top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 วิธีสังเกตอาการของภาวะ burnout จากการทำงานและวิธีจัดการเบื้องต้น


เชื่อว่า ไม่ว่าใครก็คงจะเคยเผชิญกับความเครียดจากการทำงานด้วยกันทั้งนั้น และบางรายอาจเคยเผชิญกับภาวะ burnout นั่นก็เพราะภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงานนั่นเอง ภาวะ burnout จากการทำงาน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะรักในงานของคุณ หรือทำเพราะมันเป็นอาชีพที่เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง​ก็ตาม


ในทางจิตวิทยา burnout คือ ภาวะที่ทั้งร่างกายและจิตใจเรารู้สึกอ่อนล้าจากการทำงาน เนื่องจากการทำงานหนักจนเกินไป หรือการมีความเครียดสะสม อันเนื่องมาจากการทำงานที่เราไม่สามารถควบคุมจัดการได้หรือการที่ต้องทำงานที่ขัดกับความเป็นตัวตนของเราเอง เป็นต้น


หากบุคคลนั้นๆ ไม่สามารถพักผ่อน หรือหยุดจากการทำงานนั้นๆได้บ้าง ก็จะส่งผลต่อ สุขภาพจิต และสุขภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดศีรษะ อ่อนล้า อาการเสียดท้อง หรือ อาการต่างๆ เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร และส่งผลต่อความเสี่ยงในการติดสุรา ยาเสพติด หรือลักษณะนิสัยในการรับประทานอาหารอีกด้วย



ความเครียดในการทำงาน เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ซึ่งแตกต่างกับอาการ burnout สามารถสังเกตได้จาก อาการ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้


1. คุณรู้สึกว่าการจัดการความเครียดเกี่ยวกับเรื่องงานเป็นเรื่องยาก


แม้ว่า world health organization จะประกาศว่า burnout มีความรุนแรงกว่าความเครียด ซึ่งความแตกต่างระหว่างความเครียด และ burnout นั้น ถ้าเป็นความเครียดเราจะสามารถจัดการ หรือบรรเทาความเครียดได้ ในขณะที่ burnout เกิดจากการที่เราไม่สามารถจัดการความเครียดได้ และสะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน



2. คุณรู้สึกเหนื่อยล้า หมดเรื่ยวแรงจากการทำงาน


หากคุณกำลังเผชิญกับภาวะ burnout คุณจะรู้สึกหมดเรี่ยวแรงจากการทำงาน ตัวอย่างเช่น คุณรู้สึกเหนื่อยมากกว่าที่เคย กับการทำงานในแบบเดียวกัน และระยะเวลาที่เท่ากัน



3. คุณไม่รู้สึกสนุก หรือ มีความสุขกับการทำงาน


ในชีวิตจริง ความเครียด หรือ ปัญหาในการทำงาน สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทำงานทุกคนจะต้องพบเจอ แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกสนุกในการทำงาน หรือ ความรู้สึกได้ทำอะไรบางอย่างที่เป็นประโยชน์กับใครสักคน เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถตื่นขึ้นมามีพลังในการทำงานนั้นๆแต่หากเรากำลังเผชิญกับภาวะ burnout คุณจะไม่รู้สึกสนุก หรือ เห็นคุณค่าของงานที่คุณทำได้เลย


4. คุณรู้สึกในด้านลบกับงานของคุณ


หากคุณกำลังเผชิญกับ ภาวะ burnout เมื่อใดก็ตามที่คิดถึงงานของคุณที่กำลังทำอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความรู้สึกในแง่ลบ คุณจะรู้สึกว่า มันยากมากที่จะคิดถึงสิ่งดีๆ ที่เกี่ยวกับงานของคุณ


5. คุณรู้สึกแย่กับตัวเอง และสมรรถภาพในการทำงาน


เมื่อความเครียดจากการทำงานสะสมจนเกิดเป็นภาวะ burnout คุณจะเริ่มตั้งคำถามกับความสามารถของตัวเอง (decrease in your self-efficacy) แม้แต่สิ่งที่คุณเคยทำได้ดีในอดีต ซึ่งการที่เรารู้สึกแบบนี้ จะส่งผลให้แรงจูงใจในการทำงานลดลง ทำงานได้แย่ลง และลดลงนั่นเอง


หากคุณสำรวจตัวของคุณเองแล้ว รู้สึกว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะ burnout อยู่ สามารถที่จะลดอาการ burnout ที่เกิดขึ้นได้ โดยการกลับมาวิเคราะห์การทำงานของเราใหม่อีกครั้ง การที่จะลดภาวะ burnout ได้ เราจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนของการทำงาน เช่น การที่เราทำงานนี้ สร้างประโยชน์ให้กับใครบ้าง ยิ่งถ้างานที่เราทำ ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเรามีประโยชน์อย่างมากกับคนอื่น เราก็จะรู้สึกดีกับงานที่ทำอยู่มากขึ้นเท่านั้น และส่งผลให้เราอยากทำงานมากขึ้น และอยากทำงานให้ดีขึ้น


การที่จะปฏิเสธงานที่ไม่สำคัญเป็นเรื่องยาก ที่สำคัญเราควรจะต้องเรียนรู้ที่จะทำงานที่สำคัญกับเรา สิ่งที่เราถนัด และเป็นประโยชน์กับคนอื่น เรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญของงานต่างๆ สื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่เรียนรู้ที่จะสอนงาน และมอบหมายงานให้ทีมงานได้ทำก็เป็นทักษะที่เราควรที่จะต้องเรียนรู้ เพื่อทำงานของเราให้ดีขึ้นและลดภาวะ burnout ที่จะเกิดขึ้นได้



สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page