top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

4 เทคนิคจากนักจิตวิทยาในการคลายเครียดในสถานการณ์วิกฤต COVID-19


Coronavirus

นี่เป็นบทความที่ 4 ของดิฉันแล้วที่เขียนเกี่ยวกับความเครียดและ COVID-19 และหากสถานการณ์ยังคงลุกลามไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ ดิฉันว่าก็คงมีเรื่องให้เขียนถึงได้อีกค่ะ เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ใช่แค่ดิฉัน ไม่ใช่แค่คุณผู้อ่านที่รู้สึกเครียด รู้สึกว่าชีวิตไม่ปลอดภัย รู้สึกกังวลใจ แต่ความรู้สึกทางลบเหล่านี้เกิดขึ้นกับทุกคนทั่วโลกเลยค่ะ เพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพกายของคนที่ติดเชื้อ ต่อมาก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนใกล้ชิด หรือคนที่รับฟังข่าวแล้วพอการแพร่ระบาดเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะลามไปที่สุขภาพของเศรษฐกิจ สุขภาพของระบบสาธารณสุขที่จะแย่ลงเรื่อย ๆ หากยังควบคุมการแพร่ระบาดไม่ได้

เท่านั้นยังไม่พอนะคะ นอกจากพี่น้องชาวไทยจะต้องเจอวิกฤต COVID-19 แบบถ้วนหน้าแล้ว พี่น้องชาวไทยในภาคเหนือ ยังต้องรับมือกับวิกฤตฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทะลุมาตรวัดแบบคุมไม่อยู่ไปอีก ด้วยความกังวลใจในหลาย ๆ เรื่องเหล่านี้ละค่ะที่จะทำให้พวกเรากลายเป็นโรคเครียด และต้องขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา เพื่อให้สามารถเข้มแข็งพอที่จะอยู่รอดได้

ใน 3 บทความที่ดิฉันได้เคยเขียนไป ไม่ว่าจะเป็น 3 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้รับการเปลี่ยนแปลงจาก COVID-19 หรือ 4 วิธีลดความวิตกกังวลจากไวรัสโคโรน่า ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา และ 4 วิธีเอาตัวรอดจากความเครียดและ panic attack ในช่วง COVID-19 แพร่ระบาด ต่างก็ได้เสนอแนะวิธีดูแลสุขภาพจิตในสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา และแน่นอนค่ะว่าในบทความนี้ก็เช่นกัน (อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ) ดิฉันก็ได้รวบรวม 4 เทคนิคจากนัดจิตวิทยาในการคลายเครียดในสถานการณ์วิกฤต COVID-19 มาฝากกันค่ะ

โดย 4 เทคนิคที่ว่านั้น เรียกย่อเก๋ ๆ ว่า "2C2O" ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้ค่ะ :

Cover One's Ears

เทคนิคนี้ เรียกสั้น ๆ ว่า “ปิดหู” ค่ะ ความหมายตามคำพระท่านว่า “ปิดหูไว้ ไม่ต้องฟัง มันทุกอย่าง ปิดหูบ้าง บางครั้ง เลือกฟังเรื่อง” การนำมาปรับใช้ในสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ก็คือ ให้เลือกรับฟังข่าวสารค่ะ เพราะในยุคนี้ใคร ๆ ก็เป็นนักข่าวได้ เพียงแค่ได้ยินเสียงเล่าเสียงลือ แล้วมาโพสต์เป็นสเตตัสใน Facebook หรือทำเป็น Infographic ส่งต่อใน Line ก็ทำคนแตกตื่นมามากแล้วค่ะ ดังนั้น นักจิตวิทยาจึงแนะนำว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ ต้องเลือกที่จะรับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และต้องกรองข่าวก่อนเชื่อ ไม่เช่นนั้นโรคเครียดก็จะมาเยือนได้ค่ะ


