top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

4 วิธีลดความวิตกกังวลจากไวรัสโคโรน่า ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา

ในช่วงนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวที่น่าวิตกกังวลของคนไทย ก็คือการแพร่ของเชื้อไวรัสโคโรน่า ที่ลุกลามไปทั่วโลก และยิ่งมีสารพัดข่าวลือเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า ยิ่งทำให้คนไทยวิตกกังวล และอยู่ไม่เป็นสุข ไม่ว่าจะเป็นข่าว “กทม. เป็นเมืองอันตรายอันดับ 1 ของการแพร่ไวรัสโคโรน่า” “ชาวอู่ฮั่น หนีไวรัสโคโรน่าเข้าไทยกว่า 5 ล้านคน” ซึ่งไม่รู้ว่าข่าวลือ รึข่าวรั่ว แต่ที่รู้คือนักจิตวิทยามีเคสผู้มีปัญหา เรื่องความวิตกกังวลเพียบเลยค่ะ ดังนั้น เพื่อลดความวิตกกังวล และเพิ่มความปกติในการใช้ชีวิตให้กับคุณผู้อ่าน ดิฉันจึงมีข้อแนะนำในการลดความวิตกกังวล ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา มาฝากกันค่ะ



1. เสพข่าวอย่างมีวิจารณญาณ ช่วงนี้ไม่ว่าจะใน Facebook ใน Twitter หรือใน pantip ดูจะมีผู้รู้ ผู้เบิกเนตรให้กับคนที่ต้องการรู้ข้อมูลของไวรัสโคโรน่ากันมากมายทีเดียว แล้วแต่ละคนก็จะมีเครดิต (ที่ให้ตัวเอง) ว่าเป็น “วงใน” หรือ “วงในกว่า” ซึ่งแต่ละข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ต่างก็ไปเพิ่มความวิตกกังวลให้กับคนอ่าน จนไม่กล้าใช้ชีวิตตามปกติ ซึ่งมีบางคนที่กลัวจัด ๆ จนกลายเป็นโรคเครียด โรควิตกกังวลไปเลยก็มี ดังนั้นแล้ว เพื่อความสงบสุขของการใช้ชีวิตในสถานการณ์เช่นนี้นะคะ นักจิตวิทยาก็แนะนำว่า ขอให้เลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นทางการเท่านั้น ซึ่งในสถานการณ์เกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า WHO น่าเชื่อถือที่สุดค่ะ


2. ใช้ชีวิตอย่างมีสติ สติ คือ การรู้ตัวอยู่เสมอว่าทำอะไร มีความตระหนักว่าสิ่งที่รู้นั้นสมเหตุสมผลแค่ไหน เช่น การรับข่าวว่าชาวอู่ฮั่นหนีไวรัสโคโรน่าเข้าไทยกว่า 5 ล้านคนตอนช่วงปีใหม่ หลายคนก็เชื่อตามข่าวว่ามีผู้ที่คาดว่าจะติดเชื้อไวรัสโคโรน่าเข้ามาในไทยจนไม่กล้าออกไปไหน แต่ถ้าเรามีสติ เราจะสามารถพิจารณาได้ว่า ชาวต่างชาติกว่า 5 ล้านคน จากเมืองเดียวกัน ช่วงเวลาเดียวกัน ไฟล์ทบินหรือโรงแรมคงไม่พอที่จะรองรับ นั่นแปลว่าข่าวที่รับมานั้น อาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเรามีสติแล้ว การใช้ชีวิตของเราก็จะเป็นปกติอย่างที่ควรเป็น คือกล้าทำในสิ่งที่เคยทำเป็นกิจวัตร ไม่ว่าจะไปทำงาน กินข้าว เดินห้าง ดูหนัง จ่ายตลาด และทำให้เราลดความวิตกกังวลในการใช้ชีวิตได้ค่ะ


3. หาผู้ช่วยลดความวิตกกังวล ถ้าคุณผู้อ่านเริ่มรู้สึกวิตกกังวลจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพราะกลัวไปหมด กลัวการเดินห้าง กลัวการไปในที่สาธารณะ กลัวการใช้บริการขนส่งมวลชน กลัวแม้กระทั่งการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่มาจากจีน หากทิ้งไว้นานคงกลายเป็นโรคเครียด โรควิตกกังวลไปเสียก่อน ขอให้มาหาคนที่ช่วยลดความวิตกกังวลในส่วนนี้โดยด่วนเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นนักจิตวิทยา พยาบาล คุณหมอ นักเทคนิคการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ หรือผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา เพื่อให้ความรู้ คลายความกังวล เมื่อเราได้ความรู้ที่เป็นจริงแล้ว ดิฉันเชื่อค่ะว่าคุณผู้อ่านจะใช้ชีวิตด้วยความสบายใจมากขึ้น ไม่วิตกกังวลอย่างที่เคยอีกต่อไป


4. ใช้ชีวิตอยู่ใน Safe Zone การใช้ชีวิตอยู่ใน Safe Zone ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ให้คุณผู้อ่านเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านนะคะ แต่หมายความถึงการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ไปในที่ชุมชน การล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ การรักษาความสะอาดของเสื้อผ้า หน้า ผม รวมถึงกระเป๋า รองเท้า หรืออะไรก็ตามที่เราติดตัวออกนอกบ้านไปกับเราด้วย รวมถึงไม่อยู่ในที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นเวลานาน หากเราใช้ชีวิตอยู่ในเขตปลอดภัยที่เราสร้างขึ้น เราจะลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าไปได้มากเลยค่ะ


การกังวลเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าเป็นเรื่องปกติที่ควรกังวลค่ะ แต่ถ้าเราวิตกกังวลจนถึงขั้นใช้ชีวิตไม่ปกติสุข อันนี้ไม่ดีแน่ หากคุณผู้อ่านเริ่มรู้สึกมีความทุกข์ใจ รู้สึกใช้ชีวิตไม่เป็นสุข แล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ขอให้นึกถึงนักจิตวิทยานะคะ นักจิตวิทยาทจะคอยให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำให้อย่างถูกวิธี แล้วเราจะผ่านสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าไปด้วยกัน เหมือนสมัยโรคซาร์ โรคเมอร์ และอีโบล่า นะคะ

 

istrong ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตและครอบครัว

บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)

และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page