top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

นักจิตวิทยาแนะนำ 4 เทคนิค เพิ่ม Passion จัดการโรคคิดว่าตัวเอง


เคยได้พูดถึงอาการ IMPOSTER SYNDROME หรือ “โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง” ไปแล้ว ซึ่งได้พูดถึงอาการของโรคที่ทำให้เราสูญเสียความมั่นใจ กดดันตัวเอง ให้คุณค่าตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งคนที่มีอาการ IMPOSTER SYNDROME แล้วไม่รู้ตัว หรือไม่รักษา ก็มีแนวโน้มที่จะเก็บตัว ป่วยด้วยโรคเครียด โรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ค่ะ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่ IMPOSTER SYNDROME จะพาชีวิจของเราไปไกลเกินจะเยียวยาได้ เราควรจะรักษาอาการไม่มั่นใจในตัวเองนี้ด้วยการสร้าง Passion ในการใช้ชีวิตกันดีกว่า โดยในบทความจิตวิทยานี้ ได้นำ 4 เทคนิคจากนักจิตวิทยา ในการเพิ่ม Passion มาฝากกันค่ะ ซึ่งเหมาะอย่างมากสำหรับคนที่รู้สึกขาดความมั่นใจในตัวเอง หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งค่ะ


1. พัฒนาความสามารถให้เป็นความเชี่ยวชาญ


ถึงแม้ว่าเราจะขาดความมั่นใจในตัวเองจนเป็น IMPOSTER SYNDROME แต่สิ่งหนึ่งที่เรามีอย่างแน่นอนก็คือ ความสามารถค่ะ ซึ่งความสามารถของผู้ที่เป็นโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งจะพิเศษกว่าคนปกติทั่วไป ตรงที่มีดีแต่ไม่กล้าแสดงออกเพราะคิดว่าตัวเองไม่เก่ง และความมีดีของเขานั้นมักจะเป็นความสามารถเชิงลึกจนถึงขั้นชำนาญ เพราะความไม่มั่นใจในตัวเองทำให้เขาหาบางสิ่งบางอย่างที่ตัวเองถนัดทำเป็นประจำ ทำอยู่เสมอ และทำจนชำนาญ เช่น การปักผ้า การแกะสลัก การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น


ดังนั้นเพื่อให้อาการ IMPOSTER SYNDROME ดีขึ้น วิธีรักษาแรกที่นักจิตวิทยาแนะนำว่าควรทำ และทำได้ง่ายที่สุด ก็คือ การพัฒนาสิ่งที่เรามีความสามารถ ให้กลายเป็นความเชี่ยวชาญ เพราะเมื่อเราเชี่ยวชาญเราจะมีความมั่นใจในตนเอง และเมื่อเรามั่นใจในตนเอง เราจะมี Passion ในการกล้าที่จะแสดงความสามารถให้คนอื่น ๆ ได้เห็น เมื่อคนอื่น ๆ ยอมรับเรา เราก็จะยอมรับตัวเราเองว่า “เราก็มีดีเหมือนกันนะ”


2. หมั่นให้กำลังใจตัวเอง


สิ่งที่คนเป็น IMPOSTER SYNDROME มักจะหลงลืม ก็คือ การให้กำลังใจตัวเองเพราะสิ่งที่คนที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งมักจะทำอยู่เสมอกลับเป็นการบั่นทอนกำลังใจตัวเอง คิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ ดีไม่พอ จนไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าเข้าสังคม หนักเข้าก็แยกตัวโดดเดี่ยว ไม่กล้าสมัครงาน ไม่กล้าไปทำงาน ไม่กล้าเจอหน้าเพื่อน ๆ เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีอะไรดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะยิ่งทำให้ Passion ในการใช้ชีวิตลดลง จนคนที่เป็น IMPOSTER SYNDROME กลายเป็นคนหมดไฟในการใช้ชีวิต


