top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ทำงานเครียดเรื้อรัง ระวังเป็นโรคซึมเศร้า


ทำงานจนเป็นโรคซึมเสร้า


สาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้จีกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าในครั้งที่ผ่านมาก็คือ ปัญหาในการปรับตัวที่ต้องย้ายมาอยู่ที่ออสเตรเลีย และผลกระทบที่รุนแรงก็คือปัญหาเรื่องงาน เพราะจีเป็นคนหนึ่งที่ทุ่มเทชีวิตและจิตใจสุดโต่ง ในทุก ๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องงาน เพราะความที่เป็นคนจริงใจและจริงจังเกินไป เลยทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ข้อคิดในเรื่องงานที่จีได้จากโรคซึมเศร้า ก็คือ


1.งานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

"จงแบ่งเวลาเพื่อดูแลร่างกายและจิตใจตนเองให้สมดุล เพราะมิเช่นนั้นแแล้วสิ่งที่เราทุ่มเทไปกับงาน มันจะกลับมาทำลายชีวิตเรา"


2.จงแยกปัญหาเรื่องงานกับเรื่องที่บ้าน

"การนำปัญหาเรื่องงานไปคิดต่อที่บ้านหรือนำปัญหาที่บ้านไปคิดต่อที่ทำงานจะทำให้เราไม่มีความสุขทั้งที่ทำงานและที่บ้าน"


3.อย่าเอาชีวิตไปผูกติดไว้กับเรื่องงาน

เวลาอยู่กับครอบครัว เวลาที่สังสรรค์กับเพื่อนๆ เวลาไปเที่ยวฮอร์ลิเดย์หรือพักผ่อนวันหยุด จงวางเรื่องงานไว้ในที่ๆมันควรจะอยู่ คือที่ทำงาน "จงอย่าปล่อยให้เรื่องงานมาทำลายความสุขในชีวิต"


4.งานทุกอย่างมีคุณค่าในตัวของมันเอง

จงเคารพและให้เกียรติกับงานที่เราทำ ด้วยการใส่ใจในงาน มองเห็นคุณค่าในงาน เพื่อใช้งานนั้นส่งต่อความสุขให้ผู้อื่น แล้วความสุขจะเกิดขึ้นในใจเราเอง "จงอย่าดูถูกงานที่เราทำ เพราะมันเท่ากับเราดูถูกตัวเราเองด้วย"


5.จงใช้การงานเพื่อการพัฒนาตัวเองอย่าใช้มันทำลายตัวเอง

การที่เราทำงานที่เราไม่ชอบหรือมันยังไม่ใช่งานในฝันของเรา เรามักจะไม่มีความสุขกับการทำงาน และมันก็พลอยทำให้เราไม่มีความสุขกับชีวิตด้วย

แต่ถ้าหากเรายังจำเป็นต้องทำงานนั้นอยู่ การทำใจยอมรับ เต็มใจที่จะทำงาน และใส่ใจกับงานจะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรดีๆจากงานได้มากมาย มันจะทำให้เราสามารถใช้พัฒนาตนเอง เพื่อที่จะประสบความสำเร็จกับงานในอนาคตได้ ข้อคิดในเรื่องงานที่จีได้จากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มันช่วยสอนใจจีและทำให้จีหันกลับมาดูแลตัวเองและแบ่งเวลาให้ตัวเองและครอบครัวได้อย่างสมดุลขึ้น ทำให้จีมีความสุขกับการทำงานถึงแม้จะไม่ใช่งานที่ใช่ จีหวังว่าข้อคิดเหล่านี้อาจจะทำให้เพื่อนๆได้ฉุกคิด เพื่อให้เราหันกลับมาสร้างชีวิตและจิตใจที่สมดุลขึ้นได้บ้าง เป็นกำลังใจให้เพื่อนๆทุกคนค่ะ

 

ผู้หญิงสตรองที่เอาชนะโรคซึมเศร้าได้ด้วยปัญญา

 

ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว

iStrong บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาที่มีใบรับรอง สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือคุยแบบพบหน้า


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page