Woman Covering Her Eyes

Cover One's Eyes

เทคนิคต่อมาที่นักจิตวิทยาแนะนำ ก็คือ “ปิดตา” หรือที่พระท่านว่า “ปิดตาบ้าง ไม่ต้องเห็น ให้ใจหมอง ปิดตาบ้าง อย่าจดจ้อง เลือกมองเอา” การนำมาใช้ ก็สามารถทำได้โดยเลือกมองในสิ่งที่มีคุณค่ากับชีวิตค่ะ ไม่ว่าจะเป็นมองหาข้อดีของสถานการณ์ เช่น หากคุณผู้อ่านต้อง Work from home ข้อดีของวันก็คือ คุณผู้อ่านลดการติดเชื้อ COVID-19 แน่นอนค่ะ และได้อยู่กับครอบครัวด้วย แต่ถ้างานที่คุณผู้อ่านทำไม่สามารถ Work from home ได้ คุณผู้อ่านยังต้องออกมาเผชิญโรคอยู่ ข้อดีของมัน ก็คือ คุณผู้อ่านจะได้พบคนที่เป็นห่วงเป็นใย ใส่ใจคุณผู้อ่านค่ะ เพราะจากประสบการณ์ของดิฉันเองที่ตอนนี้เวลาซื้อของ หรือ ไปติดต่องานกับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน สิ่งที่ได้กลับมาคือคำว่า “รักษาสุขภาพ ด้วยนะคะ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกดีขึ้นมากเลยค่ะ หรือ หากคุณผู้อ่านเป็นอีกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างแรงเรื่องงานและเรื่องเงิน ก็ถือซะว่าเป็นโอกาสดีแล้วที่จะได้เปลี่ยนงานอดิเรกเป็นอาชีพหลัก หรือได้เปิดประสบการณ์ทำในสิ่งที่แตกต่างบ้างก็ดีเหมือนกันนะคะ

Open-mouth

ในเทคนิคนี้ นักจิตวิทยาแนะนำให้ “เปิดปาก” ค่ะ แต่ต้องเป็นการเปิดปากอย่างสร้างสรรค์ ก็คือ พูดสิ่งที่รู้สึกไม่ว่าจะดีหรือแย่ให้กับคนที่ไว้ใจฟัง เอาเป็นว่าหาโอกาสบ่นให้คนที่เรารักฟังบ้างในบ้างเวลา เพื่อเป็นการระบายความทุกข์ใจ แชร์ความไม่สบายใจ เชื่อไหมคะ เวลาเราเล่าเรื่องที่เป็นทุกข์ให้คนที่พร้อมรับฟัง แล้วเค้ามี Reaction ที่ดีตอบกลับมา ไม่ว่าจะเป็น กอด คำพูดปลอบใจ คำแนะนำที่ดี ความรู้สึกของเราจะดีขึ้นทันตาเลยค่ะ

Open-mind

เทคนิคนี้แปลตรงตัวเลยค่ะ “เปิดใจ” เปิดใจรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นักจิตวิทยาบอกไว้ว่า การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การยอมรับให้ได้ก่อนว่าเรามีปัญหา ดังนั้น การที่เราจะเอาชีวิตรอดจากสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ได้ เราต้องยอมรับก่อนว่าเรากำลังเจอกับอะไร และมีความพร้อมในการรับมือมากแค่ไหน เราต้องประเมินก่อนว่าสถานการณ์นี้จะส่งผลกระทบกับเราในด้านใดบ้าง รวมไปถึงกรณีเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง เมื่อประเมินได้แล้วก็มาวางแผนกันค่ะว่าจะแก้ไข แต่ละปัญหายังไง เมื่อเรามีแผนที่ดี ชีวิตไปต่อได้แน่นอนค่ะ

การที่เราทุกคนจะฝ่าวิกฤต COVID-19 ไปได้ กำลังใจสำคัญมากเลยค่ะ ดิฉันหวังว่า 4 เทคนิคที่ได้นำมาเสนอนี้จะสามารถช่วยลดความเครียดให้คุณผู้อ่านได้บ้าง หากคุณผู้อ่านกำลังมีปัญหา ไม่รู้ว่าจะปรึกษาใคร พวกเราชาว iStrong ยินดีเคียงข้างเสมอนะคะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page