ดังนั้น นักจิตวิทยาจึงแนะนำว่า เพื่อเติมไฟให้คนที่เป็น IMPOSTER SYNDROME คน ๆ นั้นควรจะหมั่นให้กำลังใจตัวเอง เช่น ชื่นชมตัวเองเมื่อทำบางสิ่งบางอย่างได้ดี ขอบคุณตัวเองเมื่อทำบางอย่างแล้วมีความสุข หรือให้รางวัลกับตัวเองเมื่อทำบางอย่างสำเร็จ โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่ม Passion ให้คนที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งอยากมีชีวิต อยากใช้ชีวิต และอยากทำให้ชีวิตของตัวเองดีขึ้นมาค่ะ


3. เรียนรู้จากความผิดพลาด


คนที่ไม่ทำอะไรผิดพลาด ก็คือคนที่ไม่ลงมือทำอะไรเลย ดังนั้น ความผิดพลาดจึงเป็นเรื่องปกติที่เราพบเจอได้ในชีวิตประจำวันเลยค่ะ ซึ่งความผิดพลาดบางครั้งก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเราเอง อาจจะเกิดเพราะดวงบ้าง เหตุสุดวิสัยบ้าง คนที่ไม่คาดคิดบ้าง ซึ่งก็ถือว่าเป็นความท้าทายในชีวิต ที่เราต้องพบเจอและผ่านมันไป


ดังนั้น เมื่อเราผิดพลาดสิ่งที่ไม่ควรทำที่สุด ก็คือ การโทษตัวเอง เพราะการโทษตัวเองนอกจากจะไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมาแล้ว ยังทำให้เรากลายเป็น IMPOSTER SYNDROME หรือหมด Passion ในการใช้ชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อป้องกันหรือรักษาจากอาการ IMPOSTER SYNDROME สิ่งที่เราควรทำที่สุด ก็คือ การเรียนรู้จากความผิดพลาดค่ะ ถึงแม้ว่าเราจะควบคุม ปัจจัยแวดล้อมไม่ได้ อย่างน้อยสิ่งที่เราเรียนรู้จากความผิดพลาดก็ทำให้เราเตรียมตัวเองให้พร้อมที่จะรับมือกับสิ่งไม่คาดคิดได้ดีกว่าเดิมค่ะ


4. พูดคุยกับคนที่มีอาการ IMPOSTER SYNDROME เหมือนกัน

ความทุกข์ กับความสุข ถึงแม้ว่าจะทำให้เราเกิดความรู้สึกที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว แต่มีสิ่งหนึ่งที่ความทุกข์ และความสุขมีเหมือนกัน ก็คือ เมื่อเราแบ่งปันเรื่องราวให้คนอื่น ๆ รับรู้ เราจะรู้สึกดีขึ้น หากเรามีความสุข และเราเล่าให้คนอื่นฟังเราจะมีความสุขมากขึ้น แต่ถ้าเรามีทุกข์ แล้วเล่าเรื่องราวความทุกข์นั้น ให้คนที่เราสนิทใจฟัง ความทุกข์ของเราจะลดลงอย่างน่าอัศจรรย์เลยค่ะ ซึ่งการคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราเล่าความทุกข์ใจ ระบายความคิดเชิงลบที่เรามีต่อตัวเองให้คนอื่นฟัง โดยเฉพาะคนที่เป็น IMPOSTER SYNDROME เหมือนกัน เชื่อเถอะค่ะว่าจะสามารถทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เพราะเราจะมีความรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียวตามลำพัง ยังมีคนที่เหมือนเรา และการแบ่งปันเรื่องราว หรือมุมมองที่เรามีต่อตัวเองให้กับคนที่มีความคิดคล้าย ๆ กันฟัง จะเป็นการสร้าง Passion เปิดประตูใจเพื่อหาทางออกจากอาการ IMPOSTER SYNDROME ไปด้วยกันในที่สุดค่ะ


ถึงแม้ว่า IMPOSTER SYNDROME จะไม่ใช้โรคทางจิตเวช แต่ก็เป็นอาการที่รบกวนจิตใจของคนที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งไม่น้อยเลย ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งนะคะว่า 4 ข้อแนะนำของนักจิตวิทยาที่นำมาฝากกันนี้จะสามารถช่วยคนที่มีอาการ IMPOSTER SYNDROME ได้บ้าง


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี ปัจจุบันเป็นนักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยา ในการปฏิบัติงานมากว่า 6 ปี



facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page