top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

จิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัว ทางเลือกในการรักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่ต้องพึ่งยา


หลายท่านคงทราบถึงวิธียอดฮิตในการรักษาโรคซึมเศร้าให้หายขาดอย่างได้ผล ก็คือการใช้ยานั่นเอง ซึ่งวิธีนี้อาจผลข้างเคียงมากมาย แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่ามีอีกหนึ่งทางเลือกที่เรียกว่า “จิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัว” ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแบบบำบัดการรักษาทางใจ ให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีกำลังใจในการต่อสู้จนหายป่วยค่ะ

โรคซึมเศร้ากับการรักษาโดยใช้ยารักษา


ถึงแม้ว่าโรคซึมเศร้าจะมีสาเหตุหลักมาจากสารเคมีในสมอง ที่ชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) หลั่งออกมาน้อยผิดปกติ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล อยู่ไม่สุข โกรธง่าย หงุดหงิด บางครั้งก็แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง รวมไปถึงมีความคิดที่ผิดปกติ


พร้อมจมดิ่งในความรู้สึกทางลบตลอดเวลา ทำให้วิธีฮอตฮิตที่นิยมใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าก็คือการใช้ยาเพื่อปรับสมดุลของสารสื่อประสาททั้ง 2 ชนิด แต่การใช้ยานี้ละค่ะ อาจทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางท่าน ต้องเป็นทุกข์มากกว่าเดิมเพราะยามีผลข้างเคียง


เช่น ทำให้เกิดคลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย และท้องไส้ปั่นป่วน น้ำหนักเพิ่ม ไม่มีความรู้สึกทางเพศ ปากแห้ง คอแห้ง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด มองเห็นภาพไม่ชัด วิตกกังวล กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ปวดท้อง ท้องเสีย อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูง อ่อนเพลีย สับสน ตัวสั่น ประสาทหลอน เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อกระตุก เป็นไข้ ความดันโลหิตขึ้น ๆ ลง ๆ และที่หนักที่สุด คือ เกิดความคิดที่จะฆ่าตัวตายค่ะ ซึ่งอาการข้างเคียงนี้ไม่ได้เกิดทุกอย่างกับทุกคน แต่ละคนก็มีอาการแตกต่างกันไปค่ะ


โรคซึมเศร้า vs จิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัว


จากผลข้างเคียงของยาต้านอาการโรคซึมเศร้ามากมายสารพัดที่พูดถึงกันไปนั้น ทำให้นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาเกิดความเป็นห่วงและเห็นใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่ต้องทนอยู่กับความทรมานกายใจที่ว่ามา เลยทำให้เกิดวิธีบำบัดที่ไม่ต้องใช้ยาขึ้นมา ชื่อว่า “จิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัว” หรือชื่อในวงการว่า “จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Psychotherapy : IPT)”


เจ้าจิตบำบัดตัวนี้เป็นการทำจิตบำบัดระยะสั้นค่ะ มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัวและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน ต่อไปนี้


1.ความรู้สึกเศร้าเสียใจจากการสูญเสียบุคคลที่รัก

2.ความขัดแย้งกับบุคคลสำคัญ

3.การเปลี่ยนแปลงบทบาททางสังคม เช่น ถูกไล่ออก เกษียณ ถูกลดขั้น เป็นต้น

4.การขาดสัมพันธภาพกับบุคลอื่น


ซึ่งทุกด้านที่ว่ามาล้วนเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แล้วการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ก็อยู่กับคนในครอบครัว ดังนั้น การทำจิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัว เลยมีผลบวก ๆ อย่างมากต่อการรักษาโรคซึมเศร้าให้หายวับไม่กลับมาเลยละค่ะ


แถมยังมีผลวิจัยทางจิตวิทยาออกมารับรองว่าการทำจิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัว สามารถรักษาโรคซึมเศร้าทั้งแบบรุนแรงและแบบเรื้อรังได้ผลชะงักเลยทีเดียว นั่นก็เพราะจิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัว มีจุดเด่นสำคัญ 5 ข้อ ก็คือ


1.จิตบำบัดสัมพันธภาพ เน้นแก้ไขปัญหาสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กับบุคคลในครอบครัว รวมถึงบุคคลอื่น ๆ ที่เป็นคนสำคัญของผู้ป่วย ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่ผู้ป่วยรักนี่แหละที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูจิตใจ ปรับเปลี่ยนความคิด และช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็งค่ะ


2.ใช้ระยะเวลาสั้น เพียง 3 – 4 เดือนก็จบคอร์สการรักษาแล้ว


3.นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาที่เป็นผู้บำบัด สามารถให้คำปรึกษาในเชิงรุกได้ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และบุคคลในครอบครัวได้รับแนวทางในการปรับตัว และสามารถแก้ไขปัญหาสัมพันธภาพได้อย่างถูกจุด


​4.จิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ได้เปลี่ยนตัวตนหรือบุคลิกภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่ช่วยเพิ่มทักษะทางสังคม และช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารให้แก่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า


5.จิตบำบัดสัมพันธภาพเน้นการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถใช้ชีวิต ในปัจจุบันได้อย่างปกติสุข โดยไม่เปิดแผลในอดีต


ซึ่งจุดเด่นทั้ง 5 ข้อ ทำให้จิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างมาก เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกสบายใจเวลาเข้ารับการบำบัด และยังเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวได้อย่างถูกจุด ทำให้ครอบครัวเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ พร้อมช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากขึ้น


ถึงแม้ว่าจิตบำบัดสัมพันธภาพในครอบครัวจะมีข้อดีมากมายอย่างไรก็ตาม การรักษาโรคซึมเศร้าที่ได้ผลดีที่สุดยังต้องอาศัยการรักษาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำจิตบำบัด การปรับเปลี่ยนความคิด ควบคู่ไปกับใช้ยาร่วมด้วยถึงจะรักษาให้หายขาดได้ค่ะ


และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความเข้มแข็งทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเอง ที่จะมีความอดทนต่อการบำบัด มีความใจสู้เพื่อเอาชนะโรคซึมเศร้าหรือไม่ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามผู้เขียนและทีมงาน Istrong เป็นกำลังใจ และยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านเสมอค่ะ



สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง :

1. มาโนช หล่อตระกูล. โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2562 จาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

2. HONESTDOCS. 22 ตุลาคม 2019.8 ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาต้านเศร้า. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2562 จาก https://www.honestdocs.co/8-side-effects-of-taking-antidepressants

3. พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. 2006. จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล : ทางเลือกใหม่ของการรักษาโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 51(2) : 120.


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page