทบอย่างมากกับสิ่งที่จะนำพาเราไปยังอนาคตที่ดีขึ้น จงตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะหยุด และนำพลังงานของเราไปโฟกัสในการทำงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองในอนาคต



3.อย่ามัวแต่คิดว่า เสียดายเวลาที่ผ่านไป


หลายๆ คนใช้เวลากับงาน หรือความสัมพันธ์มาเป็นเวลานาน ถึงแม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าไม่ได้ทำให้เรามีความสุข หรือไม่ได้ดีกับตัวเราในอนาคตเลย แต่เราก็ยังคงทนอยู่ ด้วยเหตุผลว่า เสียดายเวลาที่ผ่านมา แต่ให้ลองคิดอีกมุมหนึ่งว่า ถ้าเรายังคงทนต่อไป เวลาอีกนานแค่ไหน โอกาสมากมายแค่ไหนที่เราจะต้องแลกกับมัน ดังนั้น อย่ามัวแต่เสียดายกับเวลาที่ผ่านไป แต่ให้นึกถึงอนาคตและเวลาข้างหน้าที่เรามีเหลืออยู่ดีกว่าค่ะ



4.ระวังการยึดติดกับ comfort zone


อีกหนึ่งเหตุผลที่หลายๆ คนไม่ยอมก้าวต่อไปข้างหน้า เนื่องจากความคุ้นเคยความสบาย แต่ให้ลองถามตัวเองใหม่อีกครั้งว่า จุดที่เราอยู่นั้น มีความมั่นคง ปลอดภัย และทำให้เรามีความสุขจริงหรือไม่ และจะอีกนานแค่ไหน


เราสามารถตรวจสอบความรู้สึกของเรา โดยใช้หลักการของ Ethan Kross โดยให้เราเอาตัวเองออกมายืนมองสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับเรา แบบบุคคลที่ 3 เลิกเอาภาพความเจ็บปวด หรืออดีตมาฉายซ้ำๆ ในหัว และถามตัวเองว่าเรารู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์นั้น และเหตุผลอะไรที่เรารู้สึกแบบนั้น ทำความเข้าใจตัวเองว่า ด้วยเหตุผลอะไรที่ทำให้เรา reaction กับสถานการณ์นั้นๆ แบบที่เราทำ ด้วยวิธีนี้จะทำให้เรามีสติปัญญาในการจัดการกับปัญหามากขึ้น



5.เผชิญหน้ากับความเครียดที่เกิดขึ้น เมื่อเราตัดสินใจที่จะ move on


การที่เราตัดสินใจที่จะ move on แน่นอน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับชีวิตเรามากมาย และโดยปกติแล้วมนุษย์มักจะกลัวกับสิ่งที่ไม่แน่นอน หากเราตัดสินใจที่จะหย่า เมื่อความสัมพันธ์มันได้จบลง และยากเกินกว่าที่จะเยียวยาได้ ความรู้สึกหลากหลายในเชิงลบจะเกิดขึ้นกับเรา และทำให้เกิดความเครียดขึ้นได้ เตรียมใจรับกับความรู้สึกนั้นๆ ที่จะเกิด การทำสมาธิสามารถช่วยได้ เพื่อให้เรารับรู้ถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น เข้าใจ และไม่ปรุงแต่งเพิ่มเติม และเข้าใจว่า ทุกสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และในสุดท้ายก็จะดับไป



นับถือตัวเอง ใจเป็นสุข

นี่แหละคะ กลยุทธ์ทั้ง 5 ข้อที่น่าจะมีส่วนช่วยให้คุณสามารถ ตัดสินใจเดินออกจากสิ่งที่ไม่ใช่ได้ มี quote หนึ่งที่แพรชอบมากๆ นั่นคือ

“Respect yourself enough to walk away from anything that no longer serves you, grows you, or makes you happy”

“นับถือตัวเองให้มากพอที่จะเดินจากอะไรก็ตามที่ได้ได้สร้างประโยชน์ให้กับคุณ ไม่ได้ทำให้คุณเติบโตขึ้น หรือไม่ได้ทำให้เรามีความสุข”



เราทุกคนมีทางเลือกเสมอนะคะ



____________________________________________________

iStrong.co ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว

บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)

และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page